สถานการณ์ ๓ + ๑ จชต.
๑ - ๓๐ มิ.ย.๕๕

         การเคลื่อนไหวใน ๓+๑ จชต.ที่น่าสนใจในช่วงเวลารายงาน น่าจะเป็นประเด็นการก่อเหตุซึ่งมีลักษณะของการโหมก่อเหตุเพื่อเพิ่มสถิติที่ลดลงอย่างชัดเจนใน พ.ค.๕๕ และแม้ว่าจะมีการก่อเหตุต่อ hard targets เพื่อแสดงความคงอยู่และศักยภาพของผู้ก่อเหตุ แต่ก็มีจำนวนเพียง ๑๔ เหตุการณ์ จากการก่อเหตุทั้งหมดเท่าที่รวบรวมได้ ๘๔ เหตุการณ์ อีกทั้งลักษณะการก่อเหตุต่อ hard targets เกือบทั้งหมดยังเป็นวิธีที่ง่ายๆและหลีกเลี่ยงการปะทะ คือการลอบยิง M ๗๙ ใส่ฐาน จุดตรวจ หรือสถานีตำรวจ และการลอบวางระเบิดตามถนน อย่างไรก็ตามสิ่งที่พึงตระหนักและเร่งแก้ไข คือการที่แนวร่วมแต่งกายคล้ายทหารตั้งด่านตรวจเพื่อเลือกสังหารไทยพุทธ ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๕๕ ที่ถนนสาย ๔๐ ๗๔ สามแยก บ.มะแนดาแล ม.๒ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตถึง ๓ ราย และความพยายามขับไล่ไทยพุทธทางอ้อมด้วยการกำจัดพระสงฆ์ ซึ่งยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดคือการลอบวางระเบิดจนพระสงค์บาดเจ็บ ๒ รูป ที่ปากซอยจรูญสำราญ ๖ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ ๙ มิ.ย.๕๕
         ทั้งนี้ พื้นที่ซึ่งมีการก่อเหตุมากที่สุด คือ จ.ปัตตานี จำนวน ๔๑ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๒๒ เหตุการณ์ และ จ.ยะลา ๒๑ เหตุการณ์ ส่วน ๔ อำเภอของ จ. สงขลาไม่มีรายงานการก่อเหตุ โดยไทยพุทธเสียชีวิตและบาดเจ็บ ๗๐ ราย อิสลาม ๔๖ ราย
         สำหรับแกนนำแนวร่วมและsympathizers ในช่วงรายงานไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวที่สำคัญ เนื่องจากองค์กรเอกชนอิสลามไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอ้างสิทธิมนุษยชนหรือสื่อ ต่างก็กำลังมุ่งสนใจในการต่อรองและแย่งชิงเงินเยี่ยวยาเป็นสำคัญ นอกจากการกระทบกระทั่งกันระหว่างนักศึกษาและทหารอันเป็นผลมาจากการเข้าตรวจค้นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาที่ ซอยศรีปุตรา บ้านตลาดเก่า ต.สะเตง อ.เมืองยะลา เมื่อ ๓๑ พ.ค. ๕๕ เท่านั้น ขณะที่บรรดานักการเมืองก็มุ่งอยู่กับการเฝ้าจับทิศทางการเมืองซึ่งอยู่ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการเกิดศึกระหว่างสีซึ่งดูเหมือนว่าจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
         แนวโน้มสถานการณ์  ยังคงยืนยันว่า หากไม่มีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น เชื่อว่าการก่อเหตุก็จะยังคงมีอยู่ต่อไปในลักษณะนี้ ทั้งนี้ความรุนแรง/ความสูญเสียจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงของแต่ละฝ่ายขึ้นอยู่กับ “การจัดการ”ของ“คนในพื้นที่” ในการที่จะเอาตัวเองรอดให้ได้ ตามภูมิปัญญาของแต่ละคน และจิตสำนึกของ จนท. เท่านั้น ปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นมาตรการใหม่ทั้งของรัฐบาล หรือหน่วยงานความมั่นคงซึ่งทำตามหน้าที่ไม่ใช่ด้วยจิตสำนึกและความตระหนัก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อครรลองที่กำลังจะเป็นไป แต่อย่างใด

สถิติและนัยการก่อเหตุ
          การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๐ มิ.ย.๕๕ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๘๔ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นจาก ๕๓ เหตุการณ์ของช่วงเดียวกันของ พ.ค.๕๕ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ซึ่งมีผู้ว่าชื่อว่า ‘ฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต’ และจะเกษียณอายุใน ก.ย.๕๕ ยังคงมีการก่อเหตุสูงสุด ๔๑ เหตุการณ์ โดย อ.ยะรังซึ่งเป็นพื้นที่กึ่งกลางของจังหวัดและมีไทยพุทธจำนวนน้อย มีการก่อเหตุสูงสุด ๙ เหตุการณ์ โดยเกือบทั้งหมดเป็นการยิง M ๗๙ ใส่ฐานและจุดตรวจของทหาร รองลงมาคือ อ.เมือง ๘ เหตุการณ์ หากส่วนใหญ่เป็นการก่อกวน แต่มีการลอบวางระเบิดพระสงฆ์ ๑ เหตุการณ์ ส่วน อ.กะพ้อซึ่งมีการก่อเหตุ ๕ เหตุการณ์นั้น มีการก่อเหตุที่ท้าท้ายและเหี้ยม โหด ๑ เหตุการณ์คือการตั้งด่านและจ่อยิงเป้าหมายจนเสียชีวิต ขณะที่ อ.ยะหริ่ง อ.มายอ และ อ.หนองจิก มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ จ.นราธิวาส มีการก่อเหตุรวม ๒๒ เหตุการณ์ โดย อ.ยี่งอ มีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง ๓ เหตุการณ์ ส่วน อ.สุคิริน อ.สุไหงปาดี อ.ศรีสาคร อ.รือเสาะ อ.จะแนะ และ มีการก่อเหตุ พื้นที่ละ ๒ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา ซึ่งมีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๒๑ เหตุการณ์ โดย อ.รามัน มีการก่อเหตุมากที่สุด ๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.เมือง และ อ.กรงปินัง มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ส่วน สำหรับ ๔ อำเภอของ จ.สงขลา ไม่มีรายงานการก่อเหตุ ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๘๔ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๕๐ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การลอบวางระเบิด ๑๔ เหตุการณ์ การยิง/ขว้างระเบิด/กราดยิงฐาน/ที่มั่น ๖ เหตุการณ์ การเผา ๕ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๙ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธ(ทั้งชาวบ้านและจนท.)มีการสูญเสีย ๗๐ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๑๙ ราย และบาดเจ็บ ๕๑ ราย ซึ่งในจำนวนผู้บาดเจ็บรวมพระสงฆ์ ๒ รูป ด้วย ขณะที่อิสลามมีการสูญเสียรวม ๔๖ ราย โดยแยกเป็นการเสียชีวิต ๒๕ ราย และบาดเจ็บ ๒๑ ราย ทั้งนี้ไม่นับรวมผู้เสียชีวิต ๒ ราย ที่ไม่สามารถระบุเชื้อชาติและศาสนาได้

ข้อพิจารณา
          การก่อเหตุมีลักษณะของการเร่งเพิ่มสถิติเพื่อชดเชยกับสถิติที่ลดลงอย่างผิดสังเกตุ ใน พ.ค.๕๕ และการแสดงความคงอยู่และศักยภาพอย่างง่ายๆและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อันตรายมากและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยที่ยังไม่มีการแก้ปัญหา ทำให้ปล่อยให้ชาวบ้านไทยพุทธต้องเผชิญชตากรรมอยู่ตามลำพังคือการตั้งด่านตรวจล่าคนไทยพุทธของบรรดาแนวร่วม
          ๑. การก่อเหตุมีลักษณะของการเร่งเพิ่มสถิติเพื่อชดเชยกับสถิติที่ลดลงอย่างผิดสังเกตุ ใน พ.ค.๕๕ ดังจะเห็นได้จากการมีการก่อกวนด้วยการเผาตู้โทรศัพท์ เสาสัญญานโทรศัพท์ ยางรถยนต์ โรงเรียน รถยนต์ บ้านร้าง ถึง ๑๔ เหตุการณ์ ซึ่งการก่อเหตุในลักษณะนี้เกือบทั้งหมดเกิดใน จ.
