| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

การละเล่นพื้นบ้าน นาฎศิลป์ และดนตรี
            การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีหลายอย่างนิยมเล่นกันในเทศกาลว่างจากการประกอบอาชีพ เช่น เทศกาลตรุษสงกรานต์ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ปอยเหลินห้า คืองานสนุกสนานในเดือนห้า นอกจากจะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระภิกษุ รดน้ำดำหัว ฯลฯ แล้ว กลุ่มหนุ่มสาวจะนิยมจับกลุ่มเล่น การละเล่นต่าง ๆ ตามประเพณี ส่วนในโอกาสที่ไม่มีตามประเพณี กลุ่มเด็ก ๆ ขัเล่นกันตามโรงเรียน ลานวัด หรือลานเอกประางค์ของหมู้บ้าน
            การละเล่นของเด็ก  มีอยู่เป็นจำนวนมากหลายอย่าง เหมือนกับในภาคอื่น ๆ แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
            การละเล่นของผู้ใหญ่  หลายอย่างเช่นเดียวกับในภาคอื่น ๆ แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป
            นาฎศิลป์และดนตรี

                มองกาก  เป็่นดนตรีจากเศษไม้ไผ่เหลือใช้จากการต่อแพ หรือจากการทำกิจกรรมอื่น หลังจากล่องแพหรือหยุดพักจากงานอื่น การทำมองกาก จะตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑ ศอก ให้ด้านหนึ่งมีตา ตัดเว้า ด้านกระบอกเหลือกระบอกไว้ประมาณ ๑ คืบ เคาะฟังเสียงดู ตกแต่งการให้เสียงโดยวิธีผ่าปากกระบอก และความหนาของปากกระบอกให้สามารถทำเสียงได้ตามต้องการ
                    วิธีเล่น  ใช้มองกาก สองอัน เคาะเป็นจังหวะดนตรี พร้อมกับเต้นไปตามจังหวะด้วย จบแล้วสลับรายการโดยการเฮ็ดความ (ร้องเพลงพื้นบ้าน)  จังหวะดนตรีมอกกากมีสามจังหวะด้วยกันคือ จังหวะช้า เลียบเสียงกลองมองเชิง จังหวะเร็ว เลียนเสียงกลองก้นยาว และจังหวะนกหมาปุ๊ก เลียนเสียงนกหมาปุ๊ก
                    แต่เดิมมองกากไม่ได้ใช้การแสดง แต่จะใช้สำหรับการละเล่นสนุกสนานยามพักผ่อนของกองคาราวานแพที่ล่องไปตามลำน้ำปาย น้ำยวมและน้ำคง (สาละวิน) เพื่อนำสินค้าไปขาย ตกตอนเย็นกินอาหารเย็นแล้วก็จะตั้งวงสนทนากัน ใครมีความรู้ด้านดนตรี ร้องเพลงก็แสดงออกมาสลับด้วยการเล่นนิทาน หรือเล่าเรื่องต่างบ้านต่างเมือง ที่ได้ไปพบเห็นมาแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง

                        - การแสดงจ๊าคไต (ลิเกไทยใหญ่)  เป็นการแสดงชุดใหญ่ ประกอบด้วยผู้แสดงทั้งหญิงชายจำนวน ๒๐ - ๕๐ คน หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับคณะจ๊าค
                        องค์ประกอบจาคไต คล้ายกับคณะลิเกของภาคกลาง ประกอบด้วยชุดนักแสดง ชุดดนตรี มีฉาก เวที มีการแต่งกายตามท้องเรื่องที่แสดง
                        การแสดงจะเริ่มด้วยพิธีไหว้ครู มีเครื่องเซ่นไหว้ตามประเพณีไต (ไทยใหญ่) ประกอบด้วยกล้วย มะพร้าว หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง ผ้าขาว เทียน ธูป บรรจุไว้ในกะละมังขนาดกลาง เมื่อหัวหน้าคณะหรือผู้อาวุโสในคณะทำพิธีไหว้ระลึกถึงครูสุรคติ (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่นักแสดงเคารพนับถือ) เส็จแล้วมีการร่ายรำเป็นชุดเพื่อบูชาครู กาแสดงหลังจากนั้นจะมีการร้องเพลงโดนนักร้องของคณะสับเปลี่ยนกันออกมาร้องเพลง ส่วนใหญ่จะเป็นการร้องแสดงความชื่นชมต่องานที่จัดขอบคุณผู้ชม ต่อจากนั้นก็จะเป็นการแสดงตามเนื้อเรื่อง
                        เรื่องที่ใช้แสดงส่วนใหญ่จะเป็นชาดกในพระพุทธศาสนนา เช่น เวสสันดรชาดก ทศชาติหรือเรื่องในวรรณคดี หรือเรื่องที่คิดขึ้นใหม่ให้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน มักพูดเรื่องให้มีคติสอนใจให้ทำดี
                        ตอนท้ายของการแสดงแต่ละคืนมักจะเป็นการร้องเพลงตามคำขอของผู้ชม หากมีผู้ขอเพลงมากการแสดงก็จะยืดเยื้อไปจนถึงตีหนึ่งหรือมากกว่า
                        - การฟ้อนรำ ภาษาไต (ไทยใหญ่) เรียกว่า ถ้าการฟ้อนรำของคนไตมีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม มีจังหวะดนตรี เรียกชื่อการฟ้อนรำต่าง ๆ คือ

                               ก้าแลว  คือการฟ้อนดาบ ประยุกต์มาจากลีลาการฟ้อนดาบ ที่เคยใช้เป็นแม่ไม้ต่อสู้ป้องกันตัวมาเป็นการร่ายรำที่มีดาบเป็นอุปกรณ์ด้วยลีลาที่อ่อนช้อย นิ่มนวล ไม่ดุดันเหมือนที่ใช้ในการต่อสู้
                               ก้าลาย หรือลายก้า  เป็นการฟ้อนรำที่ประยุกต์จากลีลาการต่อสู้ด้วยมือเปล่า หรือใช้ค้อนเป็นอาวุธ มาเป็นการร่ายรำที่อ่อนช้อยสวยงาม

                               ก้านก  เป็นการฟ้อนรำที่ผู้ฟ้อนแต่งกายเลียนแบบนกในนิยายที่คนไตเรียกว่า กิ่งกะหร่าและร่ายรำตามจังหวะดนตรีและออกท่าทางเลียนแบบกิริยาการของนก หรือสัตว์ในนิยายอย่างอื่นที่จินตนาการขึ้นมา

                               การฟ้อนรำอื่น ๆ  เป็นการฟ้อนรำชนิดต่าง ๆ ตามจังหวะดนตรีเช่นฟ้อนรำตามจังหวะกองก้นยาวเรียกว่า ก้าก๋องก้นยาว ฟ้อนรำกลองมองเชิง เรียกว่าก๋ากองมองเชิง หรือฟ้อนรำตามจังหวะดนตรีสมัยใหม่ ซึ่งจะรำเป็นชุด (คณะ) ละ ๑๐ คน หรือมากกว่าหรือรำเดี่ยวก็ได้

            ติ่งตุง  เป็นเครื่องดนตรี มีลักษณะการใช้และโอกาสที่ใช้ตลอดจนประวัติความเป็นมาเหมือนกับมองกาก
                วิธีทำ  เลือกไม้ไผ่ที่มีลำต้นใหญ่ ไม่หนามาก นำมาตัดเป็นท่อนให้มีตาอยู่หัวท้ายทั้งสองข้าง ตรงกลางเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ขนาด ๑  ๑.๕ นิ้ว ใช้ปลายมีดหรือเหล็กแหลมแทงผิวไม้ไผ่ข้างช้องงัดขึ้นมาให้เป็นเส้นเล็กขนาดเชือกมัดของสำหรับเป็นลายเครื่องทำเสียง สานตะกร้าเล็ก ๆ ปิดช่องตรงกลางให้มิด โดยสานเป็นตะแกรงติดเส้นไม้ไผ่ทั้งสองข้างให้ตะแกรงปิดช่องพอดี
                วิธีเล่น ใช้มือกดดีดด้านข้างของตะแกรง จะมีเสียงดังคล้ายเสียงดนตรีและบรรเลงตามจังหวะเสียงดนตรีคือกลองก้นยาวและกลองมองเชิง การเล่นติงตุง จะเล่นในเวลาอยู่คนเดียวหรือเป็นกลุ่มผลัดกันเล่นก็ได้ จะเล่นหลังการงานในทุ่งนาในตอนกลางวัน เล่นเพื่อผ่อนคลายและเพื่อความสนุกสนาน หรือเมื่อเดินทางไปค้างแรมตามป่าตามผา
                การร้องเพลงพื้นบ้าน (เฮ็ดกราม) เป็นศิลปพื้นบ้านที่นิยมกันมากในอดีต ประกอบด้วยลีลาท่วงทำนองหลายอย่าง คนไตมีอารมณ์ศิลปิน เมื่อเกิดความประทับใจอะไรมักจะร้องเพลงแสดงความรู้สึกมีทั้งชื่นชมยินดี รัก ผิดหวัง เศร้าใจ เสียใจ ฯลฯ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |