| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
ตำนานคนไต (ไทยใหญ่)
พงศาวดารไทยใหญ่เล่ม ๑ นิพนธ์โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ระบุว่า นานมาแล้วพระเจ้าอุทิพวา ราชาธิราชกรุงจีน มีราชธิดาพระเนตรบอด นามว่า
สอฮะลา มีอายุได้ ๑๒ ปี ถูกจับลอยแพ แพได้ลอยมาติดกิ่งไม้ที่เมืองตะโก้ง
ราชธิดาก็ปีนขึ้นจากแพ ได้ไปพบพยัคฆ์ร้ายตัวหนึ่ง (เสือเผือก) ซึ่งเป็นสวามีของพระธิดาในชาติก่อน
เลยได้เป็นสามีภรรยากันมีบุตรสี่คน เมื่อเจริญวัยราชธิดาก็เอาแหวนมอบให้ เพื่อแสดงให้เป็นที่เชื่อถือ
และได้กลับไปเฝ้าพระเจ้าตา ได้เล่าเรื่องราวของราชธิดาให้ฟัง พระเจ้ากรุงจีนจำได้
และรับไว้เป็นหลานได้ว่าเรียนศิลปวิทยาครบสามศกแล้ว ลาพระเจ้าตากกลับมาหามารดา
ได้มอบฆ้อง มีด นกยาง ให้ราชนัดดาคนที่หนึ่ง - สาม ส่วนคนที่สี่ ให้ไปขอนครที่จะครอบครองจากผู้เป็นบิดา
ราชนัดดาคนแรกเดินทางมาถึงที่ตั้งเมืองโมกองหรือเมืองคลัง เกิดอภินิหารฆ้องดังขึ้นเองสามลา
จึงสร้างเมืองขึ้นตรงที่นั้นเรียกว่า เมืองเมียนกองดี
ต่อมาเปลี่ยนเป็นเมืองก้อง
พม่าเรียกเมืองโมกอง
ไทยเรียกเมืองตัง
ราชนัดดาคนที่สอง เดินทางมาถึงวันหนึ่งมีดที่ได้รับมาหลุดจากมือไปปักดินอยู่เป็นอัศจรรย์
จึงให้สร้างเมืองขึ้นเรียกว่า เมียนมีดญี
คือบ้านมีดใหญ่หรือเมืองมีด
พม่าเรียกไมเมียก
ตอนแรกเรียกชื่อว่า เมียนยางยี
ต่อมากลายเป็นเมืองยาง
พม่าเรียกโมยิน
ราชนนัดดาคนสุดท้าย มาหาพญาเสือเผือกผู้เป็นบิดา พญาเสือเผือกก็สร้างเมืองให้เรียกว่า
เมียนเสือญี
ต่อมาเรียกว่า
เวียงเสือ
พม่าเรียกวนโส
ด้วยเหตุนี้ชาวไทยใหญ่จึงเชื่อกันว่า คนไตเป็นเชื้อสายผู้กล้าหาญอาจพญาเสือ
ตำนานกะเหรี่ยง
มีอยู่สองเผ่าด้วยกันคือ เผ่าโปว์ และกะเหรี่ยงแดง
- กะเหรี่ยงเผ่าโป้ว
มีเรื่องเล่าว่านานมาแล้วมีสองพี่น้องชายหญิง ผู้ชายเป็นพี่ชื่อลาเนียม ผู้หญิงเป็นน้องชื่ออาม่อง
อยู่ในเขตเมืองปันมะนา
ตอนใต้ของเมืองมัณทะเล เป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อผีภูเขาหลวง เมื่อได้อาหารมาก่อนจะกินจะเซ่นผีภูเขาหลวงก่อน
ผีภูเขาชอบใจจึงให้กลองยาววิเศษมา เมื่อต้องการสิ่งใดก็ให้ตีกลองแล้วจะได้สิ่งนั้นสมปรารถนา
วันหนึ่งลาเนียมตีกลองได้เม่นมาตัวหนึ่ง แบ่งให้น้องสาวครึ่งหนึ่ง ขนเม่นแทงเนื้อน้องสาวบาดเจ็บสาหัส
เลยโกรธหาว่าพี่ชายเอาสัตว์ขนแหลมมาให้ จึงได้ลอบเปลี่ยนหนังหมีกลองเสียใหม่
