สรุปสถานการณ์ใน ๓ + ๑จชต.
๑ - ๓๑ ม.ค.๕๕

           ในช่วงทุกต้นปี บรรดากลุ่มองค์กรเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำมาหากินกับความรุนแรงใน ๓ จชต. จะโหมจัดการประชุม สัมมนา รวมตัวก่อม๊อบ และยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อรักษาบทบาทและทดสอบท่าทีของรัฐบาล ซึ่งในต้นปี ๒๕๕๕ ก็เช่นกัน โดยกลุ่มค้าความรุนแรงใน ๓ จชต. ได้มีการจัดประชุม สัมมนา และฉวยโอกาสเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำเลย/เหยื่อตามปกติ ทั้งนี้กลุ่มองค์กรที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเดิมๆ ที่มีประเด็นหลักในการเรียกร้องเดิมๆ คือ ขอแยก ๓+๑ จชต. ออกไปปกครองกันเองตามวิถีของคนส่วนใหญ่ และการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อันเป็นอุปสรรคสำคัญในการจำกัดความเคลื่อนไหวของแนวร่วม รวมทั้งการถอนทหารนอกพื้นที่ออกจาก ๓+๑ จชต. เนื่องจากเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การรื้อฟื้นรัฐปัตตานีล่าช้าออกไป กลุ่มองค์กรเอกชนดังกล่าว อาทิ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันพระปกเกล้า สมัชชาปฏิรูป ขณะที่กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ซึ่งผลักดันตัวขึ้นมาเป็นที่รับรู้ของสังคมด้วยการนำศาสนามาเป็นเครื่องมือในการปลุกเร้าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติและศาสนา ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๔ ยังคงมุ่งเป้าใช้ ร.ร.มัธยมวัดหนองจอกป็นเครื่องมือ/เหยื่อ ซึ่งในช่วงรายงานได้มีการโหมเคลื่อนไหวเพิ่ม rating อย่างหนัก ผ่าน video clip สื่อไทยแลนด์นิวส์ฯ กลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นชายฉกรรจ์ที่อยู่ในพื้นที่หนองจอก ซึ่งมีทั้งการถือป้ายไปตามถนน แจกจ่าย clip video/เอกสารปลุกระดม และการก่อ ม๊อบเพื่อกดดันให้โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกยอมรับความเหนือกว่าของศาสนาอิสลามด้วยการยอมให้เด็กอิสลามที่แต่งกายผิดระเบียบของ ร.ร. เข้าเรียนได้ และที่น่าวิตก ได้แก่ เหตุการณ์ซึ่งมีอิสลามเสียชีวิตและบาดเจ็บที่ ม.๑ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ กำลังกลายเป็นเหยื่ออันโอชะให้กลุ่มองค์กรเอกชน บางกลุ่ม เข้ามารุมทึ้งแสวงประโยชน์สร้างคะแนนนิยม ด้วยการเข้าไปสนับสนุนให้ชาวบ้านมลายูอิสลามเรียกร้องค่าชดเชย ปลุกกระแสชาตินิยมมลายูอิสลาม กระตุ้นและฝังความเกลียดชังทหารให้แก่มลายูอิสลาม เพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวกดดันให้มีการถอนทหารออกจาก ๓ จชต.ที่มีความชอบธรรมมากขึ้น ส่วนการก่อเหตุใน ๓ +๑ จชต. ในช่วงรายงานมีลักษณะลดลงทั้งสถิติและความฮึกเหิม ต่อเนื่องจาก ต.ค.๕๔ เหลือเพียงความพยายามรักษาภาพลักษณ์ของพื้นที่ที่มีความรุนแรงเอาไว้ เท่านั้น ทั้งนี้ การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ม.ค.๕๕ ซึ่งเท่าที่รวบรวมได้มีการก่อเหตุรวม ๔๙ เหตุการณ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อเหตุต่อ soft target จำนวน ๔๑ เหตุการณ์ จากการก่อเหตุทั้งหมด และเป็นการก่อเหตุกับเป้าหมายอิสลามสูงกว่าไทยพุทธเป็นครั้งแรกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อันเป็นผลให้ไทยพุทธสูญเสียต่ำกว่าอิสลามเป็นครั้งแรกในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเช่นกัน โดย จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุสูงสุด ๒๓ เหตุการณ์ รองลงมาคือ จ.นราธิวาส ๑๖ เหตุการณ์ จ.ยะลา ๘ เหตุการณ์ และ ๔ อำเภอ จ.สงขลา ๒ เหตุการณ์

แนวโน้มของสถานการณ์
          หากไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น การขับเคลื่อนในสภาวะที่การบริหารประเทศของรัฐบาลยังคงเป็นไปในลักษณะของ“เด็กเล่นขายของ” เช่นนี้ เชื่อว่าสถานการณ์ใน ๓+๑ จชต. ก็จะยังคงเป็นไปตามยะถากรรมและตามสัญชาตญานของการเอาตัวรอด รวมทั้งการฉกฉวยโอกาสของผู้ที่มีพลังเหนือกว่าเช่นเดิม โดยการก่อเหตุน่าจะทรงตัวในแนวโน้มที่ลดลงจาก ธ.ค.๕๔ และในลักษณะของการรักษาสถานภาพของพื้นที่ที่มีความไม่สงบ หากจะมีการโหมก่อเหตุเป็นช่วงๆเมื่อพร้อมหรือในช่วงของวันสัญญลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ศรัทธาและภาพลักษณ์ของแนวร่วมกำลังเสื่อมถอยจากการเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งการก่อเหตุที่ลดความถี่ลงอย่างต่อเนื่อง ก็ปรากฏเหตุการยิง M๗๙ ใส่ฐานทหารพรานจังหวัดปัตตานี ซึ่งมี ฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต/ธีระ มินทรศ้กดิ์ เป็น ผวจ. เพื่อหลอกล่อให้ทหารพรานออกไล่ล่าคนร้าย และมีมลายูอิสลามชายเสียชีวิตและบาดเจ็บ จะทำให้สถานการณ์ที่กำลังลื่นไหลไปตามคัลลองดังกล่าวข้างต้นต้องสะดุดลง จากความหวาดระแวงระหว่างทหารกับชาวบ้านที่จะถูกปลุก/ชี้นำ โดยกลุ่มองค์กรเอกชนที่หากินกับความเป็นมลายูอิสลาม ดังนั้นจึงต้องพึงรับมือกับการเคลื่อนไหวเรียกร้อง/กดดันให้มีการถอนทหารซึ่งน่าจะแรงขึ้น

การเคลื่อนไหวของแนวร่วมและ sympathizer
           บรรดากลุ่มองค์กรเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำมาหากินกับความรุนแรงใน ๓ จชต. กำลังโหมจัดการประชุม สัมมนา รวมตัวก่อม๊อบ และยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อรักษาบทบาท และทดสอบท่าทีของรัฐบาล โดยกลุ่มค้าความรุนแรงใน ๓ จชต. ได้มีการจัดประชุม สัมมนา และฉวยโอกาสเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นจำเลย/เหยื่อ ทั้งนี้กลุ่มองค์กรที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเดิมๆ ที่มีประเด็นหลักในการเรียกร้องเดิมๆ คือ ขอแยก ๓+๑ จชต. ออกไปปกครองกันเองตามวิถีของคนส่วนใหญ่ และการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อันเป็นอุปสรรคสำคัญในการจำกัดความเคลื่อนไหวของแนวร่วม รวมทั้งการถอนทหารนอกพื้นที่ออกจาก ๓+๑ จชต. เนื่องจากเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การรื้อฟื้นรัฐปัตตานีล่าช้าออกไป กลุ่มองค์กรดังกล่าว และที่น่าวิตก ได้แก่ เหตุการณ์ซึ่งมีอิสลามเสียชีวิตและบาดเจ็บที่ ม.๑ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ กำลังกลายเป็นเหยื่ออันโอชะให้กลุ่มองค์กรเอกชน บางกลุ่ม เข้ามารุมทึ้งแสวงประโยชน์สร้างคะแนนนิยม ด้วยการเข้าไปสนับสนุนให้ชาวบ้านมลายูอิสลามเรียกร้องค่าชดเชย ปลุกกระแสชาตินิยมมลายูอิสลาม กระตุ้นและฝังความเกลียดชังทหารให้แก่มลายูอิสลาม เพื่อนำไปสู่การเคลื่อนไหวกดดันให้มีการถอนทหารออกจาก ๓ จชต.ที่มีความชอบธรรมมากขึ้น
           ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และ สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันจัดเวทีเสวนา "๘ ปีไฟใต้: บทเรียนและทางออก" เมื่อวันที่ ๔ ม.ค.๕๕ ที่ห้องประชุมอรุณสวัสดิ์ เทศบาลนครยะลา โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นองค์กรสนับสนุน เพื่อสรุปว่าเจ้าหน้าที่เป็นสร้างเงื่อนไข และต้องการให้"อาเซียน" เข้ามาเป็นผู้แก้ปัญหา ......เป็น ๘ ปีแห่งความรุนแรงรอบใหม่ที่เริ่มนับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนจากกองพันพัฒนา ที่ ๔ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ บ้านปิเหล็งใต้ ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ ๔ ม.ค.๒๕๔๗ เป็นเหตุให้ทหารถูกสังหาร ๔ นาย และปืนถูกปล้นไปมากมายถึง ๔๑๓ กระบอก!
            เสียงจากเวทีที่ประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้นำศาสนา ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำครูภาครัฐ ครูปอเนาะ ตำรวจ ทหาร และองค์กรภาคประชาสังคม ชัดเจนว่าการแก้ปัญหาภาคใต้ตลอด ๘ ปีที่ผ่านมายังอยู่ในภาวะ "พายเรือวนในอ่าง" เพราะ ๓ ประเด็นที่สรุปได้จากเวทีล้วนเป็นดัชนีชี้วัดว่าปฏิบัติการของภาครัฐโดย เฉพาะฝ่ายความมั่นคงยังมิอาจ "ได้ใจประชาชน" ในสงคราม ณ ปลายสุดด้ามขวานที่เชื่อกันว่าเป็น "สงครามแย่งชิงมวลชน" ครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยนับตั้งแต่สงครามต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์เป็นต้นมา สามประเด็นที่ว่าก็คือ
           ๑. ภาครัฐและเจ้าหน้าที่รัฐยังคงถูกมองในแง่ลบจากประชาชนในพื้นที่ ยังถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่สร้างเงื่อนไข
           ๒. ประชาชนมองว่ามีผลประโยชน์เกิดขึ้นมากมายและมีการทุจริตประพฤติมิชอบ แสวงประโยชน์จากเม็ดเงินงบประมาณที่ถูกทุ่มเทลงมา
           ๓. ความรุนแรงยังคงอยู่ ยังมีคนเสียชีวิตทุกวันไม่ต่างอะไรกับใบไม้ร่วง
           ข้อเสนอจากเวทีเพื่อดับไฟใต้ให้ได้อย่างยั่งยืนซึ่งได้จากการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อขมวดประเด็นให้ชัดเจน มีอยู่ ๓ มิติ คือ
           ๑. ภาพของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคต ต้องมีความยุติธรรม ความเสมอภาค จัดหลักสูตรการศึกษาและการปกครองให้สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ การสรรหาผู้นำในระดับท้องถิ่นต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้ได้คนดีเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน พร้อมทั้งเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนนำปัญหามาพูดคุยกัน ขณะเดียวกันภาครัฐต้องเร่งกวาดล้างปัญหาสังคมที่ซ้อนทับอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด น้ำมันเถื่อน สินค้าเถื่อน สถานบริการ การค้าประเวณี และแหล่งอบายมุขต่างๆ
           ๒. การพัฒนาการศึกษา ต้องเตรียมพร้อมเรื่องคนและหลักสูตรการศึกษา โดยรูปแบบการศึกษาในพื้นที่ต้องไม่มองจากข้างบนลงมาข้างล่าง แต่ต้องกำหนดจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน ไม่เน้นแค่ใบปริญญา แต่เน้นให้ผู้เรียนสามารถจบออกมาแล้วประกอบอาชีพได้ แต่ต้องสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรับรองวุฒิการศึกษาของปัญญาชนในพื้นที่ ด้วย
           ๓. การเตรียมพร้อมสู่ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ "เออีซี" ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ รัฐต้องเตรียมพร้อมทุกด้านสำหรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ทั้งในแง่การพัฒนาคน ระบบการศึกษา ภาษา และการสร้างจิตสำนึกรักชาติ รับใช้สังคม หวงแหนทรัพยากร เพื่อป้องกันการไหลทะลักของกลุ่มทุนข้ามชาติที่มุ่งเข้ามาหาประโยชน์
           ขณะเดียวกันต้องมีการสื่อสารเชิงบวกมากขึ้น อาจให้มีรายการโทรทัศน์สักช่องหนึ่งรายงานความเป็นไปในเรื่องนี้ ขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาต้องเป็นกลไกสำคัญในการ เผยแพร่ข้อมูลให้กับท้องถิ่น เพราะประชาชนยังรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนน้อยมาก ภาครัฐควรฉวยจังหวะการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสร้างโจทย์ใหม่ๆ ขึ้นในพื้นที่ แล้วแปรนโยบายให้เกิดผลทางปฏิบัติในแง่ของการพัฒนาด้านต่างๆ ให้ครบทุกมิติ (ศูนย์ข่าวอิศรา) สมัชชาปฏิรูป ได้ร่วมกับสภาประชาสังคมชายแดนใต้ จัดเวทีประชาชน "ชายแดนใต้...เราไม่ทอดทิ้งกัน" เมื่อ ๔ ม.ค.๕๕ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เพื่อสรุปว่าปัญหา ๓ จชต. เกิดจากการที่ไม่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารกันเอง
           ....นพ.ประเวศ วะสี ประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป กล่าวผ่านระบบวีดีโอว่า ปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทยคือการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการใช้อำนาจบังคับทั้งในแง่ของกฎหมายและการใช้กำลังของตำรวจ ทหาร โดยคาดหวังว่าจะทำให้ทั้งประเทศเหมือนกันหมด กระบวนการปฏิรูปประเทศใทยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่ชุมชนสามารถจัดการตัวเอง ท้องถิ่นจัดการตัวเอง จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดที่มีภูมิประเทศและวัฒนธรรมใกล้เคียงกันสามารถ จัดการตัวเองได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประชาธิปไตยไม่เป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจกันที่ระดับบน เท่านั้น แต่จะกระจายอำนาจให้กับชุมชนท้องถิ่นได้ดูแลตัวเองด้วย …… (ศูนย์ข่าวอิศ ๗ ม.ค.๕๕)
           …...ขณะที่พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ที่ปรึกษาสภาประชาสังคมชายแดนใต้ หนึ่งในแกนนำรณรงค์เรียกร้องการกระจายอำนาจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยืนยัน ว่า เป็นไปไม่ได้ที่โครงสร้างการเมืองการปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเหมือนกับการปกครองในภาคอื่นๆ เพราะประชากรที่นี่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เพราะฉะนั้นต้องมีรูปแบบที่เป็นของตัวเอง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่
           “รูปแบบปัตตานีมหานคร เกิดจากการรับฟังความคิดเห็นของคน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ ๒,๐๐๐ คน จากประชากรทั้งหมดประมาณ ๒ ล้านคน จึงเป็นเพียงความเห็นของคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุ.ปว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการรูปแบบปัตตานีมหานคร” …..(thailandnewsdarussalam.com ๑๓ ม.ค.๕๕) กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ยังคงมุ่งเป้าใช้ ร.ร.มัธยมวัดหนองจอกป็นเครื่องมือ/เหยื่อในการสร้างความแตกแยกระหว่างคนต่างเชื้อชาติและศาสนารวมทั้งสร้างความเหนือกว่าของศาสนาอิสลามต่อศาสนาพุทธ ซึ่งในช่วงรายงานได้มีการโหมเคลื่อนไหวเพิ่ม rating อย่างหนัก ผ่าน video clip สื่อไทยแลนด์นิวส์ กลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นชายฉกรรจ์ที่อยู่ในพื้นที่หนองจอก ซึ่งมีทั้งการถือป้ายไปตามถนน แจกจ่าย clip video/เอกสารปลุกระดม และการก่อม๊อบเพื่อกดดันให้โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกยอมให้เด็กอิสลามที่แต่งกายผิดระเบียบของ ร.ร. เข้าเรียนได้
            เมื่อ ๓๑ ธ.ค.๕๔ กลุ่มบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นกลุ่มเยาวชนหนองจอกได้นำเอกสารเรียกร้องให้ ร.ร.วัดหนองจอกยอมรับนักเรียนแต่งกายผิดระเบียบของโรงเรียนเข้าเรียนใน โรงเรียนวัดหนองจอกได้ ไปแจกจ่ายให้แก่พ่อค้า-แม่ค้าในตลาดนัดในเขตหนองจอก
            เมื่อ ๖ ม.ค.๕๕ กลุ่มเยาวชนจำนวนหนึ่งได้แจกเอกสาร และถือป้ายปลุกระดมให้ให้ผู้ที่มาร่วมทำพิธีทางศาสนาที่มัสยิดมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย เข้าร่วมในการชุมนุมยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี กดดันให้โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกยอมสยบให้นักเรียนคลุมฮิญาบเข้าเรียนหนังสือในห้องเรียน
            เมื่อ ๑๐ ม.ค.๕๕ กลุ่มมุสลิมเพื่อ สันติและเครือข่าย ๓๐๐ คนได้มาชุมนุมที่ฟุตบาธเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ถนนพิษณุโลก พร้อมออกแถลงการณ์ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ห้ามนักเรียนหญิงคลุมฮิญาบเข้าเรียน พร้อมทั้งได้นำคอนกรีตมวลเบามาก่อกำแพง โดยข่มขู่ว่าจะไม่ทุบกำแพงดังกล่าวจนกว่าอาจารย์โรงเรียนวัดหนองจอกจะยอมนักเรียนหญิงมุสลิมคลุมฮิญาบเข้าเรียนในโรงเรียนวัดแห่งนี้
            สื่อไทยแลนด์นิวส์ฯ เมื่อ ๑ ก.พ. ๕๕ ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่ ม.๑ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕ เพื่อสรุปว่าชาวบ้านที่ได้รับบาดเจ็บคือชาวบ้านผู้บริสุทธิ์
           มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เมื่อ ๑ ก.พ.๕๕ ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในลักษณะโน้มน้าวให้สาธารณชนเห็นว่ารัฐมีแนวโน้มใช้อำนาจคุกคามพยานผู้บริสุทธิ์ ที่อยู่ในเหตุการณ์ ๒๙ ม.ค.๕๕

สถิติและนัยการก่อเหตุ
           การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ม.ค.๕๔ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๔๙ เหตุการณ์ ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงจาก ๕๔ เหตุการณ์ของในช่วงเดียวกันของ ธ.ค.๕๔ ทั้งนี้ จ.ปัตตานี ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการลอบยิงประชาชนทั้งพุทธและอิสลามขณะกำลังเดินทาง มีการก่อเหตุสูงสุด ๒๓ เหตุการณ์ โดย อ.สายบุรี มีการก่อเหตุสูงสุด ๖ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.กะพ้อ และ อ.ยะรัง มีการก่อเหตุพื้นที่ละ ๔ เหตุการณ์ ขณะที่ จ.นราธิวาส ซึ่งส่วนใหญ่ลอบยิงตัวบุคคลโดยเป้าหมายปนกันระหว่างพุทธและอิสลาม มีการก่อเหตุรวม ๑๖ เหตุการณ์ ทั้งนี้ อ.ระแงะมีการก่อเหตุมากที่สุด ๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ อ.รือเสาะ ๓ เหตุการณ์ และ อ.บาเจาะ อ.สุไหงโก ลก อ.ศรีสาคร พื้นที่ละ ๒ เหตุการณ์ ส่วน จ.ยะลา ซึ่งมีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๘ เหตุการณ์นั้น แยกเป็นการลอบวางระเบิด จนท. ๓ เหตุการณ์ และยิงประชาชนซึ่งทั้งหมดเป็นเป้าหมายอิสลาม ๕ เหตุการณ์ สำหรับ ๔ อำเภอของ จ.สงขลา มีรายงานการก่อเหตุ ๒ เหตุการณ์ ที่ อ.สะบ้าย้อย โดยเป้าหมายอยู่ที่ชีวิตและทรัพย์ของไทยพุทธ ทั้งนี้ การก่อเหตุทั้ง ๔๙ เหตุการณ์ แยกเป็นการลอบยิงตัวบุคคล ๓๕ เหตุการณ์ รองลงมาคือ การลอบวางระเบิด ๙ เหตุการณ์ การขว้างระเบิด/กราดยิงฐานและที่มั่นรวมทั้งชุดลาดตระเวน/รปภ.ทหาร ๓ เหตุการณ์ และการก่อกวน ๒ เหตุการณ์ โดยคนไทยพุทธมีการสูญเสีย ๒๕ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๗ ราย และบาดเจ็บ ๑๘ ราย ขณะที่อิสลามมีการสูญเสียรวม ๓๓ ราย แยกเป็นการเสียชีวิต ๒๐ ราย และบาดเจ็บ ๑๓ ราย ทั้งนี้ ไม่นับรวมผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวน ๘ ราย เมื่อ ๒๙ ม.ค.๕๕

ข้อพิจารณา
           ๑. การก่อเหตุในช่วง ๑-๓๑ ม.ค.๕๕ มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากสูงสุดใน ต.ค.๕๔ อีกทั้งการก่อเหตุยังดูเหมือนเป็นความพยายามที่จะรักษาภาพลักษณ์ของการเป็นพื้นที่ความรุนแรง เอาไว้ เท่านั้น อีกทั้งยังลดความฮึกเหิมลง โดยพิจารณาจากเป้าหมายของการก่อเหตุมุ่งอยู่ที่ soft target เป็นหลักถึง ๔๑ เหตุการณ์ จากทั้งหมด ๔๙ เหตุการณ์ ขณะที่การกระทำต่อ hard target ๘ เหตุการณ์ก็มีลักษณะของการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยการลอบวางระเบิด/ยิงระเบิดแล้วหลบหนีไป หรือเข้าซ้ำทีหลัง
           ๒. อย่างไรก็ตาม การก่อเหตุที่กระทำต่อคนไทยพุทธใน จ.ปัตตานี ซึ่งขณะนี้มีฮายีอับดุลกอเดร์ บิน เจ๊ะแต/ธีระ มินทรศ้กดิ์ เป็น ผวจ. ยังคงแสดงออกถึงความโหดและป่าเถื่อน ซึ่งสะท้อนถึงความเกลียดชังเช่นเดิม อาทิ กรณีการไล่ล่ายิงนายสุธน ศรีสุข อายุ ๒๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๔๓/๕ ม.๔ ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา บนถนนสายกลาพอ - อ.ทุ่งยางแดง ม.๑ บ้านมะกอ ต.ปล่องหอย อ.กะพ้อ เมื่อ ๑๑ ม.ค.๕๕ นั้น คนร้าย ยิงนายสุธนจนบาดเจ็บ และไล่ตามยิงจนรถเสียหลักตกข้างทาง จากนั้นจึงเดินเข้าไปไปจ่อยิงซ้ำที่ศีรษะ จนกะโหลกเปิดสมองกระจายไปทั่ว มาตรการซื้อใจอิสลามของหน่วยงานรัฐ
           รัฐบาลยังคงซื้อใจอิสลามอย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่อง โดยในช่วงรายงาน ศอ.บต.เสนอเพิ่มเงินจากงบประมาณแผ่นดินให้กับมัสยิดและผู้นำศาสนา พร้อมๆกับที่ศูนย์ปฎิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) กำลังเร่งรัดฟอกโจรให้เป็นผู้หลงผิด และการรับมอบตัวแนวร่วมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มพลังมวลชน ๕ จังหวัดชายแดนใต้ เข้าโครงการ "ด้ามขวานมั่นคง" เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ที่ ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา กลุ่มพลังมวลชน ทั้งผู้นำศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต ในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๘๐๐ คน ได้เข้าร่วมประชุมอบรม ในโครงการ ด้ามขวานมั่นคง ที่ทางศูนย์ปฎิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) จัดขึ้น เพื่อรณรงค์แนวทางสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง นำประชาชนผู้หลงผิดเข้าร่วมกับทางราชการ...... ทาง ศชต.ก็จะมาคัดหากลุ่มมวลชน .....เพื่อนำมากำหนดนโยบาย การต่อสู้ด้านความคิด ด้านการเมือง ปรับเปลี่ยนความคิดของเยาวชน โดยใช้ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น เป็นหลักในการกำหนดแนวคิดการต่อสู้ โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ ...... กลุ่มนี้จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่เดือนเมษายน ....... (breakingnews.nationchannel.com ๒๙ ม.ค.๕๕) ศอ.บต.ชงงบอุดหนุนมัสยิดละหมื่น เพิ่มค่าตอบแทน “อิหม่าม-คอเต็บ-บิหลั่น” เดือนละ ๓ พัน การประชุมของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ม.ค.๒๕๕๕ ....พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมดังกล่าว ระบุว่า …มีการเสนอให้เงินอุดหนุนแก่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำ จังหวัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมอบเงินให้มัสยิดแห่งละ ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๒,๓๓๔ แห่ง พร้อมเงินสนับสนุนค่าตอบแทนแก่อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ในพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่มขึ้นเป็น ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน……
           อนึ่ง สำหรับการปรับเงินตอบแทนให้กับอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นนั้น ขั้นตอนหลังผ่านความเห็นชอบจาก ศอ.บต.แล้ว จะต้องเสนอเข้าสู่ที่ประชุม กพต. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้) ซึ่งจะประชุมกันครั้งต่อไป (สถาบันอิศรา ๒๗ ม.ค.๕๕)