          ๒. การก่อเหตุมีลักษณะของความต้องการที่จะแสดงให้เห็นว่าโจรยังมีศักยภาพ ด้วยการก่อเหตุกับ hard targets อย่างง่ายๆและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า คือการใช้ M ๗๙ ยิงใส่ฐาน จุดตรวจ สถานีตำรวจ และการลอบวางระเบิดเส้นทางผ่าน หรือจุดพักของชุด ลว.ทหาร ซึ่งมีจำนวน ๑๔ เหตุการณ์ ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียง ๒ เหตุการณ์ เท่านั้น ที่แนวร่วมเข้าใกล้ทหาร คือการไล่ตามรถเจ้าหน้าที่ทหารพรานร้อย ร. ๒๒๐๘ และขว้างระเบิดเข้าใส่รถที่ บริเวณสามแยกบ้านปรีกี ม.๓ ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เมื่อ ๑๘ มิ.ย.๕๕ และการลอบจุดชนวนระเบิดจนระเบิดแล้วจึงใข้อาวุธปืนสงครามยิงใส่ จนท.ทหาร ร้อย ร.๑๕๒๑๑ บนถนนสายรามัน-ท่าธง บ.ตลาดล่าง ม.๖ ต.กายูบอเกาะ อ.รามัน จ.ยะลา ในวันเดียวกัน
          ๓. การก่อเหตุในลักษณะของการรุกไล่ไทยพุทธทางอ้อมด้วยการกำจัดพระสงฆ์ เกิดขึ้น ๑ เหตุการณ์ คือการลอบวางระเบิดพระสงฆ์ จากวัดขจรประชาราม ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ขณะบิณฑบาตรบริเวณถนนปากซอยจรูญสำราญ ๖ ต.รูสะมิแล ส่งผลให้พระสงฆ์ จนท.ตร.คุ้มครองความปลอดภัยพระสงฆ์ และประชาชน ได้รับบาดเจ็บ ๗ ราย เมื่อ ๙ มิ.ย.๕๕
          ๔. การกระทำต่อเป้าหมายอิสลามยังมีลักษณะของความขัดแย้งส่วนตัวและธุรกิจผิดกม.อยู่หลายเหตุการณ์ ดังเช่น กรณีของนายฮาซานันท์ เจ๊ะและ ซึ่งถูกจ่อยิงขณะกำลังนั่งชมการแข่งขันฟุตบอล บริเวณสนามฟุตบอล บ.บือซู ม.๖ ต./อ.บันนังสตา จ.ยะลา จนเสียชีวิต เมื่อ ๖ มิ.ย.๕๕ กรณี การยิงนายอาชิ มะแด เสียชีวิต ขณะกำลังนั่งดื่มน้ำชาอยู่ที่ร้าน ม.๓ ต.พ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เมื่อ ๙ มิ.ย.๕๕ หรือ กรณี การยิงนายฮาดี ฮาแว เสียชีวิตขณะนั่งอยู่ในบ้านที่ หมู่ ๖ ต.ปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๕๕
          ๕. การกระทำต่อเป้าหมายไทยพุทธมีลักษณะของการสังหารหมู่ ทั้งเป้าหมายทหารและชาวบ้านไทยพุทธ สำหรับตัวอย่างความพยายามสังหารหมู่ชาวบ้านไทยพุทธ อาทิ กรณีคนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามยิงถล่มบ้านเลขที่ ๑๕ ซึ่งตั้งอยู่หน้าโรงเรียนประชานุเคราะห์ เขตเทศบาลตำบลปะลุรู อ.สุไหงปาดี มีผู้เสียชีวิต ๒ ราย ได้แก่ นายสุชาติ ชัยสุวรรณ อายุ ๔๕ ปี ซึ่งเป็นยามโรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี และ น.ส.จรุณี สุขพิน อายุ ๒๙ ปี ส่วนผู้บาดเจ็บ ๕ ราย ได้แก่ อส.มนัส สายเสมา อายุ ๔๖ ปี อส.สมหมาย สุขพิน อายุ ๓๐ ปี อส.อนันต์ กมล อายุ ๒ ๗ ปี นายไพบูลย์ แก้วหาญ อายุ ๔๖ ปีเจ้าของบ้าน และ นายอรัญ กมล อายุ ๒๙ ปี เมื่อ ๗ มิ.ย.๕๕ กรณี คนร้ายกราดยิงไทยพุทธ ๖ คน ทำให้นายสุวรรณ รัตนมณี อายุ ๕๑ ปี เสียชีวิต ขณะที่นายอาภรณ์ ช่วยบุญชู อายุ ๕ ๗ ปี นายสถาพร มงคลบวร อายุ ๔๘ ปี บาดเจ็บ ขณะนั่งอยู่ที่ศาลา ซ.สุไลมาน ๔ ม.๑๐ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๘ มิ.ย.๕๕ หรือกรณีคนร้ายกราดยิงไทยพุทธ ๗ คน ขณะนั่งรับประทานอาหารบริเวณหน้าบ้านเลขที่ ๔๑ ม.๒ ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทำให้ไทยพุธเสียชีวิต ๒ ราย คือ นายสุชาติ ชัยสุวรรณ อายุ ๔๕ ปี และ นางจารุณี สุทิน อายุ ๒๘ ปี ส่วนผู้ที่บาดเจ็บ ๓ คน ได้แก่ อส.มนัส สายเสมา อายุ ๔๖ ปี อส.อนันท์ กมล อายุ ๒๕ ปี อส.สมหมาย สุทิน อายุ ๓๐ ปี นายอารัญ กมล อายุ ๒๙ ปี นายไพบูลย์ แก้วหาญ อายุ ๔๖ ปี บาดเจ็บ เมื่อ ๖ มิ.ย.๕๕

ข้อพึงตระหนัก
          สิ่งที่อันตรายที่สุดที่ต้องตระหนัก คือการแต่งชุดทหารตั้งด่านตรวจในการกำจัดไทยพุทธ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่ค่อยเป็นข่าวเนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีการตายเกิดขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนขับรถอิสลามได้ขอร้องไว้บ้าง หรือแนวร่วมเพียงแต่ทำร้ายและยึครถไปเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อ ๒๕ มิ.ย.๕๕ จึงเกิดเป็นข่าว เนื่องจากได้เกิดการฆ่าขึ้นแล้ว ได้แก่ เหตุการณ์ที่แนวร่วม ๖ คน แต่งชุดทหารออกมาตั้งด่านล่าไทยพุทธที่บนถนนสาย ๔๐ ๗๔ สามแยก บ.มะแนดาแล ม.๒ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี และได้สะกัดรถของนายวันชัย นาประสิน อายุ ๑ ๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๖๒/๘ ม.๖ ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา นายชัยชาญ อาดำ อายุ ๓๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๖ ม.๖ ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา และนายอิสมาแอล แดงคง อายุ ๒๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๓๑๘/๓ ม.๖ ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ให้หยุด จากนั้นคนร้ายได้ให้ทั้ง ๓ ลงจากรถ และนอนหมอบกับพื้นก่อนจะใช้อาวุธปืนสงครามยิงศีรษะจนทั้งหมดเสียชีวิตคาที่ทั้ง ๓ คน

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมและsympathizers
         ในช่วงรายงานไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวที่สำคัญ เนื่องจากองค์กรเอกชนอิสลามไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอ้างสิทธิมนุษยชนหรือสื่อ ต่างก็กำลังมุ่งสนใจในการต่อรองและแย่งชิงเงินเยี่ยวยาเป็นสำคัญ นอกจากการกระทบกระทั่งกันระหว่างนักศึกษาและทหารอันเป็นผลมาจากการเข้าตรวจค้นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาที่ ซอยศรีปุตรา บ้านตลาดเก่า ต.สะเตง อ.เมืองยะลา เมื่อ ๓๑ พ.ค. ๕๕ เท่านั้น ขณะที่บรรดานักการเมืองก็มุ่งอยู่กับการเฝ้าจับทิศทางการเมืองซึ่งอยู่ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการเกิดศึกระหว่างสี
         สื่อสำนักข่าวอิศรา ในช่วงรายงานกำลังมุ่งเสนอบทความกดดันให้รัฐบาลจ่ายเงินเยี่ยวยาให้กับมลายูอิสลามอย่างต่อเนื่อง อาทิ บทความหลากทัศนะ พ.ร.บ.ปรองดอง...เหยื่อคดีใต้อยากได้ "นิรโทษกรรม" เหมือนม็อบการเมือง เมื่อ ๑ มิ.ย.๕๕ บทความรัฐแจงหลักเกณฑ์จ่ายเยียวยาไฟใต้ แย้ม "ตากใบ-คนหาย-สะบ้าย้อย" มีลุ้น ๗.๕ ล้าน! เมื่อ ๑๐ มิ.ย.๕๕ บทความเปิดมติเยียวยาใต้ "สะบ้าย้อย-ตากใบ" ๗.๕ ล้าน กรือเซะ ๔ ล้าน ตายรายวัน ๕ แสน เมื่อ ๑๑ มิ.ย.๕๕ อีกครั้งกับม็อบนักศึกษา...อีกครั้งกับปัญหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ …..๔ มิ.ย.๒๕๕๕ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชฏักยะลาทั้งหญิงและชายราว ๒๐๐ คน รวมตัวชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมและยื่นจดหมายเปิดผนึกให้กับ พ.ท.พิเชษฐ ติเดโช ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา ๑๑ สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ ๓๑ พ.ค.๒๕๕๕ กำลังทหารหน่วยเฉพาะกิจยะลา ๑๑ ได้เข้าปิดล้อมจับกุมนักศึกษาที่บ้านเลขที่ ๘๑/๑๑ ซอยศรีปุตรา บ้านตลาดเก่า ต.สะเตง อ.เมืองยะลา…..(สำนักข่าวอิศรา ๑๙ มิ.ย.๕๕)

การเคลื่อนไหวซื้อใจมลายูอิสลามของรัฐ
          ศอ.บต.สั่งทบทวนเยียวยากรือเซะ-เบรคเข้า ครม…….ศอ.บต.สั่ง เบรคเยียวยาไฟใต้เข้า ครม. ชงตั้งคณะทำงานร่วมถกกันใหม่ หลังครอบครัวเหยื่อกรือเซะกว่า ๖๐ ชีวิตรวมตัวอ่านแถลงการณ์คัดค้านได้เงินเยียวยาแค่ ๔ ล้านไม่เป็นธรรม ระบุเหตุการณ์เดียวกันที่สะบ้าย้อยได้ ๗.๕ ล้าน พร้อมเปิดข้อมูลคนตายส่วนใหญ่เป็นเยาวชนกับคนชรา………..(สำนักข่าวอิศรา ๑๘ มิ.ย.๕๕)

การเคลื่อนไหวของผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ๓ จชต.
          ......ครูใต้ฮือบุก ศอ.บต.พรุ่งนี้จี้เยียวยา …… ด้านปัญหาการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่จบ โดยล่าสุดแกนนำครูในพื้นที่ได้นัดรวมตัวกันประมาณ ๕๐๐ คน เตรียมยื่นหนังสือถึงศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในวันที่ ๒๘ มิ.ย.นี้ เพื่อให้เร่งพิจารณาช่วยเหลือเยียวยาครูที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม ภายหลังคณะกรรมการเยียวยาฯที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธน ได้อนุมัติช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบล็อตแรกไปแล้ว ๔ กลุ่ม ๕ กรณี แต่ไม่มีกลุ่มข้าราชการครู......(สำนักข่าวอิศรา ๒๖ มิ.ย.๕๕)

                                              ....................................................