ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒
(เก็บความจาก เอกสารวิจัย)

            ในห้วงปี พ.ศ.๒๕๐๑ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาเกือบครึ่งศัตวรรษ ได้มีผู้เขียนเอกสารวิจัยเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงหลายแห่ง ทำให้เห็นได้ว่า ปัญหาดังกล่าวมมีความต่อเนื่อง ยืดเยื้อ ยาวนาน สลับซับซ้อน แต่มีจุดมุ่งหมายที่ไม่เปลี่ยนแปลง สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน และน่าจะดำเนินต่อไปในอนาคต
            ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากเหตุการณ์มักจะไม่เข้าใจปัญหา และมักจะไม่ใส่ใจเนื่องจากเป็่นเรื่องที่อยู่ไกลตัว มีธรรมชาติของปัญหาที่ผิดแผกแตกต่างออกไป จากคนส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้เกิดความสับสน ในสาเหตุของปัญหาในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
            อย่างไรก็ตามได้มีผู้ที่ทราบปัญหาในระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ และมีหน้าที่ในการแก้ปัญหา รวมทั้งผู้ที่สนใจปัญหานี้ได้เขียนเอกสารวิจัย เสนอสถาบันด้านความมั่นคงในระดับสูง ที่ตนได้ศึกษาอยู่ประมาณกว่าร้อยท่าน พอประมวลสาระต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑. เรื่องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
            ๑. ศาสนาอิสลาม มีอิทธิพลเหนือขนบธรรมเนียมประเพณีของอิสลามิกชนอยู่มาก เพราะเป็นธรรมนนูญชีวิต มีคัมภีร์กุรอ่าน ซึ่งมีลักษณะเป็นกฎหมายอยู่ในตัว ทุกคนต้องเรียนรู้ และปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
            ๒. มุสลิมทุกคนถือว่าเป็นนักบวช การประกาศตนเป็นมุสลิมนั้นเพียงแต่ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ ว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ มะหะหมัด เป็นศาสนทูตของ อัลเลาะห์
            ๓. ชาวมุสลิมไม่มีการกราบไหว้บูชารูปเคารพ เช่น รูปปั้นหรือภาพต่าง ๆ ดังนั้นศิลปะ และปูชนียวัตถุจึงไม่มี มีแต่สุเหร่า มัสยิด และคัมภีร์กุรอ่าน เท่านั้น มีการต่อต้านการกลืนศาสนาอย่างรุนแรง อาจยอมตายเพื่อศาสนาได้ง่าย ๆ ถือว่าเป็นบุญมาก ถ้าสามารถชักชวนคนศาสนาอื่นให้เป็นมุสลิมได้ ถือว่าเป็นบุญมาก แต่ตนเองเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นไม่ได้เด็ดขาด ถือเป็นบาปหนักมาก
            ๔. การตกจากศาสนาอิสลาม  เกิดขึ้นได้ในทางใดทางหนึ่งในสามทางคือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทางกายเช่น กราบไหว้รูปปั้นภาพจำลอง ที่สมมติเป็นที่สักการะ ทางวาจา เช่น พูดว่าอัลเลาะห์ มีรูปร่างหน้าตาอย่างนั้นอย่างนี้ หรือพูดว่าการนมัสการอัลเลาะห์ไม่เห็นได้ดีอะไร ทางใจ เช่นสงสัยในเรื่องนรก สวรรค์ เป็นต้น
            ๕. วัฒนธรรมอิสลาม  มีที่มาแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น คือมาจากคัมภีร์กุรอ่าน และซุนนะห์ ของนบีมูฮัมหมัด จึงมีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สังคม หรือสิ่งแวดล้อม เป็นวัฒนธรรมที่แข็ง
            ๖. ศาสนาอิสลามส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของประเทศนั้น มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาไว้ทั้งในกุรอ่าน และคำสอนของนีมูฮัมหมัด ว่าการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิม ผู้ใดเรียนภาษาของอีกพวกหนึ่ง จะปลอดภัยจากการหลอกลวงของบุคคลเหล่านั้น และการศึกษาทางโลกก็จำเป็น
            ๗. นบีมูฮัมหมัด  กล่าวว่า ผู้ใดปรารถนาความสุขในโลกต้องศึกษา ผู้ใดปรารถนาในโลกหน้าก็ต้องศึกษา ผู้ใดปรารถนาความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าต้องศึกษาทั้งสองทาง
            ๘. ซุนนะห์  หมายถึงบรรดาโอวาท วจนะ (หะดิส)  การปฎิบัติ (จริยวัตร) และคำชี้แจงปัญหาใดปัญหาหนึ่งของนบีมูฮัมหมัด ตลอดจนคำกล่าว และการปฎิบัติของสาวก หะดิสเป็นส่วนหนึ่งของซุนนะห์ ที่มาของซุนนะห์สรุปได้ ๓ ประการคือ
                (๑)  นบี ฯ กล่าวสั่งสอนหรือให้แนวทางแก่สาวก
                (๒)  นบี ฯ กล่าวหลังจากเห็น หรือทราบเหตุการณ์ที่เกิดแก่สาวก
                (๓)  จริยวัตรที่นบีปฏิบัติ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้ได้พบเห็น และบอกต่อ ๆ กันมา
            ๙. ศาสนาอิสลามห้ามการกินดอกเบี้ย จากผู้ยากไร้หรือการหมุนเวียนเงินด้วยวิธีมิชอบต่าง ๆ ห้ามการพนัน ไม่รักษาคำมั่นสัญญา นินทาว่าร้าย หมิ่นประมาทผู้อื่น กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นโดยไม่มีความจริง ลอบกัดลับหลัง
            ๑๐. อิสลามถือว่ามนุษย์ทุกคน ถือกำเนิดมาเป็นทารก เป็นผู้บริสุทธิ์ไร้เดียงสา และไม่มีความรับผิดชอบต่อบาปกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เชื่อถือเรื่องกรรมแต่ชาติก่อน ถือว่าคนทุกคนเกิดมาด้วยความปรารถนาของพระเจ้า เมื่อเกิดมาแล้วสิ่งที่เขาได้กระทำในสิ่งที่บัญญัติให้กระทำ และละเว้นการกระทำในสิ่งที่บัญญัติให้เว้น จะได้รับการตัดสินในวันสุดท้ายของโลก การดำรงชีวิตในโลกก็เพื่อสะสมสิ่งที่ดีวามไว้เป็นสมบัติตน เพื่อเป็นเสบียงในโลกหน้า
            ๑๑. อิสลามถือความเสมอภาค ความยุติธรรม ภราดรภาพ ผู้ปกครองคือ ผู้รับใช้ประชาชน อุดมการณ์คือ การรักษาความสงบ ไม่รุกราน หรือก้าวร้าวใคร ถ้ามีการขัดแย้งต้องหาทางปรองดอง ถ้าเป็นขั้นเบาให้อดทน ถ้ารุนแรงมากต้องสูญเสียอุดมการณ์ กุรอ่านอนุญาตให้ต่อสู้ได้เต็มที่
            ๑๒. กุรอ่านบัญญัติให้มุ่งทำลายต้นตอที่เป็นความชั่ว วิธีระงับความชั่วไม่ได้อยู่ที่การนิ่งดูดาย หรือสั่งห้ามไม่ให้ต่อต้าน ต้องขวนขวายหาทางป้องกัน หรือควบคุมไว้ในอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อม
            ๑๓. กุรอ่านบัญญัติว่า "สูเจ้าทั้งหลายอย่าก่อความเสียหายขึ้นในแผ่นดิน การรักชาติกำเนิดรับใช้ปฐพีที่เกิด เป็นส่วนหนึ่งในศรัทธามั่นในอัลเลาะห์"
            ๑๔. การแต่งกายแบบมุสลิมทั้งที่ตนไม่ได้เป็นมุสลิม ชาวมุสลิมถือว่าเป็นการล้อเลียน
            ๑๕. ศาสนาอิสลามมีจำนวนผู้นับถือมากที่สุดในโลก และเป็นอันดับสองในไทย หลักการของศาสนาไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคม เว้นแต่ไม่เข้าใจในหลักการอิสลามเท่านั้น
            ๑๖. คัมภีร์กุรอ่านป็นบทบัญญัติจากอัลเลาะห์ ให้แก่นบีมูฮัมหมัด ต่างกรรมต่างวาระ รวบรวมเรียบเรียงเป็นเล่มมีทั้งหมด ๖,๖๖๖ บทบัญญัติ (Ayat) แบ่งออกเป็น ๓๐ ส่วน  ๑๔๔ บท (ซูเราะห์ อิจญ์มะอ์ เป็นความเห็นอันเกี่ยวกับปัญหากฎหมายอิสลามของสาวก ในยุคถัดมา ปรากฎอยู่ในกุรอ่าน และหะดิส
            ๑๗. อิสลามสอนว่า ความแตกต่างทางศาสนา และความเชื่อถือนั้น เป็นธรรมชาติของมนุษย์ และไม่ควรถือเป็นสิ่งกีดกันความสามัคคีระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
            ๑๘. อิสลามไม่ได้บังคับให้ผู้ใดละทิ้งศาสนาของตน มาถืออิสลาม  ในกุรอ่านมีคำเตือนจากอัลเลาะห์ ให้มุสลิมใช้สติปัญญา และโวหารอันแยบยล ในการร่วมอภิปรายกับศาสนาอื่น ทำให้เขาเหล่านั้นเห็นพ้องโดยดุษฎีภาพ โดยยกเอาเหตุผลมาเสนอพร้อมอ้างอิงด้วยหลักฐาน
            ๑๙. ไม่ว่าชาวอิสลามจะไปไหน เขาจะให้คู่ต่อสู้เลือกได้ ๓ อย่างคือ กุรอ่าน  บรรณาการ หรือตาย
            ๒๐. นบีมูฮัมหมัด  ได้สอนอุดมคติแก่มุสลิมว่า ดาบถือกุญแจไขประตูสวรรค์ เลือดหนึ่งหยด เพื่อพระเจ้าชนะการบริจาคทั้งมวล แรมศึกเพื่อพระเจ้าหนึ่งคืน มีผลมากกว่าถือศีลอดหนึ่งเดือน ตายในสงครามเพื่อพระเจ้า พระเจ้าจะล้างบาปให้หมด
            ๒๑. เนื้อหาในศาสนาอิสลาม แบ่งได้เป็นสองพวกคือ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และเปลี่ยนแปลงได้ ตามกาลเวลาและสถานที่ ประการแรกระบุไว้แน่นอนตายตัว  ประการหลังระบุไว้กว้าง ๆ หรือไม่ระบุเลย ให้อยู่ในวิจารณญาณของชาวมุสลิม ว่าสิ่งไหนควรไม่ควรเช่นการเลือกอาชีพ และการศึกษา
            ๒๒. บทบัญญัติซาริอาห์ เป็นเครื่องมือชี้นำในการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านปัจเจกบุคคล ชุมชน รวมถึงรัฐด้วย สังคมมุสลิมในระดับอุดมคติหมายถึง สังคมที่ดำเนินการตามหลักการ หรือบทบัญญัติในซาริอาห์ กลุ่มผู้รู้ทางศาสนาจะทำหน้าที่ตีความ เพื่อให้ประชาชน หรือรัฐนำเอากฎเกณฑ์และหลักการเหล่านั้นมาปฏิบัติ
            ๒๓. กฎหมายอิสลามมาจากหลักฐานทางศาสนา ๔ ประการ คือ กุรอ่าน หะดิส หรือซุนนะห์ อิจญ์มะอ์ และกิยาส ซึ่งได้มีการปรับปรุงมาถึง (ฮิจเราะห์ ศักราช ๓๐๐)  หลังจากนั้นไม่มีการแก้ไขอีก คงใช้หลัก ๔ ประการในการพิจารณาตีความ กระทรวงยุติธรรมได้ตั้งคณะ กก.แปล
            กฎหมายเป็นภาษาไทย เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรมใน จชต.และได้มีการตรา พรบ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามใน ๔ จชต. เมื่อปี ๘๙
            ๒๔. ศาสนาอิสลามสอนไม่ให้ฆ่ามนุษย์ถึงแม้เป็นศัตรู ถ้าเลิกคิดร้ายต่อกันก็ต้องให้อภัยไม่ฆ่ากัน แต่ชนอาหรับซึ่งเป็นชนพวกแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม มีนิสัยชอบรบราฆ่าฟัน จึงเอาศาสนาอิสลามมาบังหน้า เข้ารุกราน และฆ่าฟันผู้คนที่นับถืออิสลาม อ้างว่าเพื่อเผยแพร่ศาสนา แต่ข้อเท็จจริงนั้นเพื่อยึดทรัพย์ จับเชลย
            ๒๕. หลักการของศาสนาพุทธกับศาสนาอิสลามผิดแผกแตกต่างกันมาก
            ๒๖. จากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม บทบัญญัติของอิสลามจึงต้องกำหนดขึ้น ให้มีความเด็ดขาด เพื่อให้สามารถควบคุมประชาชนได้ นบีมูฮัมหมัด เป็นทั้งผู้นำศาสนา และผู้ปกครองบ้านเมือง ดังนั้นบทบัญญัติจึงต้องมีลักษณะเป็นกฎหมายไปในตัว เพื่อสามารถต่อสู้ให้อยู่รอด