สรุปสถานการณ์ใน จชต.

๑ - ๓๑ ต.ค.๕๑

           ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน จชต. ใน ต.ค.๕๑ ยังคงได้แก่ การก่อเหตุซึ่งดูเหมือนจะลดพลังลง หากยังมีความพยายามที่จะรักษาระดับความถี่ของการก่อเหตุเอาไว้ ขณะที่การตรวจค้นและจับกุมอย่างต่อเนื่อง ยังคงสามารถสกัดกั้นการเคลื่อนไหว และการก่อเหตุของแนวร่วมได้อย่างน่าพอใจ จนทำให้แกนนำ แนวร่วมและผู้อุปถัมภ์ (sympathizers)  อิสลาม ต้องพยายามขัดขวางพร้อม ๆ ไปกับการ ทำลายความน่าเชื้อถือ (discredit)  รัฐบาล และการเพิ่มความแปลกแยก / ความเข้มข้นของการเป็นมลายูอิสลามใน ๓ จชต. ด้วยการเพิ่มรูปธรรมของความแตกต่างด้านเชื้อชาติ และศาสนาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะที่รัฐบาลก็ยังมุ่งมั่นซื้อใจอิสลามอย่างไม่ลดละ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น  ทำให้ครูไทยพุทธซึ่งเป็นผู้สืบสานของวัฒนธรรมไทยพุทธ โดยเฉพาะภาษาไทยต้องถอยร่นออกจาก ๓ จชต.อย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มของเหตุการณ์ในสภาวะที่การต่อสู้ของการเมือง นอกสภากำลังเคลื่อนเข้าสู่จุดุลยภาพ และดูเหมือนว่าฝ่ายรัฐกำลังจะได้เปรียบนั้น ระดับความรุนแรง หรือการคลี่คลายปัญหาใน จชต. น่าจะขึ้นอยู่กับผู้ปฎิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ และน่าจะคุมสภาพได้หากหน่วยงานที่รับผิดชอบ สามารถประสานความร่วมมือกันได้อย่างจริงใจ

           สถิติและนัยของการก่อนเหตุ  การก่อเหตุในช่วง ต.ค.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ แม้จะไม่ครบถ้วน แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะทำให้นัยสำคัญของเหตุการณ์ผิดพลาดไปนั้น สรุปได้ว่า มีการก่อเหตุ ๘๒ เหตุการณ์ ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๙๕ เหตุการณ์ ใน ก.ย.๕๑  ทั้งนี้ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุมากที่สุด ๓๗ เหตุการณ์ โดย อ.
บาเจาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุ ๓๓ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุสูงสุด ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุน้อยผิดปกติ ๑๐ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๒ เหตุการณ์ เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การวางระเบิด ๑๓ เหตุการณ์  (เป็นการวางระเบิดต่อ เป้าหมายที่สามารถป้องกันตนเองได้ (Hard Target)  ๘ เหตุการณ์) การซุ่มโจมตีเกิดขึ้น ๑๒ เหตุการณ์ การวางเพลิง / เผา ๗ เหตุการณ์
            การก่อเหตุ ดูเหมือนจะลดลง หากยังมีความพยายามที่จะรักษาระดับความถี่ของการก่อเหตุ โดยเฉพาะที่ จ.ปัตตานี ซึ่งแกนนำแนวร่วมดูเหมือนจะสันทัดการเมืองมากกว่า จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส นั้น พบว่าการก่อเหตุเริ่มถี่ผิดปกติ ในช่วงตั้งแต่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๑ เช่นเดียวกับ จ.นราธิวาส  ขณะที่ จ.ยะลา ก็ได้มีความพยายามก่อเหตุ เพื่อชดเชยกับความถี่ที่ลดลง ด้วยการลอบวางระเบิดบริเวณตลาดสดพิมลชัย ในเขตเทศบาลนครยะลา ทำให้มีทหารบาดเจ็บสาหัส ๓ นาย และพลเรือน บาดเจ็บอีก ๕ คน เมื่อ ๒๙ ต.ค. ๕๑ นอกจากนี้ ยังพบความพยายามจะแสดงศักยภาพต่อ เป้าหมายที่สามารถป้องกันตนเองได้ (Hard terget) เพื่อคงไว้ซึ่งความฮึกเหิมและศรัทธาของแนวร่วม ด้วยการลอบวางระเบิด และซุ่มโจมตีชุดลาดตระเวนของทหาร ๒๐ เหตุการณ์ ใกล้เคียงกับ ๒๓ เหตุการณ์ใน ก.ย.๕๑ ทั้งยังเกิดความผิดพลาดบ่อยครั้ง และด้วยการก่อเหตุให้ได้หลายครั้งต่อวัน ดังเช่นความพยายามก่อเหตุถึง ๗ เหตุการณ์ เมื่อ ต.ค.๕๑ ซึ่งทั้งหมดเป็นการเผาสถานที่ และการลอบยิงตัวบุคคล

           การตรวจค้นและจับกุมของเจ้าหน้าที่  ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และอย่างสัมฤทธิผล ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้ จำนวน ๙ ครั้ง สามารถสกัดกั้นการก่อเหตุ และการก่อเหตุครั้งใหญ่ ด้วยการวางระเบิดได้หลายครั้ง อีกทั้งยังมีการจับกุมและกำจัดแนวร่วม คนสำคัญได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การตรวจค้นที่ ต.มะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ๒ คน  เมื่อ ๑๔ ต.ค.๕๑  การตรวจค้น ๓ จุด ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งสามารถควบคุมตัวผู้ต้องหา ระดับปฎิบัติการ RKK ๑ คน พร้อมของกลาง เมื่อ ๑๕ ต.ค.๕๑ การตรวจค้นที่ ต.ดอน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งคนร้ายถูกยิงเสียชีวิต ๑ คน และสามารถจับกุมผู้ต้องสงสัยได้จำนวน ๖ คน เมื่อ ๑๖ ต.ค.๕๑  การตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย ๖๐ แห่ง ที่ อ.รือเสาะ และ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส  ซึ่งสามารถจับกุมตัวแกนนำฝ่ายเศรษฐกิจของกลุ่ม RKK ได้ ๑ คน  พร้อมผู้ต้องสงสัยอีก ๗ คน เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๑ การตรวจค้นที่ ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งคนร้ายเสียชีวิต ๒ คน เมื่อ ๒๔ ต.ค.๕๑ การตรวจค้นเป้าหมาย ๕ จุด ที่ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส พบแหล่งประกอบวัตถุระเบิด พร้อมควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ ๕ คน เมื่อ ๒๙ ต.ค.๕๑  การตรวจค้นที่ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จำนวน ๒ จุด สามารถตรวจยึดอาวุธปืนสงคราม เครื่องกระสุน และวัตถุประกอบระเบิด ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๑
            อย่างไรก็ตามการปฎิบัติการ จะต้องรอบคอบ เนื่องจากมีการเฝ้าจับผิดเพื่อแข่งขันสร้างผลงานขององค์กรสิทธิมนุษยชน ซึ่งในช่วงรายงาน ได้ออกมาส่งนัย ความไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวแล้ว

            ความเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและผู้อุปถัมภ์ (sympathizers) อิสลาม  ที่น่าสนใจในช่วงรายงานมีทั้งการพยายาม  รัฐบาล และทั้งความพยายามเพิ่มความเข้มข้นของการเป็นมลายูอิสลาม ใน ๓ จชต. ดังนี้
           การทำลายความน่าเชื่อถือ (discredit)  รัฐบาล  ด้วยการเข้าไปร่วมล้มล้างรัฐบาลกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาล  รวมทั้งการโหมซ้ำเติมเมื่อรัฐเกิดความผิดพลาด และพลาดพลั้ง และการรื้อฟื้นเหตุการณ์ตากใบ ดังนี้
            -  ได้ออกแถลงการณ์ประฌามการใช้ความรุนแรง ในการสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา โดยอ้างว่า เป็นการปิดโอาสในการเจรจาเพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติ เช่นรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการใช้ความรุนแรง และคัดค้านการยกเลิกการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ลงในวันที่ ๑๘ เม.ย.๒๕๔๔ โดยอ้างว่า จะเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐ ใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งยังเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
            -  ประฌามการใช้ความรุนแรงของภาครัฐ ในการสลายการชุมนุม รวมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทบทวนบทบาท และเป้าหมายในการชุมนุม
            -  จัดงานรื้อฟื้นเหตุการณ์ตากใบ เพื่อตอกย้ำความแตกต่างของ จนท.ไทยพุทธ กับชาวบ้านมลายูอิสลาม
            -  นำภาพเหตุการณ์ที่ตากใบ มาเปิดเผย เพื่อสรุปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุด ประเทศหนึ่งของโลก
            -  ให้ความเห็นว่า รัฐพยายามถ่วงเวลาในการดำเนินคดีกับ จนท.
           ความพยายามในการเพิ่มความเข้มข้นของการเป็นมลายูอิสลามใน ๓ จชต.   ของผู้อ้างว่าเป็นมลายูอิสลาม ยังเป็นไปอย่างมุ่งมั่น มั่นคง และต่อเนื่อง ดังนี้
            -  กำลังผลักดันให้รัฐบาลส่งมลายูอิสลามจาก ๓ จชต. ไปศึกษาวิชาแพทย์ต่อในต่างประเทศ หลังจากประสบความสำเร็จ ในการส่งมลายูอิสลามเข้าศึกษาในสถาบันแพทย์ทั่วประเทศ ด้วยวิธีพิเศษมาแล้ว
             -  อ้างความพร้อมของอิสลามใน ๓ จชต. เตรียมเดินทางไปศึกษาการดำเนินการของศาลชารีอะฮ์ ในต่างประเทศ มุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม
            -  พยายามกีดกันและต่อต้านการเคลื่อนย้ายของคนไทยจากภาคอื่น และผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม เข้าไปตั้งรกรากอยู่อาศัย และประกอบอาชีพใน ๓ จชต. ....ในขณะที่การส่งเสริมให้อิสลามใน ๓ จชต. กระจายตัวออกไปตั้งรกรากทั่วทุกแห่งของประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา

           ความเคลื่อนไหวของรัฐ  นอกเหนือจากการป้องปรามการก่อเหตุ ได้แก่ ความพยายามซื้อใจอิสลาม ทั้งการสร้างงาน การออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำพิธีทางสาสนา และการเตรียมให้ผู้หลงผิดเข้ามอบตัว โดยไม่ต้องโทษ
            - 
กอ.รมน.  ได้จำทำโครงการสร้างงานให้อิสลาม ๖๐,๐๐๐ คน ระหว่าง กันยายน ๒๕๕๑ - กันยายน ๒๕๕๒  ซึ่งก็น่าจะเป็นปัญหาอยู่ เพราะการว่างงานของคนอิสลามส่วนหนึ่งอยู่ที่ ความไม่ต้องการจะทำงาน และไม่มีงานที่ต้องการจะทำให้ทำ
            -  ศอ.บต. ได้นำเงินงบประมาณร่ายจ่ายแผ่นดิน มาเป็นค่าเดินทางให้กับอิสลามทั้ง ๙๔ คน ๆ คนละประมาณ ๑๓๕,๐๐ บาท / คน เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจจ์ ซึ่งน่าจะเป็นการเพิ่มความรู้สึกถึง ความไม่เป็นธรรมให้แก่ศาสนิกชนของศาสนาอื่น ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย
            -  สมช. ให้ความเห็นชอบที่จะให้นำ มาตรา ๒๑ ของกฎหมายความมั่นคง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิด ด้านความมั่นคง เข้ามอบตัว และจะไม่ถูกดำเนินคดีเอาผิด ในลักษณะคล้าย ๆ กับการอภัยโทษอย่างอ่อน เหมือนกับนโยบาย ๖๖/๒๓ ที่แก้ปัญหาคอมมิวนิสต์ในอดีตด้วย มาใช้

           การเคลื่อนไหวของคนไทยพุทธใน ๓ จชต.  ในช่วงรายงานพบว่า คนไทยพุทธทั้งชาวบ้าน และข้าราชการยังคงถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
            -  พบว่าเด็กวัยรุ่นไทย ในพื้นที่อิสลามกำลังประสบปัญหาการถูกหลอกล่อให้เข้าสู่วงการค้ายาเสพติด และมีพฤติกรรมมั่วสุมกับอบายมุข ที่สำคัญคือ มีการใช้ศาสนามาเป็นเครื่องมือหากิน อย่างน่าวิตกโดยกรณีแรกมักพบที่ อ.เบตง ส่วนกรณีหลังพบที่ ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา
            -  ข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๑ ยื่นความจำนงเข้าร่วมโครงการเออร์ลี่ รีไทร์ ๙๕ คน แต่ทางสำนักงานเขตพื้นที่ ฯ สามารถพิจารณาให้เข้าโครงการได้เพียงร้อยละ ๕๐ ของจำนวนข้าราชการทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีครูที่ต้องการขอย้ายตัวเอง ออกจากพื้นที่อีกจำนวน ๒๓๖ คน อีกด้วย
            -  นายก อบต.ยะรม อ.เบตง จ.ยะลา  ซึ่งได้รับการเลือกตั้งด้วยใบแดง เมื่อ ๓๑ ส.ค.๕๑ ได้จัดม๊อบขับไล่ ปลัด อบต. เพราะไม่พอใจที่การเลือกตั้งครั้งนี้ มีคนไทยพุทธได้รับเลือกเข้ามาถึง ๙ คน และตนเองต้องใบแดง จนเป็นผลสำเร็จทำให้ ปลัด อบต. ต้องถูกโยกย้าย ภายใน ๒ พ.ย.๕๑

           แนวโน้มของปัญหา
            จุดรวมความเชื่อมั่น และศรัทธาของประชาชน ได้ถูกการเมืองฉุดลากลงมาทำลายแล้ว อย่างสิ้นเชิง ทำให้การแพ้ชนะการทางเมือง ต้องไปขึ้นอยู่กับพลังของกลุ่มที่เอาด้วย กับกลุ่มของตนเองเป็นสำคัญ อันจะทำให้การแพ้ชนะทางการเมืองต้องยืดเยื้อต่อไป ระดับความรุนแรงของปัญหา ใน จชต. จึงขึ้นอยู่กับผู้ปฎิบัติในพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งหาก จนม.สามารถประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยรับผิดชอบได้ ก็เชื่อว่าน่าจะคลี่คลาย / ควบคุม สถานการณ์ได้พอสมควร
            อย่างไรก็ตาม การปลุกปั่น / ยุแยกให้ชาวบ้านเกลียดชังตำรวจ และไม่ไว้ใจทหาร รวมทั้งการฉุดดึงสถาบันลงมาคลี่คลายภาวะความจนตรอก ได้มีส่วนทำให้ขวัญ / กำลังใจ จนท./ ข้าราชการและศรัทธาของประชาชนใน จชต. ถอถอยลง จนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ที่ดูเหมือนกำลังได้เปรียบ แนวร่วมถดถอยลงอย่างน่าเสียดาย และปัยหาราคายางพาราตกต่ำ น่าจะเป็นอีกปัญหาที่พรรคการเมือง จะเข้าไปแสวงประโยชน์ นำมาใช้แทรกแซง/ก่อความสับสนเพื่อ ทำลายความน่าเชื่อถือ (discredit)  รัฐบาล อันจะทำให้กระบวนการแก้ปัญหาการป้องปราม การเคลื่อนไหวของแนวร่วมมีอุปสรรคเพิ่มขึ้น
            อนึ่ง พบว่าการก่อเหตุใน จ.ยะลา ในช่วงเวลารายงานเกิดขึ้นน้อยอย่างผิดปกติ เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุใน จ.นราธิวาส และ จ.ปัตตานี ดังนั้น จึงเชื่อว่าแนวร่วมจะกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมก่อเหตุ และน่าจะมีการก่อเหตุมากขึ้น ในช่วงเวลาต่อไป