กลองนั้นก็หมดความขลัง ลาเนียมตีกลองไม่ได้ผล เมื่อทราบเรื่องที่น้องสาวทำเช่นนั้นก็โกรธ
จึงหนีไปทางทิศเหนือตามลำพัง น้องสาวตามหาพี่ชายไม่พบ ไปจนถึงเมืองลา
ได้แต่งงานกับชายต่างเผ่า ลูกหลานที่เกิดเป็นต้นตระกูลของกะเหรี่ยง สะกอ และโปว์
ต่อมา
- กะเหรี่ยงแดง
มีตำนานเล่าว่าบริเวณเมืองง่วนต่องปี่
ซึ่งอยู่ทางใต้เมืองหลอยก่อ รัฐดะยา เป็นถิ่นที่อยู่ของนางนกหรือกินรี มีชายหนุ่มต้นตระกูลชาวคะยาไปพบเข้าและได้เป็นสามีภรรยากัน
มีลูกหลานสืบต่อมาเป็นกะเหรี่ยงแดง
ชาวกะเหรี่ยงแดง ถือว่า ตนเป็นลูกหลานกินรีจึงมักเดินทางไปเคารพบูชาบรรพบุรุษของตนและเวลาตายจะหันศีรษะไปทางทิศเมืองง่วนต่องปี่เสมอ
กะเหรี่ยงแดง เป็นเผ่านักรบที่กล้าแข็ง เมื่อครั้งจอละฝ่อ เป็นผู้ปกครองดินแดนคะยา
ได้เคยทำการสู้รบกับเจ้าอุปราชหอหน้าแห่งเมืองนครเชียงใหม่ แต่ไม่แพ้ชนะกันจึงได้ทำสัตย์ปฏิญาณสงบศึก
โดยฆ่ากระบือเผือกหนึ่งตัว ใช้เลือดมาผสมสุราเป็นน้ำสาบาน ปฏิญาณเป็นสัญญาไมตรีต่อกันว่า
ตราบใดแม่น้ำคง (สาละวิน) ไม่แห้งหาย เขาควายไม่ตรง ถ้ำหลวงยังไม่ยุบ เมืองนครเชียงใหม่กับเมืองยาวแดง
จะเป็นไมตรีไม่รุกรานกันตราบนั้น
ตำนานมูเซอ
มีตำนานเล่าว่า ผีฟ้าหรือพระเจ้าได้สร้างโลกไว้ให้มีแผ่นดินกับน้ำ ภายหลังเกิดต้นไม้
สัตว์ และแมลงต่าง ๆ ขึ้น พระเจ้าจึงสร้างมนุษย์ผู้ชายคนแรก มีรูปร่างคล้ายสิงทะโมน
แต่ไม่มีขนรุงรัง และสร้างผู้หญิงคนหนึ่งมีท่อนล่างเป็นปลาอาศัยอยู่ในน้ำ
แต่ขึ้นมาบนบกได้ ที่เรียกว่านางเงือก ทั้งสองได้พบปะ และเป็นสามีภรรยากัน
ขณะที่นางเงือกตั้งครรภ์ได้เกิดน้ำท่วมแผ่นดิน ทั้งสองได้หลบอาศัยอยู่ในน้ำเต้าแห้งใบใหญ่
ข้างในกลวง ตรงปากเป็นรูเล็ก ๆ ต่อมานางเงือกได้คลอดลูกชายหญิงจำนวน ๑๐๐ คน
เมื่อน้ำแห้งแล้ว ผลน้ำเต้าค้างอยู่บนยอดเขาหิมาลัย ลูก ๆ ของนางเงือกได้คลานออกมาจากน้ำเต้า
จับคู่กันไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ เป้นต้นตระกูลของมนุษย์ต่อมา
มูเซอ ถือว่าตนเป็นพี่คนโต ต้องอยู่บนภูเขา ปรนนิบัติดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า
ดังนั้นชีวิตของมูเซอจึงต้องอยู่แต่บนภูเขา
ตำนานลีซอ
มีตำนานเล่าว่า สมัยก่อนเมื่อเทวดาแบ่งเขตแดนให้คนเชื้อสายต่าง ๆ คนอื่น ๆ
ใช้ก้อนหินหรือเสาหลักปักแสดงอาณาเขต แต่ลีซอกลับใช้หญ้าคามัดเป็นปม ทำเครื่องหมายไว้
พอถึงฤดูร้อนไฟป่าไหม้ลามทุ่งหญ้าคาหมด ลีซอไม่สามารถบอกเขตแดนของตนได้ จึงต้องอพยพร่อนเร่หาที่อยู่ไปเรื่อย
ๆ
ในเรื่องเกี่ยวกับตัวอักษรมีเรื่องเล่าว่า เมื่อเทวดาให้ตัวอักษรมา คนอื่น
ๆ จดไว้ในก้อนหินหรือไม้ แต่ลีซอกลับจดใส่ขนมข้าวป๊ก (ทำด้วยข้าวเหนียวคลุกกับถั่วงาที่ตำละเอียด)
ระหว่างเดินทางกลับหมู่บ้านเกิดหิวจัด หาอาหารอย่างอื่นไม่ได้จึงได้เอาข้าวปุ๊กมาย่างไฟกินหมด
ทำให้จำตัวอักษรไม่ได้
ตำนานลั๊วะ
มีตำนานเกี่ยวกับลั๊วะอยู่มาก พงศาวดารเก่าเล่าว่า ลวรัฐซึ่งนักประวัติศาสตร์
ลงความเห็นว่าคือบริเวณเมืองลพบุรี เคยเป็นอาณาจักรละว้ามาก่อนที่ขอมจะขึ้นมามีอำนาจ
ในสมัยพระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ก็ได้เคยทำสงครามวกับพวกละว้า
- ปฐมพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน
กล่าวว่ามีพวกละว้าอยู่ที่บริเวณดอยตุงมาก่อน ตำนานพระธาตุในเมืองเหนือ กล่าวถึงชนชาติละว้าก่อนชนชาติไทยและชนชาติขอม
ชาวละว้าเชียงรายเล่าว่า เดิมพวกเขาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีพญาวิลังค๊ะเป็นใหญ่
ได้พุ่งหอกสะเหน่าไปขอพระนางจามเทวี เมื่อไม่สมหวังก็สู้รบกันจนตัวตาย พวกละว้าแตกหนีไปอยู่ตามป่าเขา
ปู้เจ้าน้ำขุนรองจากพญาวิลังก๊ะ ได้พาพวกละว้าหนีไปอยู่ทางเชียงราย และเชียงตุง
เพื่อมิให้คนไทยจำได้ จึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายใหม่ เมื่อถูกถามจะบอกว่าตนเองเป็นข่าแพน
ข่าเปี่ยน และอื่น ๆ ถ้าตอบว่าเป็นลัวะหรือละว้าก็จะถูกฆ่าตายสิ้น
- พงศาวดารเชียงตุง
มีว่าคนทั้งหลายออกจากน้ำเต้าใบเดียวกัน ละว้าออกมาก่อน กะเหรี่ยงเป็นพวกที่สอง
ต่อมาจึงเป็นคนไทยและชนชาติต่าง ๆ ดังนั้นละว้าและกะเหรี่ยงจึงเป็นพี่ของคนไทย
ก่อนที่พญามังราย จะยกทัพไปรบได้เมืองเชียงตุงนั้น เชียงตุงเป็นถิ่นที่อยู่ของละว้าทั้งสิ้น
- พงศาวดารเมืองยอง
(เมืองยองอยู่ทางทิศตะวันออกของเชียงตุงติดประเทศลาว) ระบุว่าเดิมละว้าตั้ง
บ้านเรือนอยู่รอบหนองน้ำใหญ่
เจ็ดหมู่บ้าน มีพญาลกเป็นหัวหน้า ต่อมาพวกละว้าจากเชียงตุงอยพยมาอยู่ด้วย
เจ้าฟ้าเชียงตุงมาขอคนคืนไป ท้าวลกไม่ยอมให้จึงเกิดรบกัน ท้าวลกชนะและตีหัวเมืองอื่น
ๆ ได้อีก ๒๘ หัวเมือง รวมทั้งเมืองเชียงรุ้งของไทยลื้อด้วย
ต่อมาภายหลังท้าวลกแพ้เจ้าสุนัททกุมารโอรสเจ้าฟ้าเมืองเชียงรุ้ง จึงได้หนีเข้าไปในดินแดนลาว
กลายเป็นพวกข่าต่าง ๆ เช่น ข่ามุ ข่าเมด ข่าแพน ข่าฮอก ข่าน้อย ข่ากาด ข่ากะเลน
ข่าวะ ฯลฯ
- ปฐมตำนานเมืองสิบสองผู้ไทย
เล่าว่ามนุษย์ทั้งหลายออกมาจากน้ำเต้าปุง ซึ่งปู่ลางเชิงเอาเหล็กไฟแทงเป็นรูใหญ่
พวกมนุษย์ต่างพากันคลายออกมา พวกข่าออกมาเป็นคู่แรก ผิวจึงคล้ำเตี้ย บริเวณนั้นอยู่ที่เมืองแถง
(เดียนเบียนฟู) เป็นต้นตระกูลของข่า และม้อยในลาว และเวียดนามปัจจุบัน
- พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง
เล่าว่าขุนลอกับขุนฮาง รบกันขุนลอชนะไล่พวกขุนฮางไปอยู่ตามป่าเขา และพวกนี้คือ
พวกข่านั่นเอง
- ตำนานเก่าแก่
กล่าวถึงต้นตระกูลพวกละว้าว่า มีภูเขาลูกหนึ่งสูง ๒,๑๐๐ เมตร อยู่เหนือเมืองข่า
บนภูเขามีหนองน้ำยาว ๒๐ เส้น กว้าง ๕ เส้น น้ำลึกและเย็นมองเห็นเป็นสีเขียว
เรียกว่า หนองเขียว
เป็นถิ่นกำเนิดของกบยักษ์สองตัวผัวเมีย วันหนึ่งจับมนุษย์มาได้ก็เอามากิน
แล้วเอากะโหลกแขวนไว้ดูเล่น ต่อมากบตัวเมียตั้งท้อง ออกลูกเป็นชายเก้าคน หญิงเก้าคน
กบทั้งสองยังคงจับมนุษย์มาเป็นอาหาร วันหนึ่งบังเอิญจับหลานของตนเองมากิน
บรรดาลูก ๆ ต่างจับคู่แต่งงานมีบุตรหลานแยกย้ายไปอยู่ในหุบเขาเก้าแห่ง จึงได้มาหารือกันว่า
พ่อแม่ของพวกเราแก่ชราแล้ว แต่ชอบกินเนื้อมนุษย์สักวันคงจับพวกเรากินเป็นแน่
จึงได้พร้อมใจกันจับพ่อแม่ที่เป็นกบมาฆ่ากิน ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดประเพณีฆ่าพ่อแม่ที่แก่ชรามากินเป็นอาหาร
เพิ่งเลิกไปเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว
เพื่อเป็นการระลึกว่าต้นตระกูลเป็นกบ จึงได้นำโลหะมาหล่อเป็นกลองทองเหลืองกลม
ๆ มีรูปกบเกาะอยู่ที่ริมของกลอง ใช้ตีในงานพิธีกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทำรูปกบไว้ที่แท่นบูชาด้วย
ในเทศกาลวันปีใหม่ จะมีพิธีแห่รูปกบไปปล่อยในแม่น้ำลำธารเสมอ
- ตำนานหินไล่กัวะ
มีชาวลัวะกลุ่มหนึ่ง เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเองอาสัยอยู่ในถ้ำ แถบลุ่มน้ำสาละวิน
(น้ำคง) มีหินก้อนใหญ่อยู่ก้อนหนึ่งเป็่นผัวเมียกัน เป็นที่เคารพนับถือของชาวลัวะในยุคนั้นมาก
และได้รับการเลี้ยงดูจากบรรพบุรุษเป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อมีลูกหลานลัวะเพิ่มขึ้น
ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ก้อนหินคู่นั้นเท่าที่ควร ได้มีการล่วงละเมิดประเพณีดั้งเดิมหลายอย่าง
ทำให้ก้อนหินนั้นโกรธจึงได้กลิ้งทับชาวลัวะล้มตายเป็นอันมาก พวกที่เหลือพากันอพยพหนีตายมาทางทิศตะวันออก
ก้อนหินทั้งสองก็ไม่ลดละคงติดตามไปฆ่าต่อไป จนกระทั่งมาถึงบริเวณภูเขาสูงที่ทอดยาว
ทางด้านทิศตะวันออกของลำน้ำยวม ชาวลัวะที่เหลือจึงหนีขึ้นไปอยู่ตามยอดเขาสูง
ฝ่ายก้อนหินทั้งคู่ก็พยายามติดตาม และถามข่าวคราวหาชาวลัวะอย่างไม่ลดละ จนกระทั้งพบนกกระตั้วหัวหงอกตัวหนึ่งได้บอกแก่ก้อนหินทั้งคู่ว่า
ชาวลัวะไม่ได้อยู่แถวนี้ เพราะตนเองแก่จนหัวหงอกแล้ว ยังตามชาวลัวะไม่พบเลย
ก้อนหินทั้งคู่เลยเชื่อและหยุดไล่ตามชาวลัวะแต่นั้นมา
ปัจจุบันก้อนหินทั้งคู่ยังปรากฎอยู่ในเขตอำเภอแม่ลาน้อย โดยก้อนแรกมีลักษณะกลม
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร อยู่ที่ห้วยผักละ (ชะอม) อีกก้อนหนึ่งอยู่กลางห้วยแม่ฮุ
ตำนานเรื่องนี้เล่าโดยชนเผ่าอื่น ส่วนเผ่าลัวะเองเรียกว่า หินชนกัน
โดยมีเรื่องว่าชนเผ่าลัวะถูกศัตรูไล่มาจนถึงบริเวณหินใหญ่ดังกล่าว จึงได้ใช้เป็นทำเลในการต่อสู้
ในที่สุดไม่สามารถเอาชนะกันได้ จึงได้ตกลงสงบศึก ณ ที่นั้น ในภาษากะเหรี่ยงเรียกหินตรงนั้นว่า
กุลาตี คำว่า ลาตี แปลว่า ตกลงกัน
ตำนานม้ง
มีเรื่องเล่าว่า ชาวม้งต้องทำสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ อยู่เสมอ วันหนึ่งได้เอาหนังสือบรรทุกหลังม้า
เดินทางมาหยุดพักริมลำธารแห่งหนึ่ง ปลดตะกร้าใส่หนังสือแล้วปล่อยม้าไปกินหญ้าแล้วหลับไป
ม้าได้กินหนังสือของพวกเขาหมด ตั้งแต่นั้นมาชาวม้งก็ไม่มีหนังสือใช้
วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร
แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ สองกลุ่มคือ
ลิกโหลง
เป็นวรรรณกรรมแบบฉบับ ใช้สำหรับอ่านในพิธีกรรมต่าง ๆ หรือเพื่อศึกษาทำความเข้าใจ
ไม่นิยมนำไปอ่านประกอบเสียงดนตรี มีการแบ่งลักษณะย่อย ๆ ออกไปอีก ๑๒ แบบ
ลิกอ่อน
เป็นวรรณกรรมประเภทเพลงร้องต่าง ๆ นิยมแต่งพร้อมกับเสียงดนตรีประกอบ แบ่งย่อยออกเป็น
๑๓ แบบ
ล้อกปืน ลายความ (ลีลา จังหวะ)
ทั้งวรรณกรรมมุขปาระ และลายลักษณ์อักษร มีลีลาจังหวะการปล่อยลมในการพูด และอ่านแบบเดียวกัน
ยกเว้นคำพูดปกติ และคำสนทนาปราศัยกับคำประพันธ์ ประเภทร้อยแก้ว มีลีลาจังหวะการอ่านสี่ลักษณะ
ศิลาจารึก
พบเพียงแห่งเดียว คือ ศิลาจารึกวัดศรีเกิด
(วัดหนองบัว) พ.ศ.๒๐๒๓ - ๒๐๓๓ อยู่ในตำบลแม่ลี้ อำเภอปาย แผ่นศิลาเป็นหินทรายสีน้ำตาล
หักขึ้นจากด้านซ้ายไปทางด้านขวา ซึ่งเป็นส่วนบน จารึกเป็นอักษรฝักขาม ภาษาไทยยวน
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |