ก.
กรรมวาที | ผู้ที่เชื่อว่าการกระทำมีอยู่ |
กวริงการาหาร | อาหารคือคำข้าว |
กามคุณ | ส่วนที่ปราถนา |
กามฉันทะ | ความพอใจใน กาม เป็นนิวรณ์ข้อแรกใน นิวรณ์ 5 ประการ |
กามาพจร | ยังข้องอยู่ในกาม |
กามาสวะ | กิเลสเครื่องหมักดองคือ กาม |
กิริยาวาที | ผู้ที่เชื่อว่าผลของการกระทำมีอยู่ |
กูฏาคารศาลา | ห้องหรือโรงในเรือนยอด สังฆารามในเขตเมืองเวสาลี |
โกเชาว์ | ผ้าที่ทำด้วยขนสัตว์ |
โกตุหลศาลา | ศาลาสาธารณะ |
โกมุท | ดอกบัวแดง |
โกศล | ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป |
ขรรค์ | หอกด้ามสั้น |
ขันธ์ | ส่วนของร่างกายและจิตใจ |
ขาทนียโภชนียาหาร | ของเคี้ยวของกิน |
ขานุมัตต์ | ชื่อบ้าน |
ขิททาปโทสิกา | ชื่อเทวดาจำพวกหนึ่ง |
คัดครา | สระโบกขรณี |
คันธารี | ชื่อวิชาที่ทำให้หายตัวได้ |
โคจร | ความประพฤติอารมณ์ ที่เที่ยวไป |
โคดม | พระนามของพระพุทธเจ้า |
จตุตถฌาน | การเพ่งอารมณ์ลำดับที่สี่ ในรูปฌานสี่ |
จรณะ | ความประพฤติ |
จัณฑาล | ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่ต่างวรรณะกัน |
เจโตวิมุติ | ความหลุดพ้นแห่งจิต |
ชนบทกัลยาณี | นางงามในชนบท |
ชาณุโสนิ | ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง |
ชาลียะ | ชื่อปริพาชกคนหนึ่ง |
ชีวกโกมารภัจจ์ | ชื่อหมอคนหนึ่งที่มีความสามารถมากครั้งพุทธกาล |
ญาณทัสนะ | ความรู้และความเห็น |
ดาวดึงส์ | ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 2 ในสวรรค์ 6 ชั้น |
ดุสิต | ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 4 ในสวรรค์ 6 ชั้น |
ตติยฌาน | ความเพ่งอารามณ์ลำดับที่สามในรูปฌานสี่ |
ตถาคต | พระนามของพระพุทธเจ้า ท่านผู้ไปตรงต่อความจริง |
ตบะ | ความเพียรอย่างเคร่งเครียด ความเพียรเครื่องเผากิเลส |
ตัณหา | ความทะยานอยาก ความปราถนา ความดิ้นรนทางกาม |
ติรัจฉานกถา | เรื่องต่ำทราม เรื่องไร้สาระ |
เตโชธาตุ | ธาตุไฟ |
โตเทยยะ | ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง |
ถีนมิทธะ | ความหดหู่และง่วงงุน เป็นนิวรณ์หนึ่งในนิวรณ์ 5 ประการ |
ทักษิณาทาน | ทานเพื่อผลอันเจริญ ทานอุทิศเพื่อผู้ตาย |
ทิฎฐธรรม | ความเป็นไปในปัจจุบัน ในโลกนี้ |
ทิฎฐิชาละ | ชื่อพระูตร |
ทิพยจักษุ | ตาทิพย์ |
ทิพยโสต | หูทิพย์ |
ทุกขนิโรธ | ความดับทุกข์ |
ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา | ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ |
ทุกขสมุทัย | ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ |
ทุคติ | ภูมิที่ไปชั่ว |
ทุติยฌาน | ความเพ่งอารมณ์ ลำดับที่สอง ในอธูปฌานสี่ |
ธรรมชาละ | ชื่อพระสูตร |
ธรรมฐิติ | ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา |
ธรรมนิยาม | ความแน่นอนแห่งธรรมดา |
นาคิตะ | ชื่อพระเถระรูปหนึ่ง |
นานัตตสัญญา | มีสัญญาต่าง ๆกัน |
นิครนถนาฎบุตร | ชื่อชื่อเจ้าลัทธิหนึ่ง ในเจ้าลัทธิทั้งหกในสมัยพุทธกาล |
นิมมานนรดี | ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 5 ในสวรรค์ 6 ชั้น |
เนวสัญญานาสัญญายตนะ | ฌานที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นหนึ่งในอรุปฌานสี่ |
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ | ญานเครื่องระลึกถึงชาติที่อยู่ในกาลก่อนได้ |
เบญจกามคุณ | กามคุณห้าประการ |
ปกุธะกัจจายนะ | ชื่อเจ้าลัทธิคนหนึ่ง ในเจ้าลัทธิทั้งหกในสมัยพุทธกาล |
ปฏิฆสัญญา | ความใส่ใจในเรื่องคับแค้นใจ |
ปรนิมมิตวสวดี | ชื่อสวรรค์ชั้นที่หกในสวรรค์หกชั้น ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นนี้ |
ปเสนทิโกศล | พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นโกศลในสมัยพุทธกาล |
ปัจฉาสมณะ | พระผู้เดินตามหลัง |
ปัญญาวิมุตติ | ความหลุดพ้นด้วยปัญญา |
ปาจารย์ | ผู้ที่เป็นอาจารย์ของอาจารย์ |
ปาติโมกข์ | ประมวลศีลของพระสงฆ์ |
ปูรณะกัสปะ | ชื่อเจ้าลัทธิผู้หนึ่ง ในเจ้าลัทธิทั้งหก ในสมัยพุทธกาล |
โปกขรสาติ | ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง |
พยากรณ์ | คำทำนาย การตอบ การอธิบาย |
พรหมจรรย์ | ความประพฤติอย่างประเสริฐ ศาสนธรรมชั้นสูงสุด การบวชซึ่งละเว้นเมถุน |
พรหมชาละ | ชื่อพระสูตร |
พรหมทัณท์ | การลงโทษด้วยวิธีที่ไม่ให้ใครพูดด้วย |
พรหมไทย | ที่พระราชทานแก่พราหมณ์ ยกเว้นภาษีอากร |
พืชคาม | ไม้ที่ยังเป็นพืช |
ภวาสวะ | อาสวะคือภพ |
ภคุ | ชื่อฤาษีคนหนึ่ง |
ภารทวาช | ชื่อฤาษีคนหนึ่ง |
ภูตคาม | ไม้ที่งอกแล้ว |
มคธ | ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล |
มณิกา | ชื่อวิชาที่ทายใจคนได้ |
มโนปโทสิกา | ชื่อเทวดาาจำพวกหนึ่ง |
มหรคต | จิตที่บรรลุญาณ จิตที่ถึงความเป็นใหญ่ ( คือได้ญาณ ) |
มหาภูติรูป | รูปใหญ่ได้แก่ธาตุทั้งสี่ ( ดิน น้ำ ลม ไฟ ) |
มหาลี | นามกษัตริย์ลิจฉวีผู้หนึ่ง |
มหาวิชิตราช | พระนามพระราชาองค์หนึ่ง |
มักขลิโคศาล | ชื่อเจ้าลัทธิคนหนึ่ง ในเาจ้าลัทธิทั้งหก ครั้งพุทธกาล |
มัณฑิยะ | ชื่อปริพาชกผู้หนึ่ง |
มารโลก | โลกของเหล่ามาร ภพอันเป็นที่อยู่ของมาร |
มุรธาภิเษก | น้ำรดพระเศียร |
ยัญพิธี | พิธีบวงสรวง พิธีกรรมต่างๆ พิธีการบูชา |
ยามา | ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 3 ในสวรรค์ 6 ชั้น |
ราชคฤห์ | นครหลวงของแคว้นมคธ |
โรสิกะ | ชื่อช่างกัลบกผู้หนึ่ง |
โลกายตะ | ชื่อคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องไม่น่าเชื่อต่างๆ |
โลหิจจะ | ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง ครั้งพุทธกาล |
วชิรปาณี | ชื่อยักษ์ตนหนึ่ง |
วังกี | ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง |
วรรณ | การแบ่งชั้นของคนในชมพูทวีปเป็น 4 ชั้นคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร์ |
วามกะ | ชื่อฤาษีตนหนึ่ง |
วามเทวะ | ชื่อฤาษีตนหนึ่ง |
วาโยธาตุ | ธาตุลม เป็นหนึ่งในสี่ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม |
วาลวิชนี | พัดชนิดหนึ่ง |
วาเสฏฐะ | ชื่อมาณพคนหนึ่ง |
วิจิกิจฉา | ความระแวงสงสัย เป็นหนึ่งในนิวรณ์ห้าประการ |
วิชชา | ความรู้ |
วิญญาญัญจายตนะ | การเพ่งวิญญาณเป็นอารมณ์เป็นหนึ่งในอรูปฌานสี่ |
วินิบาต | สถานที่ตกต่ำ |
วิปฏิสาร | ความเดือดร้อน |
วิวัฏฏกัป | กัปที่เจริญ |
วิวาหมงคล | การมงคลสมรสที่ฝ่ายชายแต่งงานที่บ้านฝ่ายหญิง |
วิหารทาน | การถวายวิหาร |
เวสสามิตร | ชื่อฤาษีตนหนึ่ง |
เวสาลี | ชื่อเมืองหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล เป็นราชธานีของแคว้นโกศล |
ไวยากรณ์ | คำร้อยแก้ว |
โวทานิยธรรม | ธรรมบริสุทธิ์ |
สกสัญญา | |
สญชัยเวลัฏฐบุตร | ชื่อเจ้าลัทธิหนึ่งในเจ้าลัทธิทั้งหกในครั้งพุทธกาล |
สนังกุมาร | ชื่อพรหมผู้หนึ่ง |
สมาธิขันธ์ | กองสมาธิ หมวดสมาธิ |
สมาธิภาวนา | การเจริญสมาธิ |
สรณาคมน์ | การถึงสิ่งที่เป็นที่พึ่งที่ระลึก |
สักก | จอมเทวดา ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ |
สังกิเลศธรรม | ธรรมเครื่องเศร้าหมองใจ |
สังวัฎฏกัป | กัปที่เป็นไปข้างฝ่ายเสื่อม |
สังวัฎฏวิวัฎฏกัป | กัปเสื่อมและกัปเจริญ |
สัจจสัญญา | การให้สัญญาว่าจะทำจริง |
สัญญีทิฎฐิ | ความเห็นว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากกายตายมีสัญญา ความจำได้หมายรู้ |
สัณฐาดาร | สภาที่ประชุม |
สันดุสิต | ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นดุสิต |
สัสสตทิฏฐิ | มีความเห็นว่าเที่ยง |
สามัญคุณ | ผลของการเป็นสมณะ หรือผลของการออกบวช |
สามัญผล | ผลของการเป็นสมณะ หรือผลของการออกบวช |
สาวัตถี | ชื่อนครหนึ่งในครั้งพุทธกาล |
สุนักขัตตะ | นามกษัตริย์ลิจฉวี |
สุนิมมิตะ | ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นที่ห้า ในสวรรค์หกชั้น |
สุปปิยะ | ชื่อปริมาชกผู้หนึ่ง |
สุภมาณพโตเทยยบุตร | ชื่อมาณพผู้หนึ่ง |
สุยาม | ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นยามา (สวรรค์ชั้นที่สามในสวรรค์หกชั้น) |
โสทัณฑะ | ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง |
อจิรวดี | ชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในชมพูทวีป เป็นหนึ่งในเบญจมหานที |
อเจลกะ | ชีเปลือย |
อชาติศัตรู | พระราชาแคว้นมคธ ผู้ครองนครราชคฤห์ โอรสพระเจ้าพิมพิสาร |
อชิตเกสกัมพล | ชื่ออาจารย์เจ้าลัทธิหนึ่งในเจ้าลัทธิทั้งหก ครั้งพุทธกาล |
อชินะ | หนังสัตว์ เสือดาว |
อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ | ความเห็นว่า สิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ |
อธิจิต | จิตอันยิ่ง |
อธิปัญญา | ปัญญาอันยิ่ง |
อธิศีล | ศีลอันยิ่ง |
อนากปิณทิกะ | ชื่อเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งนครสาวัตถี ผู้ถวายเชตวันแด่พระพุทธเจ้า |
อนุกูลยัญ | ยัญบูชาตามประเพณีของตระกูล |
อนุบุพพิกกา | การแสดงธรรมไปตามลำดับของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามอาทีนพ |
อนุพยัญชนะ | ส่วนประกอบ ส่วนย่อย |
อนุยนต์กษัตริย์ | กษัตริย์เมืองขึ้น |
อนุศาสนีปาฏิหารย์ | การสอนที่มีปาฎิหารย์ |
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ | มีความเห็นปรารถเบื้องปลายของสิ่งต่าง ๆ ว่าจะลงสุดท้ายอย่างไร |
อภิสัญญานิโรธ | การดับความจำได้หมายรู้ |
อมราวิเขปทิฎฐิ | มีความเห็นชัดส่ายไม่ตายตัวเหมือนปลาไหล |
อรรถชาละ | ชื่อพระสูตร |
อรูปาพจร | จิตที่เป็นไปใน อรูปภูมิ |
อสัญญีสัตว์ | สัตว์ที่ไม่มีสัญญา (คือ นามขันธ์ 4 มี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) |
อัคคนิเวสนะ | ชื่อโคตร ๆ หนึ่ง |
อังคะ | ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล |
อังคีรส | ชื่อฤาษีตนหนึ่ง |
อัญญเคียรกีย์ | คนนอกศาสนา |
อันตรกัป | กัปในระหว่าง |
อันตานันติกทิฏฐิ | ความเห็นว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด |
อัมพวัน | สวนมะม่วง |
อัมพลัฏฐิกา | ชื่อสวน |
อัมพัฏฐะ | ชื่อมาณพผู้หนึ่ง |
อากาสานัญจายคนะ | การเพ่งอาเป็นเป็นอารมณ์ เป็นฌานที่หนึ่งในอรูปฌานสี |
อากิญจัญญายดนะ | การเพ่งความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ เป็นฌานทีสองในอรูปฌานสี่ |
อาชีวก | นักบวชพวกหนึ่งภายนอกพระพุทธศาสนา |
อาเทสนาปาฏิหารย์ | การหายใจ ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ |
อาโปธาตุ | ธาตุน้ำ |
อาภัสสรพรหม | พรหมที่มีแสงซ่านออกจากกาย |
อาวาหมงคล | การมงคลสมรสที่ฝ่ายหญิงแต่งงานที่บ้านฝ่ายชาย |
อาสวักขยญาณ | ความรู้ในความสิ้นไปแห่งอาสวะ |
อิจฉานังคคาม | ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่ง |
อิติหาส | ชื่อคัมภีร์ ๆ หนึ่ง |
อิทธาภิสังขาร | การปรุงแต่งขึ้นด้วยฤทธิ์ |
อิทธิปาฎิหารย์ | ความอัศจรรย์ที่เกิดจากอำนาจฤทธิ์บันดาล |
อิทธิวิธี | การแสดงฤทธิได้ |
อินทร์ | จอมเทพ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ |
อินทรีย์ | ความเป็นใหญ่ |
อุกกัฏจะ | ชื่อนครแห่งหนึ่ง |
อุกกากราช | ชื่อพระราชาที่ครองกรุงกบิลพัสดุ์เป็นพระองค์แรก |
อุคคราชบุตร | ราชบุตรผู้สูงศักดิ์ |
อุทธัจจกุกกุจจะ | ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ เป็นนิวรณ์ประการหนึ่งในนิวรณ์ห้า |
อุเบกขา | การวางเฉย เป็นองค์ธรรมประการหนึ่งในจตุตถฌาน |
อุปกิเลส | เครื่องเข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง |
อุปบาต | เหตุการณ์ผิดปกติ ลางบอกเหตุ |
อุปาทายรูป | รูปที่อาศัยขันธุ์ 5 เกิดขึ้น |
อุปายาส | ความคับแค้นใจ |
อุภโตสุชาติ | การเกิดที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายบิดาและมารดา |