| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

ศาสนา ความเชื่อพิธีกรรม
            ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ นับถือพุทธศาสนา รองลงมาเป็นศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ชาวนครนายกนับถือพุทธศาสนามาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยมีหลักฐานการขุดพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี และสมัยลพบุรีที่ตำบลดงละคร อำเภอเมือง ฯ นอกจากนั้นยังพบวัดร้าง เจดีย์ และพระพุทธรูปสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ทั่วทุกอำเภอของจังหวัด
            ศาสนาคริสต์ได้เผยแพร่เข้ามาโดยเน้นเฉพาะกลุ่มคนจีน สามารถตั้งวัดของชาวคริสต์ได้สำเร็จ ส่วนศาสนาอิสลาม เข้ามาในเมืองนครนายก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมาจากเมืองปัตตานี นอกจากนั้นยังมีการอพยพของคนไทยอิสลามจากเขตหนองจอก เขตมีนบุรี กรุงเทพ ฯ ซึ่งมีเขตติดต่อกับอำเภอองครักษ์ ดังนั้นไทยอิสลามที่อำเภอองครักษ์จึงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของจังหวัด
            หลักคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม  ประกอบด้วย หลักศรัทธา ๖ และปฏิบัติ ๕ คือ
                หลักศรัทธาหกประการ  คือ ศรัทธาในพระเจ้า เทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้า (มลาอิกะห์)  คัมภีร์กุรอาน ผู้ประกาศสัจธรรมแก่มนุษย์ในแต่ยุคสมัย มีมะหะหมัดเป็นผู้ประกาศคนสุดท้าย ศรัทธาในวันพิพากษาและกฎกำหนดสภาวการณ์ของพระเจ้า
                    ศรัทธาในพระเจ้า  เป็นหัวใจสำคัญของชาวอิสลามที่แท้จริงคือเชื่อว่า พระเจ้าที่แท้จริงมีเพียงอัลลอห์ (ซุปห์) ผู้เดียว ไม่ตั้งสิ่งอื่นเป็นที่เคารพบูชา และเชื่อว่าพระเจ้าสร้างสรรพสิ่งทั้งปวงด้วยเมตตา กรุณา และยุติธรรม ตลอดจนรู้การกระทำ และเข้าในความคิดของทุกคนทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
                    ศรัทธาในเทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้า (มลาอิกะห์)  มลาอิกะห์ เกิดจากธาตุบริสุทธิ์มีรัศมีรุ่งโรจน์ ไม่มีเพศ ไม่ทำสิ่งใดตามความพอใจ ไม่สามารถกำหนดรูปลักษณะ แต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมามีจำนวนมากและมีหน้าที่ต่าง ๆ กันเช่น ยิบรออีล มีหน้าที่นำโองการจากพระเจ้ามาถ่ายทอดแก่ผู้ประกาศ ฯ รกิบ - อต๊ค มีหน้าที่บันทึกการทำความดีความชั่วของมนุษย์ อิสรออีล มีหน้าที่ปลิดวิญญาณมนุษย์จากร่าง มุนกัร - นกี มีหน้าที่สอบสวนผู้ตาย ณ หลุมฝังศพ
                    ชาวอิสลามทุกคน ต้องเชื่อว่าเทพบริวารหรือเทวทูตทั้งหลายมีจริง
                    ศรัทธาในคัมภีร์กุรอาน  ในอดีตตอนที่พระเจ้าจะให้คัมภีร์กุรอาน แก่ นบีมะหะหมัด (ซอล) ซึ่งเป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้าย พระเจ้าได้ให้คัมภีร์อื่น ๆ แก่อดีตผู้ประกาศ ฯ (นบี) ในยุคสมัยต่าง ๆ มาก่อนเป็นจำนวนถึง  ๑๐๔ คัมภีร์
                    ชาวอิสลามเชื่อว่าคัมภีร์กุรอาน เป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้าย ที่สมบูรณ์ยิ่งกว่าคัมภีร์ที่เคยให้แก่ผู้ประกาศ ฯ (นบี) อื่น ๆ ในอดีต
                    ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต  ศาสนาอิสลามจำแนกศาสนทูต หรือผู้รับคำสั่งจากพระเจ้า ให้นำบทบัญญัติของพระเจ้ามาสั่งสอนคน ในแต่ละยุคสมัยเป็นสองประเภทคือ ศาสนทูตผู้ได้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแบบอย่างที่กำหนดในบทบัญญัติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรียกว่า นบี และศาสนทูต ผู้รับมอบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามแบบอย่างที่กำหนดในบทบัญญัติและเผยแพร่บทบัญญัตินั้นแก่คนทั่วไปเรียกว่า รอซุ้ล ชาวอิสลามเชื่อว่า มะหะหมัดเป็นทั้งนบีและรอซูล
                    ศรัทธาในวันพิพากษา  ศาสนาอิสลามเรียกโลกปัจจุบันว่า โลกดุนยา เป็นโลกแห่งการทดลองไม่จีรังยั่งยืนรอวันพิพากษาเรียกว่า วันกียามะห์ ซึ่งเป็นวันพิพากษาหรือวันกำเนิดปรโลก โลกใหม่ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวเป็นโลกอมตะ เรียกว่า โลกอาคิรัต มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกดังกล่าว จะมีชีวิตเป็นนิรันดร ในวันกียามะห์นั่น ทุกชีวิตที่ตายไปแล้วจะกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง เพือชำระผลกรรมที่ทำไว้ในสมัยมีชีวิต
                    ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวะการณ์  ศาสนาอิสลามกล่าวว่า อัลลอห์เป็นผู้กำหนดกฎสภาวการณ์แห่งโลก และมวลมนุษยชาติไว้สองลักษณะ คือ สภาวะการณ์ที่คงที่ และสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
                        - สภาวการณ์ที่คงที่  ได้แก่ กฎแห่งธรรมชาติ  เช่น ดินฟ้าอากาศ ระบบการโคจรของดวงดาวและชาติพันธุ์ของมนุษย์ ฯลฯ
                        - สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้  เป็นสภาวการณ์ที่ขึ้นกับเหตุและผล ที่มนุษย์แต่ละคนใช้สติปัญญาของตนเลือกประพฤติปฏิบัติ เช่น พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้มีรูปลักษณะเหมือนกัน แล้วให้แนวทางประพฤติปฏิบัติที่ดีงามแก่มนุษย์ ส่วนสถานภาพในภายหลังจะเป็นอย่างไรนั้น สุดแต่การกระทำของแต่ละบุคคล
                หลักปฏิบัติห้าประการ  ได้แก่ การปฏิญาณตน  การละหมาด การถือศีลอดในเทศกาลรอมดอน การบริจาคทามซะกาด และการประกอบพิธีฮัจญ์
                    การปฏิญาณตน  คือ การประกาศยอมรับนับถือศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าอัลลอห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว และจะปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอห์ เว้นปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอห์ห้าม ฉะนั้นการยอมรับในเอกภาพสูงสุดของพระเจ้าดังกล่าว ทำให้ชาวมุสลิมไม่ต้องมีสัญญลักษณ์อื่นใดสำหรับการเคารพบูชา

                    การละหมาด  หมายถึง การขอพรจากอัลลอห์ เป็นการเจริญรอยตามนบีมะหะหมัด ที่ถือเรื่องการสวดมนต์เป็นกิจวัตรสำคัญที่สุด เป็นหนทางไปสู่สวรรค์ (การเข้าเฝ้าพระเจ้า) ชาวมุสลิมที่บรรลุนิติภาวะแล้วต้องสวดมนต์ทุกวัน ๆ ละ ห้าครั้งในเวลา เช้ามืด ตั้งแต่แสงอาทิตย์ปรากฎจนดวงอาทิตย์ขึ้น เที่ยงวัน จนถึงบ่ายคล้อย เย็น ตั้งแต่บ่ายคล้อยจนดวงอาทิตย์ตก พลบค่ำ หลังดวงอาทิตย์ตกจนสิ้นแสงอาทิตย์ กลางคืน หลังสิ้นแสงอาทิตย์จนปรากฎแสงของวันใหม่ สำหรับสตรีขณะมีรอบเดือนหรือมีเลือดหลังคลอดได้รับการยกเว้น
                    สถานที่ทำพิธีละหมาด  ในวันธรรมดา ทำได้ทั่วไป ไม่มีเงื่อนไข เพียงให้เป็นที่สะอาดเท่านั้น จะทำที่มัสยิด บ้านที่ทำงาน ในยานพาหนะ ฯลฯ ก็ได้ ยกเว้นวันศุกร์ และเทศกาลพิเศษเท่านั้นที่บ้งคับให้ทำที่มัสยิด
                    การถือศีลอด ในคัมภีร์กุรอานกำหนดให้ชาวอิสลามที่บรรลุนิติภาวะ และมีสุขภาพสมบูรณ์ทุกคนถือศีลอดในเทศกาลรอมดอน ซึ่งตรงกับเดือนเก้าของศักราชฮิจรียะ เป็นเวลาหนึ่งเดือน
                        - บุคคลที่ได้รับการยกเว้นคือคนชรา คนป่วยเรื้อรังหรือมีสุขภาพไม่ปกติ  สตรีมีรอบเดือน มีครรภ์และหลังคลอด บุคคลที่ใช้แรงงานทำงานหนัก และบุคคลที่อยู่ระหว่างการเดินทาง
                        - การปฏิบัติระหว่างถือศีลอด  ต้องละเว้นการกระทำทางกาย เช่น บริโภคอาหาร ดื่มน้ำ ลูบไล้ร่างกายด้วยของหอม พูดเท็จนินทาว่าร้ายผู้อื่น ทวนสบถ ตลอดจนการกระทำใด ๆ เพื่อราคะ ฯลฯ  ต้องควบคุมอารมณ์ทางจิตต่าง ๆ เช่น ความโกรธ ให้อยู่ในความสงบและความบริสุทธิ์ตลอดเวลา  ระยะเวลาในการปฏิบัติให้ทำตั้งแต่เช้ามืดจนถึงดวงอาทิตย์ตก ประมาณ ๑๕ ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น แล้วแต่สถานที่
                    การบริจาคทานซะกาด  มาจากคำเดิมในภาษาอาหรับว่า ซะกาห์ แปลว่าการทำให้บริสุทธิ์ และความเจริญงอกงาม แต่เดิมให้ด้านกำลังกาย สติปัญญา และช่วยเหลือสิ่งอื่น เช่น สัตว์เลี้ยงประเภทโค แพะ แกะ อูฐ  ต่อมาจึงเป็นการบริจาคตามที่ศาสนาบังคับ ผู้มีทรัพย์สิน และรายได้รอบปีมากเกินจำนวนที่ศาสนากำหนด โดยจ่ายส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้ควรได้รับหรือผู้มีสิทธิ์รับบริจาค ตามอัตราที่ศาสนากำหนดคือร้อยละ ๒.๕ ต่อปี
                        - ผู้มีสิทธิ์ได้รับทานซะกาด  ได้แก่ คนอนาถามีความเป็นอยู่แร้นแค้น ไม่สมควรแก่อัตภาพ ผู้ขัดสน รายได้ไม่พอกับรายจ่ายที่จำเป็น  ผู้ทำหน้าที่รวบรวม และแจกจ่ายซะกาด ผู้ควรแก่การปลอบใจ เช่น ผู้เลื่อมใสและน้อมรับนับถือศาสนาอิสลามในระยะแรก ทาสหรือเชลยซึ่งนายทาสให้สัญญาอนุญาตให้นำเงินมาไถ่ตัวได้ ผู้มีหนี้อันเกิดจากการประกอบอาชีพสุจริต ผู้สนับสนุนส่งเสริมวิถีทางของอัลลอห์ เช่น โรงเรียนและสถานพยาบาล ฯลฯ และผู้เดินทางไกลที่ขาดปัจจัยในการเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอน
                    การประกอบพิธีฮัจญ์  คำว่าฮัจญ์ แปลว่าการมุ่งไปสู่หรือการไปเยือน การประกอบพิธีฮัจญ์จึงหมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจของชาวอิสลาม ณ สถานอับดุลเลาะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย  มีที่มาจากคำประกาศในคัมภีร์กุรอานให้ชาวอิสลามศรัทธาต่ออัลลอห์ แล้วเดินทางไปเคารพชัยตุลเลาะห์ที่เมืองเมกกะ อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต เรียกการเดินทางนั้นว่าไปฮะยี (Haji) เป็นการทำตามแบบอย่างนบีมะหะหมัดที่ไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ก่อนถึงแก่กรรม
                        - คุณสมบัติของชาวอิสลามที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์  คือ มีใจศรัทธาอย่างแท้จริงโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนหรืออวดความมั่งมี มีสุขภาพและสติปัญญาสมบูรณ์ มีทรัพย์สินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายในการเดินทางโดยไม่ต้องสร้างหนี้ และไม่เป็นภาระแก่ผู้รับผิดชอบได้จัดการทรัพย์สินและครอบครัวเรียบร้อยแล้ว ได้ทำพิธีละหมาด ถือศีลอดและบริจาคซะกาดครบถ้วน และเส้นทางที่จะไปทำพิธีปลอดภัยได้ทำพิธีละหมาด ถือศีลอด และบิจาคซะกาดครอบถ้วย และเส้นทางที่จะไปทำพิธีปลอดภัย
                        - เทศกาลพิธีฮัจญ์  มีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่หนึ่งของเดือนสิบถึงวันที่สิบของเดือนสิบสองของศักราชฮิจริยะ (ซุลฮิจญะห์) เริ่มวันใดในห้วงเวลาดังกล่าวก็ได้ แต่ต้องอยู่ในพิธีจนวันที่เก้าและสิบของเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด และชาวอิสลามจากทั่วโลกจะไปชุมนุมทำพิธีกันในโอกาสดังกล่าวมากที่สุด อย่างไรก็ตามชาววอิสลามจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์นอกเทศกาลได้เรียกว่า อุบเราะห์ (ฮัจญ์เล็ก)
                        - ขั้นตอนการประกอบพิธีฮัจญ์  คือ การครองเอียะห์ราม (นุ่งขชาวห่มขาว) ตั้งปณิธานการพิธรเพื่ออัลลอห์ การชุมนุมร่วมกัน ณ ทุ่งอาระฟะห์ แล้วแรมคืนที่มุซดะลีฟะห์มินา และการเดินเวียนซ้ายรอบชัยดุลเลาะห์ การเดินไป - มา ระหว่างเนินเขาซอฟากับเนินเขามังวะห์ ตลอดจนการโกนหรือขลิบเส้นผม
                พิธีการสำคัญ  มีอยู่สามประการด้วยกันคือ
                    พิธีรักษาความสะอาด  เป็นกิจที่ชาวอิสลามทุกคนพึงปฏิบัติก่อนทำพิธีละหมาดและพิธีฮัจญ์ ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์กุรอานและหะดิส การอาบน้ำละหมาดคือ การล้างอวัยวะบางส่วนของร่างกายตามลำดับคือ ล้างใบหน้า ล้างมือ ลูบศีรษะและล้างเท้า
                    ข้อบังคับเพื่อการปฏิบัติ  ชาวอิสลามต้องอาบน้ำให้สะอาดก่อนทำพิธีอาบน้ำละหมาด ทั้งกรณีที่หญิงเพิ่งหมดรอบเดือน หลังหญิงชายร่วมประเวณีหรือฝัน การอาบน้ำละหมาดไปแล้วจะเป็นโฆษะ เมื่อมีพฤติกรรมเกิดขึ้นดังนี้คือหลับสนิท เป็นลมหมดสติ มือสัมผัสอวัยวะเพศโดยปราศจากสิ่งรองรับ สัมผัสเพศตรงข้ามแล้วเกิดกำหนัด ผายลม ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ มีน้ำเมือกเคลื่อนออกมาจากความกำหนัด ร่วมประเวณี มีรอบเดือนและคลอดบุตร
                    นอกจากนั้น บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม กำหนดน้ำที่ใช้ในพิธีรักษาความสะอาดอยู่เจ็ดประเภทคือ น้ำฝน - น้ำค้าง น้ำทะเล น้ำคลอง น้ำบ่อ หิมะ ลูกเห็บ และตาน้ำ
                    น้ำที่มีสิ่งเจือปนหรือใช้ชำระล้างมลทินแล้วห้ามใช้ประกอบพิธีดังกล่าว ถ้าในกรณีขาดแคลนน้ำ อนุญาตให้ใช้ฝุ่นจากดินแทนน้ำได้เรียกว่า ตะยัมมุม โดยใช้ฝ่ามือทาบบนฝุ่น เคาะหรือเป่าฝุ่นที่มากเกินไปออกเสียบ้าง ใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบไล้ใบหน้าและลูบมือทั้งสอง โดยใช้มือซ้ายลูบหลังมือขวา แล้วใช้มือขวาลูบหลังมือซ้ายสลับกัน
                    ข้อพึงปฏิบัติ  ชาวอิสลามที่ยังไม่ได้อาบน้ำละหมาด ห้ามประกอบพิธีละหมาด เดินเวียนรอบชัยตุลเลาะห์ในพิธีฮัจญ์ และสัมผัสคัมภีร์กุรอาน
                พิธีขอพรพระเจ้า (ดูอาห์) เป็นพิธีกรรมที่นบีมะหะหมัดทำตลอดชีวิต เป็นต้นว่าขอให้ผู้ป่วยที่พบหายป่วย ขอให้ของที่หายได้คืน ขอให้ปลอดภัยจากการเดินทาง และขอให้คุ้มครองจากการข่มเหงรังแก ฯลฯ พระเจ้าจะรับหรือไม่รับ การขอพรขึ้นอยู่กับการทำที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คือเป็นผู้กลับใจจากความผิดพลาดต่ออัลลอห์ โดยได้สารภาพความผิดของตนแล้ว สิ่งของเครื่องใช้และปัจจัยสี่ควรได้มาโดยสุจริตด้วยการอนุญาต (หะราล) ใจยึดมั่นอยู่ที่การละลึกในอัลลอห์ และสิ่งที่ขอไม่น่ารังเกียจ หรือให้โทษภัยแก่ผู้อื่น
                การปฎิบัติเพื่อขอพร ให้นั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ ไม่ยกนัยน์ตา (เหลือบตาดูเบื้องบน) โดยขอพรให้บิดามารดา และแสดงความปรารถนาดีต่ออัลลอห์ ให้กล่าวซ้ำสำหรับพรสำคัญที่ขอหลาย ๆ ครั้ง (อย่างน้อยสามครั้ง) แล้วภาวนาขอพรอย่างมีสมาธิ สงบเสงี่ยม นอบน้อมด้วยน้ำเสียงที่แผ่วเบา
            หลักคำสอนของคริสศาสนา มีหลักที่สำคัญดังนี้
                หลักตรีเอกานุภาพ (Trimity)  คือการยึดมั่นและเคารพบูชาในอานุภาพแห่งพระเจ้าทั้งสามคือ พระยโฮวา (พระบิดา) พระเยซู (พระบุตร) พระจิต (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระบิดาและพระบุตรรวมกัน)
                ความรัก  เป็นหลักใหญ่และสำคัญที่สุด ในคำสอนโดยสอนว่า จงรักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนบ้านและรักเพื่อนมนุษย์ แล้วจะได้รับความรักจากโลกเป็นสิ่งตอบแทน
                อาณาจักรแห่งพรเจ้า (Kingdom of God)  คือ สวรรค์ เป็นสถานที่ซึ่งผู้เลื่อมใสศรัทธาและปฎิบัติตามคำสอนของพระเจ้าอย่างแท้จริง มีโอกาสขึ้นไปรวมกับพระเจ้า ณ ที่นั้นไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ไม่มีกลางวัน กลางคืน ไม่มีกาลเวลา ไม่ต้องกินอาหาร ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีแต่ความร่มรื่นและสุขสงบ เรียกว่า ชีวิตนิรันดร
                พระเยซูสอนว่า ชีวิตปัจจุบันเป็นโลกแห่งมายา ผู้ใดปรารถนาชีวิตนิรันดรต้องทำลายชีวิตปัจจุบันเสีย

                พิธีกรรมสำคัญ  มีอยู่เจ็ดพิธีด้วยกัน (Seven Sacraments) ดังนี้
                    พิธีศีลจุ่ม (Baptism)  หรือพิธีล้างบาป มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมามีบาปติดตัวมา เพราะสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ทำบาปคือ อาดัมและอีฟ ดังนั้นเด็กเกิดใหม่หรือผู้ที่เข้าเป็นชาวคริสต์ทุกคน จะต้องให้บาทหลวงทำพิธีดังกล่าวเพื่อจะได้เป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งเป็นการปฎิบัติตามอย่างพระเยซู เพราะเมื่อท่านมีอายุได้ ๓๐ ปี ได้มอบตัวเป็นศิษย์ของนักบวชผู้หนึ่งชื่อ โยฮัน ด้วยการรับพิธีศีลจุ่ม ที่แม่น้ำจอร์แดน เป็นการประกาศตัวเป็นศิษย์โดยเฉพาะเป็นผู้เข้าถึงพระเจ้า
                    ในสมัยโบราณจะทำพิธีศีลจุ่มกับเด็กอายุไม่เกินเจ็ดปี แต่ปัจจุบันทำพิธีดังกล่าวกับเด็กอายุสามเดือนถึงเก้าปี มีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธี
                    พิธีศีลมหาสนิท  เด็กอายุประมาณสิบปีขึ้นไปต้องเข้าพิธีรับศีลมหาสนิท มีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธีอุปกรณ์ที่ใช้มีเหล้าองุ่นและขนมปัง พิธีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์วันสุดท้ายก่อนถึงแก่กรรมของพระเยซู ท่านได้เลี้ยงขนมปังกับเหล้าองุ่นแก่ลูกศิษย์ทั้งสิบสองคน แล้วกล่าวว่านี่คือเลือด และเนื้อของเรา ผู้ใดกินขนมปังและดื่มน้ำองุ่นนี้เท่ากับได้มาอยู่กับเรา
                    พิธีศีลกำลัง  เป็นพิธีต่อจากศีลมหาสนิท เมื่อเด็กอายุประมาณ ๑๔ ขึ้นไป ควรเข้าพิธีศีลกำลังเพื่อให้มีจิตใจมั่นคงต่อศาสนา (พระเจ้า) โดยไม่เปลี่ยนแปลง
                    พิธีศีลสมรส หรือพิธีแต่งงาน  คู่สมรสควรไปทำพิธีกันในโบสถ์โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธี
                    พิธีสารภาพบาป  ทำพิธีในโบสถ์ ผู้สารภาพบาปคุกเข่าสารภาพบาปของตนต่อบาทหลวง แล้วบาทหลวงให้ผู้สารภาพบาปยืนยันความสำนึกในบาปของตน เตือนให้ระมัดระวังไม่ทำผิดอีก แล้งจึงประกาศให้อภัย
                    พิธีเจิมครั้งสุดท้าย  เป็นพิธีทำให้คนป่วยที่ใกล้สิ้นใจ เป็นการชำระบาปครั้งสุดท้ายเพื่อความบริสุทธิ์ของวิญญาณ ก่อนเดินทางไปสู่สถานพิพากษาในโลกหน้า เชื่อกันว่าพิธีดังกล่าวสามารถเพิ่มพลังแด่ดวงวิญญาณให้ชนะภูติผีปีศาจ ที่จะมาขัดขวางระหว่างการเดินทาง
                    พิธีบวช  เป็นพิธีของฝ่ายนักบวชที่หัวหน้าสงฆ์ทำให้แก่ผู้เข้าพิธีบวชแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวง และมอบหน้าที่ธรรมทูต เพื่อเป็นตัวแทนพระเยซู

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |