สรุปสถานการณ์ใน ๓+๑ จชต.

๑ - ๓๐ เม.ย.๕๑

           ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจใน ๓ + ๑ จชต. ใน เม.ย.๕๑ ยังคงได้แก่ การก่อเหตุซึ่งดูเหมือนจะมุ่งเน้นการแสดงศักยภาพที่ จ.ปัตตานี และมีแนวโน้มการก่อเหตุต่อคนไทยพุทธเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก เช่นเดียวกับการก่อเหตุต่อกลไกรัฐอิส
ลามและมัสยิด ในลักษณะชี้นำว่าเป็นการกระทำของทหารและคนไทยพุทธ อย่างไรก็ตาม การตรวจค้นและจับกุมอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ยังคงสามารถสกัดกั้นการก่อเหตุใหญ่พร้อม ๆ กัน และการกลับเข้าพื้นที่ของแนวร่วมได้อยู่ แม้จะมีช่องว่างของการสับเปลี่ยนกำลังทหาร ซึ่งเปิดทางให้แนวร่วมบางกลุ่มกลับเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่ได้บ้าง ก็ตาม
            ผลจากการรุกคืบทางการทหารอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐ ได้กระตุ้นให้ภาคเอกชนต้องเร่งรัดให้รัฐ หนุนการลงทุนของภาคเอกอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องมีการคุ้มครองความปลอดภัย พร้อม ๆ ไปกับหน่วยงานของรัฐด้านอื่น ต่างก็เร่งลงโครงการเพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ และการป้องกันตนเองของประชาชน จนละเลยการตรวจสอบสภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีปัญหาที่แตกต่างกัน ทำให้ผลลัพธ์ของบางโครงการน่าจะกลายเป็นลบ มากกว่าบวกอย่างน่าวิตก ดังนั้น จึงควรมีการติดตามสถานการณ์ และประเมินผลอย่างใกล้ชิด ขณะที่แกนนำแนวร่วม และ sympathizer    ต่างก็ยังคงเร่งหาทางแทรกเข้ามาอยู่ในจุด ที่สามารถคุมวิถีชีวิตและกำหนดสถานการณืใน ๓ + ๑ จชต. ให้ได้ พร้อม ๆ กันการฉวยโอกาสการครบรอบ ๔ ปี ของเหตุการณ์เมษาบ้าคลั่ง ( ๒๘ เม.ย.๔๗) ปลุกเร้าและคงไว้ซึ่งความเจ็บแค้นของมลายูอิสลาม
            สำหรับการเคลื่อนไหวนอกประเทศ พบว่ามาเลเซียมีท่าทีเป็นมิตร ในการร่วมแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในภาคใต้ของไทยมากขึ้น หลังจากบุคคล ๒ สัญชาติของไทยเข้าไปร่วมกับมวลชน ฝ่ายค้านของมาเลเซีย ก่อเหตุประท้วงการเลือกตั้ง ขณะที่ PULO ดูเหมือนว่า จะประสบความสำเร็จในการหลอกล่อให้ไทย ส่งตัวแทนออกไปเจรจาเพื่อยุติปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ของไทย เช่นเดียววกับยคณะกรรมการกลางอิส ลาม จากรัฐสุมาตราเหนือที่สามารถโน้มน้าวให้มีการส่งเยาชนไทยไปเรียนที่อินโดนีเซีย
           แนวโน้มของสถานการณ์หากการตรวจค้นและจับกุมยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าการก่อเหตุน่าจะคงระดับและลักษณะเดิม เนื่องจากกระแสชาตินิยมมลายูอิสลามยังเข้มข้นนัก ทั้งยังเชื่อว่าจะมีการเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วมที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการในพื้นที่ในรูปแบบแฝงเร้นต่อเนื่อง ตราบเท่าที่หน่วยงานความมั่นคงยังไม่ตระหนัก ไม่ติดตาม และไม่ประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สอดประสานกับการเคลื่อนไหวเพิ่มกฎหมายและเงื่อนไข ที่เอื้อต่ออิสลามของ sympathizer   และแกนนำอิสลามที่เป็นนักการเมืองในส่วนกลาง โดยเฉพาะนักการศาสนาและนักวิชาการที่อยู่ในรัฐสภา

สถิติและนัยของการก่อเหตุ
            การก่อเหตุในช่วง เม.ย.๕๑ เท่าที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่ามีการก่อเหตุ ๕๙ เหตุการณ์ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการเกิดเหตุ ๖๖ เหตุการณ์ ใน มี.ค.๕๑ โดย จ.นราธิวาส และ จ.ปัตตานี มีการก่อเหตุจังหวัดละ ๒๒ เหตุการณ์เท่ากัน ขณะที่ จ.ยะลา มีการก่อเหตุ ๑๔ เหตุการณ์ ส่วน จ.สงขลา มีการก่อเหตุเพียง ๑ เหตุการณ์เท่านั้น โดยแยกเป็นการลอบยิง ๓๓ เหตุการณ์ รองลงมาคือการวางระเบิด ๒๓ เหตุการณ์ การวางเพลิง/เผา ๒ เหตุการณ์ การชุมนุมประท้วง ๑ เหตุการณ์
            ทั้งนี้ การก่อเหตุแม้จะมีความถี่ลดลง หากยังมลักษณะบ่งบอกถึงความหนักแน่น มุ่งมั่นและท้าทายหนักขึ้น เช่นเดียวกับในช่วง มี.ค.๕๑ ซึ่งที่ผู้ปฏิบัติยังคงมุ่งเน้นกระทำต่อเป้าหมาย Hard target  เพื่อยืนยันการคงอยู่ที่ยังมีศักกภาพ โดยเลือกแสดงศักยภาพดังกล่าวที่ จ.ปัตตานี ซึ่งหน่วยงานของรัฐดูเหมือนจะยังอ่อนประสบการณ์ในการประสานการรับมือกับการก่อเหตุ ซึ่งมีทั้งการหลอกล่อให้เจ้าหน้าที่เข้าติดกับ ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้นที่ ต.เขาตูม อ.ยะรัง เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๑ หรือการวางระเบิดรถบรรทุกทหารขณะเดินทางมาคัดเลือกทหารกองเกินที่ ต.สะนอ อ.ยะรัง เมื่อ ๔ เม.ย.๕๑
            อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่าการก่อเหตุที่เน้นเคยเฉพาะอิสลามเมื่อ ๑ - ๒ เดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนจะเริ่มเบนกลับมายังคนไทยพุทธอีกครั้งหนึ่งอย่างน่าวิตก เนื่องจากการก่อเหตุที่กระทำต่อคนไทยพุทธนั้นสะท้อนถึงความโหดเหี้ยม ความเป็นศัตรูและความเกลียดชังอย่างรุนแรง อาทิ การกราดยิงรถบรรทุกคนงานที่ไทยพุทธ ต.ยะรัง อ.ยะรัง เมื่อ ๒๔ เม.ย.๕๑ จนคนงานไทยพุทธเสียชีวิต ๕ ราย และบาดเจ็บอีก ๑ ราย หรือการยิงแล้วเผาคนไทยพุทธที่ ต.ตะบิ้ง อ.สายบุรี เมื่อ ๓๐ เม.ย.๕๑ ส่งผลให้คนไทยพุทธที่ ม.๒ ต.ดอนรัก อ.หนองจิก เตรียมอพยพออกจากพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนายประยุทธ ฉุนทิ้ง ไปถูกยิงเสียชีวิตที่ ม.๑ ตำบลเดียวกัน เมื่อ ๑๗ เม.ย.๕๑ อีกทั้งยังพบการกระทำต่อเป้าหมายที่เป็นกลไกลรัฐอิสลามและมัสยิดในลักษณะชี้นำให้คนไทยอิสลามหวาดระแวงว่า เป็นการกระทำของคนไทยพุทธและทหาร ที่อาจกระตุ้นให้เกิดม็อบผู้หญิงอิสลามปกปิดใบหน้าขึ้นได้อีกครั้งหนึ่ง

การตรวจค้นและจับกุม
            การตรวจค้นและจับกุม ซึ่งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการส่งกำลัทหารเข้าประจำในพื้นที่อันตราย ยังคงสามารถสะกัดกั้นการก่อเหตุครั้งใหญ่ที่ปฎิบัติพร้อม ๆ กันได้ ไม่ว่าจะในช่วงสงกรานต์ หรือในวันครบรอบ ๔ ปี เมษาบ้าคลั่ง เช่นเดียวการกดดันให้แนวร่วมต้องหลบหนีออกนอกพื้นที่ ซึ่งทำให้การตรวจค้นและจับกุมง่ายขึ้น
            -  ม. ๖ บ้านปะการือสง ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี  ซึ่งเป็นพื้นที่ปลดปล่อยที่มีแนวร่วมหนาแน่นมากขึ้น พบว่าเหลือแต่คนแก่และเด็ก เนื่องจากชายฉกรรจ์และวัยรุ่นชายได้หลบหนีออกจากหมู่บ้านไปหมดแล้ว
            -  ม.๓ บ.ซาไก ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา  ซึ่งมีไทยพุทธเหลืออยู่ประมาณ ๔๐ คน เพราะเป็นเป้าหมายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น ในช่วงรายงานพบว่าแนวร่วม รวมทั้งแกนนำสำคัญในพื้นที่ ได้หนีออกจากพื้นที่หมดแล้ว ทั้งคนอิสลามเริ่มมีท่าทีเป็นมิตรกับคนไทยพุทธมากขึ้น ที่สำคัญคือ คนไทยพุทธเริ่มทยอยกลับเข้าพื้นที่ (ขณะนี้กลับมาแล้ว ๗ คน)
            -  อ.สายบุรี จ.ปัตตานี  อิสลามไม่คัดค้านการตรวจค้น/จับกุม รายวันของ จนท. เพราะการกดดันให้แน่วร่วมหลบหนีออกจากพื้นที่ได้ ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่า จะทำให้เหตุการณ์สงบลง ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านออกไปกรีดยางที่ราคากำลังดีได้ แต่ไม่ควรมีการทำร้าย เพราะเมื่อเอาผิดไม่ได้ ปล่ยอตัวออกมา คนเหล่านั้นก็จะออกมาเล่า ทำให้ญาติพี่น้องโกรธแค้น แล้วจะมีแนวร่วมเพิ่มขึ้น
            อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนการตรวจค้นและจับกุม จะลดความถี่และคุณภาพลงในบางพื้นที่ จากการที่ทหารชุดใหม่ที่เข้ามาสับเปลี่ยนกำลัง ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และการต้องเริ่มต้นกันใหม่ โดยเฉพาะที่ อ.เมือง และ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี พบว่า จนท.ชุดใหม่ต้องออกหารายชื่อแนวร่วมกันใหม่อีก ส่งผลให้แนวร่วมบางส่วนใน ต.คอลอตันหยง และบางเขา ฉวยโอกาสกลับเข้าพื้นที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเกิดเหตุใน อ.หนองจิก สูงถึง ๙ เหตุการณ์ จากเหตุการณ์ทั้งหมด ๒๒ เหตุการณ์ นอกจากนี้ยังปรากฎรายงานว่า ใน อ.เมืองยะลา ที่การป้องกันจะเข้มมากเฉพาะในเวลากลางคืนนั้น มีการขนคนอิสลามจำนวนมากไว้ในพื้นที่ ทั้งยังมีการขนวัยรุ่นจาก จ.นราธิววาส มาขอรับบริจาคเงินเป็นประจำในตลาดยะลาอีกด้วย

กระแสชาตินิยมมลายูอิสลามยังแรงอยู่มาก
            การที่ ร.ร.อิสลามบูรพา ยอมเสี่ยงต่อการถูกสั่งปิดเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๐ เม.ย.๕๑ เพียงเพื่อเปิดโอกาสให้แนวร่วมมาใช้สถานที่พักอาศัยและใช้บริเวณโรงฝึกฝนการผลิตระเบิด การแทรกซึมเข้ามาเป็นทหารเกณฑ์ เพื่อฝึกปรือการใช้อาวุธและการรบของนายไอมัน หะเด็ง ที่กองพันทหารปืนใหญ่ค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ นครศรีธรรมราช จนถูกจับกุมตัวเมื่อ ๒๘ เม.ย.๕๑ และการที่ชาวบ้านผู้หญิงที่ ฒ.๑ ต.เรียง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เริ่มก่อม็อบขัดขวางไม่ให้ จนท.นำตัวคนร้ายไปสอบสวน เมื่อ ๑๐ เม.ย.๕๑ ล่วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นว่า กระแสชาตินิยมมลายูนั้น เมื่อถูกปลุกขึ้นมาแล้วก้ยากที่จะดับลงได้ โดยเฉพาะกรรีที่สองนั้นเป็นหลักฐานการยืนยันชนัดเจนว่าชายฉกรรจ์มลายูอิสลามพยายามสมัครเข้ามาเป็นทหารเกณ์ เพียงเพื่อเอาความรู้ทางการรบไปใช้ก่อเหตุรื้อฟื้นรัฐปัตตานี ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นมาช้านานแล้ว หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพียงเพราะการถือว่ามลายูอิสลามเป็นคนไทย จึงไม่สามารถปฎิเสธเจตนาการเข้าฝึกยุทธวิธีการรบ เพื่อนำกลับมาใช้ก่อเหตุของมลายูอิสลามได้ อนึ่งพบว่าที่ฐานทัพเรือสัตหีบมีการฝึกรบให้ทหารเกณฑ์มลายูอิสลามประมาณ ๕๐๐ คน อย่างขมักเขม้นและอย่างภาคภูมิใจ

การสานต่อมาตรการป้องปรามของรัฐ
            มาตรการเชิงรุกของรัฐ ซึ่งดูเหมือนจะได้ผลในระดับหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่สามารถทำให้แนวร่วมเปลี่ยนใจ กลับมาเป็นคนไทยที่อยู่ภายใต้กฎหมายไทยได้ แต่ก็สามารถกดดันให้แนวร่วมต้องหลบหนีออกจากพื้นที่ และไม่สามารถก่อเหตุครั้งใหญ่พร้อม ๆ กันได้ ส่งผลให้ภาคเอกชนพยายามเร่งรัดให้รัฐแก้ปัญหาอย่างถาวร โดยการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐต่างก็เร่งดำเนินโครงการป้องกัน การกลับเข้ามาก่อเหตุ และครอบงำชาวบ้านของแนวร่วม ตามความถนัดของแต่ละหน่วยงาน อาทิ โครงการใช้กติการสังคมแก้ปัญหาความไม่สงบ ของผู้ว่า ฯ ยะลา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับตำบล ของ ศอ.บต. โครงการบัณฑิตอาสาสมัครแรงงานสัมพันธ์รักบ้านเกิด ของกระทรวงแรงงาน โครงการเพื่อนราชการรักษาหมู่บ้านของชุมชน ใน อ.เมืองปัตตานี
            อย่างไรก็ตาม จะต้องพึงตระหนักว่า พื้นที่ต่าง ๆ ใน ๓ จชต. และบางอำเภอ ของ จ.สงขลา มีระดับความรุนแรงของการก่อนเหตุ และระดับความเข้มในการควบคุมพื้นที่ของแนวร่วมที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้บทบาทของกลไกรัฐต้องปรับเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับพื้นที่ อาทิ ในพื้นที่สีแดงนั้น ให้ตระหนักได้เลยว่า สมาชิก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ยังอยู่รอดได้ เป็นเพราะต้องยอมโอนอ่อนให้กับแนวร่วม หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหวของแนวร่วม ด้วยเหตุนี้มาตรการและโครงการต่าง ๆ ของรัฐที่ส่งลงไป จึงให้ผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลลบ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ใน ๓ จชต. นั้น เชื่อว่าแนวร่วมสามารถคุมพื้นที่ได้อย่งเบ็ดเสร็จ ยกเว้นพื้นที่ไทยพุทธ และพื้นที่บางส่วนในตัวเมือง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาแต่ละพื้นที่ อย่างละเอียดก่อนส่งโครงการเข้าไป และต้องมีการติดตามและประเมินผล การดำเนินการอย่างใกล้ชิดในพื้นที่สีชมพูและสีแดง  มิฉะนั้นจะกลายเป็นการเพิ่มพื้นที่ปลดปล่อยมากกว่าจะเพิ่มพื้นที่ของรัฐ ทั้งนี้ โครงการที่ดูเหมือนดี แต่อาจส่งผลกระทบทางลบมากกว่าบวก ได้แก่
            ๑. โครงการใช้กติการสังคมแก้ปัญหาความไม่สงบ  ของ ผวจ.ยะลา เนื่องจากกติกาสังคมที่กำหนดให้ชาวบ้าน แจ้งความเคลื่อนไหวของคนแปลกหน้า ผู้ค้าและเสพยาเสพติด ผู้ลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและผู้ที่ มีความขัดแย้ง/ข้อข้องใจกับทางราชการ ให้แจ้งกับ นายกอบต. กำนัน ผญบ.และอิหม่าม ก่อนนั้น หากนำไปใช้กับพื้นที่สีเขียว ก็เท่ากับเปส็นการแบ่งเบาภาระของรัฐ แต่หากไปใช้กับพื้นที่สีแดง ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนดังกล่าว สามารถครอบงำ/ควบคุมประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ปลดปล่อย/พื้นที่ปกครองตนเอง ขึ้นนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าวิตกอย่างยิ่ง เมื่อผู้ว่า ฯ ยะลา ซึ่งเคยใช้ตำแหน่งประกันตัวแกนนำแนวร่วมมาแล้ว ได้เลือกตำบลเปาะเส้ง และตำบลบุดี ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ที่มีกำนัน และ นายก อบต. เป็นผู้มีอิทธิพลที่ข่มเหงรังแกชาวบ้าน และพัวพันการค้ายาเสพติด เป็นตำบนำร่อง
            ๒.  โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับตำบล ของ ศอ.บต.  ซึ่งกำหนดเงื่อนไขให้ จนท. โครงการต้องเข้าไปอยู้ในพื้นที่เดือนละ ๒๐ วัน เป็นโครงการที่ดี หากนำไปใช้ก่อนปีค ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นในช่วงเวลาที่กระแสชาตินิยมอิสลามยังไม่เชี่ยวกราก ดังเช่นปัจจุบันและสำหรับในพื้นที่สีเขียว แต่ในพื้นที่สีแดง จะทำให้ จนท. ที่ไม่ใช่แนวร่วม โดยเฉพาะ จนท.ไทยพุทธ ต้องถอนตัวออกจากการเป็น จนท.โครงการ ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้แนวร่วมเข้ามาคุมโครงการ งบประมาณ และวิถีชีวิตชาวบ้าน นั่นเอง

การเคลื่อนไหวของแกนนำแนวร่วม และ sympathizer
            แกนนำแนวร่วมยังคงพยายามทุกวิถีทางที่จะเข้ามาเป็นผู้กำหนดทิศทาง และวิถีชีวิตใน ๓ + ๑ จชต. อย่างไม่ลดละ โดยกระบวนการนี้ได้เริ่มและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ม.ค.๕๑ และในทุกช่องทาง แม้กระทั่งเมื่อเริ่มมีแนวคิดรื้อฟื้นคดี เพชรซาอุขึ้นมาอีกครั้งเมื่อต้น มี.ค.๕๑ นั้น นาย ......... เจ้าของวิทยาลัยอิสลาม/ผู้นำนิกายวาฮะบี และนาย ........ก็ยังแทรกตัวเข้ามาร่วมทำงาน โดยอ้างว่าความรุนแรงภาคใต้มีส่วนมาจาก การที่ไทยไม่คืนเพชรที่ขโมยมาให้กับซาอุดิอาระเบีย สำหรับในช่วงรายงานแกนนำแนวร่วมและ sympathizer   ได้ฉวยโอกาสช่วงการครบรอบ ๔ ปี เหตุการณ์เมษาบ้าคลั่ง (๒๘ เม.ย.๔๗)  เสริมสร้างบทบาทของตนเองพร้อม ๆ ไปกับการปลุก/คงไว้ ซึ่งความคับแค้นของมลายูอิสลาม ดังนึ้
            -  สถาบันข่าวอิศรา  เมื่อ ๑๘ เม.ย.๕๑  สถาบันอิศราได้นำเอากรณีอุบัติเหตุที่บางนา เมื่อ ๑๓ เม.ย.๕๐ ซึ่งทหารทำให้วัยรุ่นอิสลามเสียชีวิตมาลงเป็นบทความ ต่อมาก็ได้นำลงบทความเกี่ยวกับวิถีชีวิตของครอบครัว ผู้ก่อเหตุซึ่งดูเหมือนจะเจตนาเลือกเฉพาะเหตุการณ์ ที่กรือเซะหลายครอบครัวมาลงตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องถึง ๕ บทความ ได้แก่ "๔ ปี กรือเซะ : ชีวิตหนูเปลี่ยนไป" " ๔ ปี กรือเซะ: อตีกาฮุ สู้และอยู่เพื่อลูก"  " ๔ ปี กรือเซะ : ห้วงเวลาแห่งความทุกข์ของ แอเสาะ สารี"  " ๔ ปี กรือเซะ : เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง"  " ๔ ปี กรือเซะ : จดหมายจากแดนไกล กำลังใจสู่ครอบครัวหะหลี"
            -  สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย  ให้สัมภาษณ์ในลักษณะพยายามเชื่อมโยงการที่รัฐคงกฎอัยการศึก ใน ๓ จชต. เข้ากับศาสนาอิสลาม และพยายามชี้นำให้ไขว้เขวว่า มาตรการป้องปรามการก่อเหตุ/ การเคลื่อนไหวของแนวร่วมอย่างเข้มข้น และต่อเนื่องของรัฐ กระตุ้นให้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น
            -  นาง...........  ยังคงมุ่งมั่นอยู่กับการนำประเด็นความผิดพลาดในการปฎิบัติงานของ จนท. มาขยายผลอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อ ๑๕ เม.ย.๕๑ ได้ให้สัมภาษณ์ตอกย้ำการเสียชีวิตของอิหม่ามยะผา กาเซ็ง และคัดค้านการกักตัวผู้ต้องสงสัย เพื่อการซักถามโดยอ้างว่า ละเมิดรัฐธรรมนูญ ต่อมาเมื่อ ๒๕ เม.ย.๕๑ ได้ฉวยโอกาสขึ้นเวทีพันธมิตรเพื่อตอกย้ำเหตุการณ์กรือเซะ และเมื่อ ๒๘ เม.ย.๕๑ ได้ออกแถลงการณ์ในนามของคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เรียกร้องให้ จนท. รับผิดชอบการตายของผู้ก่อเหตุ ๑๐๘ คน และทบทวนการคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก และ พรก.ฉุกเฉิน ฯ ใน ๓ จชต. และบางพื้นที่ของ จ.สงขลา

การเคลื่อนไหวนอกประเทศ
            สำหรับการเคลื่อนไหวนอกประเทศ พบว่ามาเลเซียมีท่าทีที่เป็นมิตรกับไทยมากขึ้น ขณะที่  ดูเหมือนว่า จะประสบความสำเร็จในการหลอกล่อ ให้ไทยส่งตัวแทนออกไปเจรจาด้วย และคณะกรรมการกลางอิสลามอินโดนิเซีย สามารถโน้มน้าวให้มีการส่งเยาวชนไทยไปเรียนที่อินโดนิเซีย
            -  มาเลเซีย  ไทยกับมาเลเซียอยู่ติดกัน มีทรัพยาการเหมือนกัน และขายทรัพยากรอย่างเดียวกัน ...จึงเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ หรือพูดง่าย ๆ คือ ศัตรูทางเศรษฐกิจของกันและกัน..... "หายนะของไทยคือ กำไรของมาเลเซีย"  ซึ่งการจะให้มาเลเซียมาช่วยไทยในปัญหาภาคใต้ โดยไม่มีผลประโยชน์ติดมือกลับไป ย่อมเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งของมาเลเซีย เมื่อ มีนาคม ๒๕๕๑ นั้น ปรากฎว่า พรรครัฐบาลได้ที่นั่งน้อยลง ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจาก การที่มีแนวร่วมมลายูอิสลาม ๒ สัญชาติ ของไทยเข้าลงคะแนนหนุนช่วยพรรคฝ่ายค้าน  อีกทั้งยังเข้าไปก่อม็อบประท้วงการเลือกตั้งอีกด้วย
            ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่ารัฐบาลมาเลเซียน่าจะเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐบาลมาเลเซีย ที่จะมาจากแนวร่วมมลายูอิสลามของไทยแล้ว โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นผลทำให้มาเลเซีย เริ่มมีท่าทีที่เป็นมิตรมากขึ้น ในการ่วมมือแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนของไทย ผ่านรูปธรรมของการเดินทางเข้ามาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของหัวหน้าตำรวจรัฐเปรัค ของมาเลเซีย เมื่อ ๙ เม.ย.๕๐ และการเดินทางไปเยือนมาเลเซียของ นรม.ไทย ระหว่าง ๒๓ - ๒๔ เม.ย.๕๑
            -  PULO   ขบวนการรื้อฟื้นรัฐปัตตานี หลาย ๆ กลุ่ม แม้จะอ้างอุดมการณ์เดียวกัน หากแกนนำที่อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มนักการเมืองมลายูอิสลามในไทย ยังมีการแย่งชิงบทบาทนำ โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางการเมือง และทางการเงินกันอยู่ ดังนั้น การส่งนาย......... ออกไปเจรจารื้อฟื้นบทบาทที่กำลังตกต่ำของตนเองกับแกนนำ  PULO กำลังทำให้  BRN ของนาย....... ไม่พอใจ
            -  อินโดนิเซีย  คณะกรรมการกลางอิสลามประจำรัฐสุมาตราเหนือ ของอินโดนิเซีย นำโดย นายฮัจญี อับดุลเลาะห์ซะ เดินทางเข้ามาดูกิจการอิสลามศึกษา และศาสนกิจอิสลามของไทย เมื่อ ๒๙ เม.ย.๕๑ โดยมี นายธีระ มินทรศักดิ์ ผู้ว่า ฯ ยะลา นำคณะให้การต้อนรับ ซึ่งผลการพบปะในครั้งนี้ สรุปได้ว่า จะมีการส่งเยาวชนจากชายแดนใต้ของไทย ไปศึกษาที่อินโดนิเซีย ด้วย

                                               ............................................