สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๑ มี.ค.๕๔

          ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ใน ๓ +๑ จชต. ได้แก่การก่อเหตุ ที่ดูเหมือนว่าแนวร่วมโหมก่อเหตุอย่างหนัก ก่อนที่จะพักเพื่อฟื้นกำลังด้วยการเข้ามอบตัวเพื่อหาทางให้ได้กลับไปอยู่กับครอบครัวตาม ม.๒๑ และอย่างอุกอาจและท้าทายยิ่งโดยเฉพาะกับ hard targets อันน่าจะเป็นเป็นผลมาจากโยบายที่ดูเสมือน “ยอมสยบให้กับโจร”ของแม่ทัพภาค ๔ ด้วยเหตุนี้ การก่อเหตุในช่วงรายงาน มีจำนวนใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมาคือ ๖๐ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธซึ่งเป็นเป้าหมายของการกำจัดให้ออกจาก ๓ จชต.ยังคงสูญเสีย(เสียชีวิตและบาดเจ็บ)สูงกว่าอิสลาม ทั้งนี้จังหวัดที่มีการก่อเหตุโดยเฉพาะต่อคนไทยพุทธมากที่สุดยังคงได้แก่ จ.ปัตตานี ซึ่งมี ผวจ.และ ผกก.เป็นอิสลาม จำนวน ๒๔ เหตุการณ์ โดยที่ อ.ยะรัง ซึ่งเป็นพื้นที่กั้นระหว่างปัตตานีด้านตะวันออกและตะวันตก มีความรุนแรงมาก ในลักษณะสังหารหมู่คนไทยพุทธเพื่อแย่งยึดพื้นที่ ขณะที อ.โคกโพธิ์ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของอ.ยะรัง มีการกราดยิงพระสงฆ์ มรณะภาพ ๑ รูปและสาหัส ๒ รูป กลางเมือง
          การก่อเหตุ นอกจากเป็นไปอย่างแต่การรุกแย่งยึดพื้นที่ การทำลายขวัญไทยพุทธเพื่อกดดันให้ทิ้งถิ่น และการกำจัดอิสลามที่ทำงานให้กับรัฐ ยังคงเป็นไปอย่างสัมฤทธิผล โดยเฉพาะการร่วมกัน discredit ทหาร ของแกนนำแนวร่วมและแม่ทัพภาค ๔ เนื่องจากการที่ทหารไม่กล้าตอบโต้แม้จะเห็นการล่าสังหารคนไทยพุทธต่อหน้า ทำให้ประชาชนไทยพุทธเริ่มหมดศรัทธาทหารเช่นเดียวกับอิสลามแล้ว ปฏิกิริยาต่อต้านทหารที่ชัดเจน พบในพื้นที่วิกฤติและกำลังจะวิกฤติ ที่ อ.ยะรัง อ.ปะนาเระ และ อ.โคกโพธิ์ ซึ่งคนไทยพุทธกำลังมองทหารว่า เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ไร้ค่าและสร้างปัญหาให้สังคม และจากการที่ประชาชนต้องต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดกันตามลำพัง และด้วยตนเอง ดูเหมือนว่าได้ก่อให้เกิดการเข่นฆ่าเพื่อระงับการถูกฆ่า ตอบโต้ซึ่งกันและกันอย่างน่าวิตกยิ่ง
          เป็นที่น่าสังเกตุว่า หลังจากที่มีการก่อเหตุอย่างหนักแล้ว ผู้ต้องหา และต้องสงสัยในคดีความมั่นคง ได้เริ่มทยอยเข้ามอบตัวแล้วอย่างเชื่อมั่น ที่ จ.ปัตตานี เป็นแห่งแรก จำนวน ๓๐ คน โดยคนในพื้นที่ ได้แสดงความกังขาว่ามี RKK เข้ามามอบตัวด้วย แต่กลับถูกปล่อยตัวไปทั้งหมด ขณะที่ จ. ยะลามี RKK ระดับปฏิบัติการเข้ามอบตัว ๑ คน และ จ.นราธิวาส มีแนวร่วมและ RKK เข้ามอบตัวอีก ๒๒ คน สำหรับการตรวจค้น จับกุม พบว่าถี่ขึ้นในช่วงเวลาปลาย มี.ค.๕๔ อย่างผิดปกติซึ่งน่าจะเป็นผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การก่อเหตุลดลง แม้ว่าการตรวจค้นและจับกุมใน จ.ปัตตานี บางกรณีเป็นการสร้างภาพเพื่อลดกระแสกดดันของสาธารณชน ในลักษณะจับเช้าปล่อยเย็นก็ตาม
          สำหรับการเคลื่อนไหวในลักษณะปลุกระดม ก่อกวน หรือ discredit ของแกนนำแนวร่วมอิสลาม และ sympathizer เท่าที่ตรวจสอบได้ในช่วงรายงาน ยังไม่พบที่เด่นชัด ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากความสับสนไร้ทิศทางทางการเมืองและความอึมครึมของทหาร ทำให้ต้องชะลอการเคลื่อนไหวเพื่อประเมินทิศทาง อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าขณะความเป็นศัตรูกันในทางความคิดด้านศาสนานอก ๓ จชต. ระหว่างพุทธ – อิสลามกำลังก้าวสู่ภาวะวิกฤติ โดยเริ่มจากกรณี ร.ร.มัธยมวัดหนองจอก ซึ่งถูกปลุกเร้าให้เข้าสู่สงครามศาสนาโดยกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ โดยในช่วงรายงานก็ยังคงมีการนำประเด็นการแต่งกายตามศาสนาอิสลามในโรงเรียนวัด มาลงในสื่ออิสลามและออกสู่ต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง
         แนวโน้มของสถานการณ์ใน เม.ย.๕๔ นั้น หากไม่มีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นโดยการกระทำของมนุษย์หรือธรรมชาติ เชื่อว่าการก่อเหตุจะยังคงอยู่ในลักษณะลึกแต่แคบหรือไม่มากแต่ทรงประสิทธิภาพเช่นเดิม หากจะเพิ่มได้หากเกิดความหละหลวมในช่วง ๒๘ เม.ย.๕๔ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๗ ปี ของเหตุการณ์ เมษาบ้าคลั่ง โดยปัตตานีน่าจะมีการโหมก่อเหตุพร้อมๆไปกับการเร่งขึ้นชุมชนอิสลาม ทั้งนี้พื้นที่อันตรายที่สุดของคนไทยพุทธน่าจะยังคงเป็น อ.ยะรัง ส่วน อ.ปะนาเระ เป้าหมายจะมีทั้งคนไทยพุทธและอิสลาม สำหรับ อ.โคกโพธิ๋ น่าจะมีการก่อเหตุทำลายขวัญคนไทยพุทธเป็นระยะ นอกจากนี้ยังควรจับตาการเคลื่อนไหวของแนวร่วมที่เข้ามอบตัวและถูกปล่อยตัวไปแล้ว และแนวร่วมที่กำลังขอเข้ามอบตัว โดยเฉพาะที่ จ.ปัตตานี เนื่องจากหลายคนคือแนวร่วมระดับแกนนำและระดับปฏิบัติการ ซึ่งการเข้ามอบตัวน่าจะเป็นเพียงเพื่อการพักฟื้น และการเข้าพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นหัวคะแนนให้กับนักการเมือง

สถิติและนัยการก่อเหตุ
           การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ มี.ค.๕๔ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ ๖๐ เหตุการณ์ เพิ่มขึ้นจาก ๕๔ เหตุการณ์ ในช่วงเดียวกันของ ก.พ.๕๔ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ซึ่งมีผวจ. และ ผกก.เป็นอิสลาม มีการก่อเหตุ ๒๔ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรัง มีการก่อเหตุมากที่สุด ๘ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.โคกโพธิ์ มีการก่อเหตุ ๔ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๗ เหตุการณ์ โดย อ.เมือง มีการก่อเหตุสูงสุด ๖ เหตุการณ์ อ.บันนังสตามีการก่อเหตุ ๔ เหตุการณ์ และ อ.รามัน ๓ เหตุการณ์ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุ ๑๖ เหตุการณ์ โดย อ.รือเสาะ มีการก่อเหตุสูงสุด ๔ เหตุการณ์ และเป็นการก่อเหตุมี่สามารถ discredit จนท.และทหารได้มากที่สุด อ.ศรีสาคร มีการก่อเหตุ ๓ เหตุการณ์ ขณะที่ อ.ระแงะ อ.บาเจาะ และ อ.จะแนะ มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๒ เหตุการณ์ ขณะที่ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุ ๓ เหตุการณ์ ที่ อ.นาทวี ๒ เหตุการณ์และ อ.เทพา ๑ เหตุการณ์โดยเป้าหมายทั้งหมดเป็นไทยพุทธ ทั้งนี้การก่อเหตุทั้ง ๖๐ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๙ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๘ เหตุการณ์ การซุ่มโจมตี ๑๐ เหตุการณ์ การก่อกวน ๑ เหตุการณ์ และอื่นๆ ๒ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธมีการสูญเสีย ๔๙ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๑ ราย และบาดเจ็บ ๒๘ ราย (ไม่นับกการบาดเจ็บของทหารเมื่อ ๒๖ คน เมื่อ ๒๘ มี.ค.๕๔ เพราะยังไม่ปรากฏรายชื่อทั้งหมด) สูงกว่าอิสลาม ซึ่งมีการสูญเสียรวม ๒๘ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๐ ราย และบาดเจ็บ ๘ ราย

         ข้อพิจารณา
          การที่แม่ทัพภาค ๔ สามารถทำลายภาพลักษณ์ของทหารได้อย่างต่อเนื่อง โดยการส่งนัยให้ทหารหยุดทำงานจนกลายมาเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจในสังคม ๓ จชต. ประกอบกับการที่ ผวจ.ปัตตานี คือนายนิพนธ์ นราพิทักษกุล และ ผกก. ปัตตานี คือ พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ทำให้แนวร่วมเร่งฉวยโอกาสรุกเพื่อกดดันให้มีการถอนทหารจากนอกพื้นที่ออกจาก ๓ จชต. ยึดพื้นที่ไทยพุทธ และกำจัดอิสลามที่ทำงานให้กับรัฐ อย่างหนัก
            ๑. การก่อเหตุที่ จ.ปัตตานี ซึ่งมี ผวจ.เป็นอิสลามและจะเกษียณใน ก.ย.๕๔ และได้สมัครเป็น กกต.จังหวัดต่อนั้น มีลักษณะของการเร่งกวาดล้างคนไทยพุทธโดยการฆ่ารายวัน อย่างน่าวิตกยื่ง โดยเฉพาะที่ อ.ยะรัง ซึ่งมีนัยของการแย่งยึดและคุมสภาพพื้นที่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการตัดการสัญจรระหว่างปัตตานีตะวันออกและปัตตานีตะวันตก ในขณะที่ทางตะวันออกเน้นการก่อเหตุต่อเป้าหมายคนไทยพุทธที่ อ.ปะนาเระ ส่วนทางด้านตะวันตกเน้นอยู่ที่ อ.โคกโพธิ์
            ๒. การก่อเหตุที่ จ.นราธิวาส มุ่งกระทำอย่างอุกอาจเพื่อทำลายขวัญและศักดิ์ศรีของทหาร โดยเริ่มจากการโจมตีค่ายพระองค์ดำ ที่ ม.๑ ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๑๙ ม.ค.๕๔ ส่วนในช่วงรายงานมีการก่อเหตุต่อ hard target ในลักษณะซุ่มยิงถึง ๙ เหตุการณ์ (ไม่นับการลอบวางระเบิด) ที่น่าพิจารณาได้แก่ การที่แนวร่วมประมาณ ๑๕ คน มีอาวุธปืนพก ๑ กระบอก มีด และไม้ เป็นอาวุธ ได้บุกเข้าไปที่ฐานลอยของร้อย ร.๑๕๑๒๓ ฉก.๓๘ (ค่ายเสือดำ) ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากฐานใหญ่ ที่ หมู่ ๑ บ.สาเมาะ ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และยึคปืน M – ๑๖ ไป ๘ กระบอก และกระสุนจำนวนหนึ่ง เงินสด ๓๕,๐๐๐ บาท และมือถือ ๘ เครื่อง เมื่อ ๒๓ มี.ค.๕๔ การกราดยิงรถบรรทุกทหาร ๑๐ คัน ซึ่งมีทหารในรถจำนวน ๔๐๐ นาย ที่ ม.๑ ต. บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ ทำให้ทหารบาดเจ็บสาหัสและไม่สาหัส ๒๖ นาย เมื่อ ๒๙ มี.ค.๕๔ การดักยิงรถของนายวัชรศักดิ์ จุลาญานนท์ นายอำเภอรือเสาะ ปลัดอาวุโสและอาสาสมัครรักษาดินแดน บนถนนในหมู่บ้านบูเก๊ะนากอ หมู่ ๒ ต.ลาโล๊ะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อ ๓๑ มี.ค. ๕๔
            ๓. การก่อเหตุมีลักษณะข่มขู่ให้มลายูอิสลามถอนตัวจากการทำงานให้รัฐบาล อาทิ การบุกเข้าไปในบ้านและใช้อาวุธปืนสงคราม เอ็ม ๑๖ และอาก้า กราดยิงนายมะซาราพี กูโน เจ้าของบ้าน และ ชรบ.บ้านสะตอ นางโนรียะ มะแซมิง ภรรยานายมะซาราพี และ อสม. และนางดีเยาะ เจ๊ะอาแซ เพื่อนบ้าน เสียชีวิต ขณะนั่งดูโทรทัศน์อยู่ในบ้าน เลขที่ ๑๔๖/๖ บ้านสะตอ หมู่ ๗ ต.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อ เมื่อ ๒๒ มี.ค.๕๔ การยิง นายซาฟูวัน สะมะแอ ชรบ.เสียชีวิตในสวนยางพารา บ้านกำปงบือแน หมู่ที่ ๖ ต.จะกว๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา เมื่อ ๒๔ มี.ค.๕๔
            ๔. การเข่นฆ่าเพื่อระงับการถูกฆ่า ตอบโต้ซึ่งกันและกันอย่างน่าวิตกยิ่ง ตัวอย่างชัดเจน ได้แก่ การยิงอิหม่ามเสียชีวิต คอเต็บบาดเจ็บ บนถนนสายโคกโพธิ์-คลองหิน ม.๔ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ เมื่อ ๓ มี.ค.๕๔ ยิงพระเสียชีวิต ๑ รูป บาดเจ็บสาหัส ๒ รูป บนถนนสายโคกโพธิ์-ท่าเรือ ระหว่าง ม.๔ และม.๗ บ้านโคกโพธิ์ ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ ปากทางเข้าโรงเรียนเพชรชูนุเคราะห์ เมื่อ ๕ มี.ค.๕๔

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมอิสลาม และ sympathizer
            สำหรับการเคลื่อนไหวในลักษณะปลุกระดม ก่อกวน หรือ discredit ของแกนนำแนวร่วมอิสลาม และ sympathizer เท่าที่ตรวจสอบได้ในช่วงรายงาน ยังไม่พบที่เด่นชัด ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากความสับสนไร้ทิศทางทางการเมืองและความอึมครึมของทหาร ทำให้ต้องชะลอการเคลื่อนไหวเพื่อประเมินทิศทาง อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าขณะความเป็นศัตรูกันในทางความคิดด้านศาสนานอก ๓ จชต. ระหว่างพุทธ – อิสลามกำลังก้าวสู่ภาวะวิกฤติ โดยเริ่มจากกรณี ร.ร.มัธยมวัดหนองจอก ซึ่งถูกปลุกเร้าให้เข้าสู่สงครามศาสนาโดยกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ โดยในช่วงรายงานก็ยังคงมีการนำประเด็นการแต่งกายตามศาสนาอิสลามในโรงเรียนวัด มาลงในสื่ออิสลามและออกสู่ต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง www.thailandnewsdarussalam.com เมื่อ ๒ มี.ค.๕๔ ลงบทความ มติมหาเถรสมาคมระบุชัด วัดห้ามนักเรียนคลุมฮิญาบ เพือสื่อให้เห็นว่า เถระสมาคม “...พยายาม บิดเบือนข้อเท็จจริง สร้างความสับสนให้เกิดขึ้นในสังคม และเป็นความพยายามในการแทรกแทรงการทำงานของสื่อมวลชนอย่างชัดเจน ”
         www.pinonlines.com เมื่อ ๒ มี.ค.๕๔ ลงบทความ แนวร่วมค้านการห้ามคลุมฮิญาบ แถลงค้านวัดหนองจอกห้ามนร.คลุมฮิญาบ .ในลักษณะคุกคาม “….หากทางภาครัฐ หรือเจ้าหน้าที่ ไม่ได้นำมาซึ่ง ความยุติธรรมที่เรามิได้ละเมิดใคร แล้ว ทางประชาชนก็จะไม่มีทางเลือกอันใดในการแก้ปัญหานี้ เว้นแต่ด้วยวิถีทางของประชาชน ที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วในอดีต จึงเรียนมาเพื่อทราบ และพิจารณาปฏิบัติ ”
         มุสลิมไทยดอทคอม เมื่อ ๖ มี.ค.๕๔ ลงบทความ สมัย เจริญช่าง เปิดใจ ปัญหาฮิญาบ รร.วัดหนองจอก ในที่ประชุม กอท. วันนี้ “ …..คุณสมัย เจริญช่าง กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เชิญ ผอ.โรงเรียนมาพูดคุย และเสนอว่าหากพระมันมีปัญหามากนัก จะให้นักเรียนมุสลิมไปเรียนที่อื่นๆ คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนกว่า ๕๐๐ คน”
         www.pinonlines.com เมื่อ ๗ มี.ค.๕๔ ลงบทความ มุสลิมเพื่อสันติออกแถลงการณ์ กรณีปัญหาฮิญาบมัธยมวัดหนองจอก เพื่อยืนยันว่า “.....กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติขอยืนยันว่าจะเดินหน้าในการเรียกร้องสิทธิของพี่น้องมุสลิมทุกประการตามกรอบที่มีอยู่ในกฏหมายบ้านเมือง ”
         เชคริฎอ อะหมัด สมะดี ประธานกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ส่งสาร : หิญาบเป็นสิทธิแห่งบัญญัติของพระเจ้า “.....หากมุสลิมะฮฺในประเทศไทยถูกห้ามคลุมหิญาบแล้วไซร้ ก็จะเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งที่ทำให้มุสลิมมองคำว่า “สันติภาพ” หรือ “สมานฉันท์” ด้วยความคลางแคลงใจอย่างยิ่ง ”
         มุสลิมไทยดอทคอม เมื่อ ๑๐ มี.ค.๕๔ ลงบทความ กระแสฮิญาบวัดหนองจอกมาแรง วัยรุ่นใส่ใจ เปิด Facebook รับฟังความคิดเห็นแบบโดนๆๆ “….ต้องขอขอบคุณ กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ….การรวมพลังของเราไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้ถ้าไม่มีองค์กรระดับ ประเทศมาช่วยนำอุดมการณ์เเละความรู้สึกของเราชาวมุสลิม ในโลกออนไลนฺไปดำเนินงานต่อได้ ....”

การเข้ามอบตัวของแนวร่วมและRKK
            เป็นที่น่าสังเกตุว่า หลังจากที่มีการก่อเหตุอย่างหนักแล้ว ผู้ต้องหา และต้องสงสัยในคดีความมั่นคง ได้เริ่มทยอยเข้ามอบตัวแล้วอย่างเชื่อมั่น ที่ จ.ปัตตานี เป็นแห่งแรก จำนวน ๓๐ คน โดยคนในพื้นที่ ได้แสดงความกังขาว่ามี RKK เข้ามามอบตัวด้วย แต่กลับถูกปล่อยตัวไปทั้งหมด ขณะที่ จ. ยะลามี RKK ระดับปฏิบัติการเข้ามอบตัว ๑ คน และ จ. นราธิวาส มีแนวร่วมและ RKK เข้ามอบตัวอีก ๒๒ คน เมื่อ ๑๕ มี.ค.๕๔ กลุ่มแนวร่วมและ RKK ในอำเภอทุ่งยาง แดง จ.ปัตตานี รวม ๓๐ คนได้เข้าแสดงตัวต่อ นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายประมุข ลมุล รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ร่วมรับการรายงานตัว ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดปัตตานี เมื่อ ๑๙ มี.ค.๕๔ นายฮาเซ็ม ตาเย๊ะ อายุ ๓๓ ปี จากต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ซึ่งมีหมายจับในคดีร่วมกับพวกที่กำลังหลบหนีร่วมกันลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์อาคารแฟลตตำรวจ สภ.ศรีสาคร เมื่อ ๗ มี.ค.๕๔ ได้เข้ามอบตัวกับพ.ต.อ.ไมตรี ฉิมเฉิด ผกก.กลุ่มงานสืบสวนสอบสวน ตำรวจภูธร จ.นราธิวาสตัวที่ห้องประชุม บก.ภ.จว.นราธิวาส เมื่อ ๒๔ มี.ค.๕๔ นายอิบรอเฮง หะยีมามะ อายุ ๓๔ ปี ที่อยู่ ๑๐๐ ม. ๙ ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยตามหมายจับ ป.วิ อาญา ในคดีความมั่นคง จำนวน ๕ หมายจับ ได้เข้ามอบตัวที่สถานีตำรวจภูธรบันนังสตา จ.ยะลา เมื่อ ๒๔ มี.ค.๕๔ กลุ่มแนวร่วมและ RKK ซึ่งมีหมายจับคดีความมั่นคง จำนวน ๒๑ คน ทยอยเข้ารายงานตัวกับนายธนน เวชกรกานน์ ผวจ.นราธิวาสและนายเจษฏา จิตรัตน์ นอภ.บาเจาะ ที่หน้าสำนักงานที่ว่าการ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

การตรวจค้นและจับกุม
            สำหรับการตรวจค้น จับกุม พบว่าถี่ขึ้นในช่วงเวลาปลาย มี.ค.๕๔ อย่างผิดปกติซึ่งน่าจะเป็นผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การก่อเหตุลดลง แม้ว่าการตรวจค้นและจับกุมใน จ.ปัตตานี บางกรณีเป็นการสร้างภาพเพื่อลดกระแสกดดันของสาธารณชน ในลักษณะจับเช้าปล่อยเย็นก็ตาม ทั้งนี้ จากการตรวจค้นและจับกุมซึ่งเท่าที่ตรวจสอบได้จำนวน ๑๗ ครั้งนั้น การตรวจค้นและจับกุมที่ดูน่าจะจริงจัง อาทิ
            เมื่อ ๑๑ มี.ค.๕๔ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ ๔๑ ตรวจค้นที่บ้านเลขที่ ๑๑๓ บ้านกูแบบาเดาะ หมู่ ๔ ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี และสามารถจับกุม นายอพันธ์ดี กะโด ผู้ต้องหามี หมายจับได้ตัวให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
            เมื่อ ๑๒ มี.ค. ๕๔ กำลังกรมทหารพรานที่ ๔๖ และฉก.นราธิวาส ๓๗ ตรวจค้นบ้านพัก จำนวน ๒ หลัง ที่หมู่บ้านไอร์กือเดร์ ม.๔ ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร และสามารถตรวจยึดของกลางเกือบ ๑๐๐ รายการซุกซ่อนอยู่ เช่น ระเบิดปิงปอง หมวกไหมพรม เสื้อลายพราง เปลสนาม โทรศัพท์มือถือ ยา ข้าวสารอาหารแห้ง อุปกรณ์ประกอบระเบิด
           เมื่อ ๑๘ มี.ค.๕๔ หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ ๑๔ ปิดล้อมพื้นที่เป้าหมายที่หมู่ ๓ บ้านกียา ต.ละแอ อ.ยะหา จ.ยะลา และสามารถวิสามมัญนายมะรูดิง เป๊าะแต อายุ ๓๘ ปี แกนนำแนวร่วมมีหมายจับได้ เมื่อ ๑๙ มี.ค.๕๔ ทหารพรานยะลาเข้าปิดล้อมบ้านต้องสงสัยในพื้นที่หมู่ที่ ๓ บ.ตะโล๊ะ ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา และสามารถวิสามัญคนร้ายได้ ๒ ศพ และตรวจยึดอาวุธ M- ๑๖ จำนวน ๓ กระบอก พร้อมกระสุนจำนวนมาก
            ๒๕ มี.ค.๕๔ การจับกุม นายมะรอดี บาเหะ อายุ ๒๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๗ หมู่ ๓ ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดปัตตานี ๒ คดี ซึ่งกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา นำมาแถลงผล เมื่อ ๒๕ มี.ค.๕๔

ภาพลักษณ์ทหารถดถอยลงอย่างมากในสายตาคนไทยพุทธ
            การที่ทหารไม่กล้าตอบโต้แม้จะเห็นการล่าสังหารคนไทยพุทธต่อหน้า ทำให้ประชาชนไทยพุทธเริ่มหมดศรัทธาทหารเช่นเดียวกับอิสลามแล้ว ปฏิกิริยาต่อต้านทหารที่ชัดเจน พบในพื้นที่วิกฤติและกำลังจะวิกฤติ ที่ อ.ยะรัง อ.ปะนาเระ และ อ.โคกโพธิ์ ซึ่งคนไทยพุทธกำลังมองทหารว่า เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ไร้ค่าและสร้างปัญหาให้สังคม โดยเฉพาะวัดที่ทหารไปตั้งฐานอยู่ถูกมองว่ากลายเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่นหนุ่มสาว