บทที่ ๒๐ การปลงศพของชาวจีนและของชาวสยาม
            ๑. เหตุผลที่พูดถึงการปลงศพของชาวจีน  เพื่อให้เข้าใจถึงพิธีการปลงศพของชาวสยามให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
            ๒. อะไรเป็นประการสำคัญ
            ๓. การเซ่นไหว้คนตาย
            ๔. ชาวจีนสมัยปัจจุบันทอดทิ้งประเพณ๊เก่าเสียหมด
            ๕. ประเพณีของชาวจีนโบราณในการเซ่นไหว้บรรพชน
            ๖. การปลงศพของชาวสยาม  เมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย เขาจะเก็บศพผู้ตายไว้ในโลงไม้ซึ่งทายางรักทางด้านนอก และบางทีก็ปิดทองด้วย  เจ้าของศพพยายามทำลายลำไส้ของศพด้วยปรอท ซึ่งกรอกเข้าไปในปากศพ และกล่าวกันว่ากลับไหลออกมาได้ทางทวารหนัก  บางทีก็ใช้โลงที่ทำด้วยตะกั่ว และบางทีก็ปิดทองโลงนั้นด้วย  เขาวางศพไว้บนเครื่องรองสูงด้วยความเคารพ โดยธรรมดามักใช้เตียงนอนที่มีเท้าเป็นฐาน  เจ้าศพจะเผาเครื่องหอม และจุดเทียนไว้ใกล้ ๆ โลงศพ และทุกคืนพระภิกษุสงฆ์จะไปสวดมนตร์ภาษาบาลีในห้องที่ตั้งศพนั้น  เจ้าศพก็รับรองเลี้ยงดู และถวายปัจจัยบ้าง มนตร์ที่ท่านสวดนั้นเป็นธรรมะว่าด้วยความตาย  พร้อมกับบอกทางสวรรค์
            ๗. เขาเผาศพกันอย่างไร  ญาติเจ้าของศพจะเลือกสถานที่แห่งหนึ่งในท้องนา สำหรับชักศพไปเผาที่นั่น ปกติมักเป็นที่ใกล้วัด จัดการล้อมรั้วบริเวณนั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำด้วยไม้ไผ่  รูปร่างคล้ายซุ้มไม้เลื้อย และเรือนต้นไม้ในสวนของเรา ประดับประดาด้วยกระดาษสี หรือกระดาษทอง ซึ่งตัดเป็นรูปเรือน เครื่องใช้ไม้สอย สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า ตรงกลางวงล้อมเป็นที่ตั้งเชิงกราน ก่อด้วยไม้เนื้อหอมล้วน  หรือแต่บางส่วน เช่น ไม้จันทน์ขาว หรือไม้จันทน์เหลือง และไม้กฤษณา เป็นต้น  เกียรติยศของฌาปนกิจนั้นอยู่ที่การยกเชิงตะกอนให้สูง  มิใช่ด้วยการกองฟืนมูลขึ้น แต่ด้วยการถมดิน ยกฐานเชิงตะกอนขึ้น
            ๘. ขบวนแห่ศพ   ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง เป็นผู้ยก (หีบ) ศพ  มีประโคมด้วยเครื่องดนตรีนานาชนิด หามหีบศพนำหน้า ถัดจากนั้นก็ถึงบุคคลในครอบครัวของผู้ตาย ล้วนแต่งขาวศีรษะของคนตามศพคลุมด้วยผ้าสีขาว และร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก  ต่อจากนั้นก็ถึงขบวนมิตรสหายและญาติของผู้ตาย  เขาไม่เผาโลงด้วย แต่เขานำเอาศพออกวางบนกองฟืน พระภิกษุสงฆ์ก็มาสวดมนตร์อยู่สักเสี้ยวชั่วโมงแล้วก็จากไป  จากนั้นก็เริ่มการมหรสพมีโขน และระบำ ซึ่งจัดให้แสดงพร้อม ๆ กันตลอดทั้งวัน
            ๙.  คนรับใช้ของพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้จุดเพลิงเผาศพ  พอได้เวลาเที่ยงวัน ตาปะขาวก็จุดเพลิงที่กองฟืน ซึ่งตามปกติมักจะเผาลุกอยู่ประมาณสองชั่วโมง  ถ้าเป็นพระศพเจ้านายในราชตระกูล หรือศพขุนนางผู้ใหญ่คณะเข้าอยู่หัว จะทรงจุดอัคคีที่เชิงตะกอนเอง โดยทรงจุดไฟติดสายชนวนฝักแค ที่แขวนผนึกไว้กับเส้นเชือก ซึ่งขึงแต่ช่องสีหบัญชรตลอดมา เผาในเมรุถึงเชิงตะกอน
            ๑๐. การทำบุญให้ทานในการปลงศพ  ครอบครัวคนตายเป็ผู้เลี้ยงดูผู้คนที่ไปในงานขบวนแห่ศพ และมีการทำบุญให้ทานต่อไปอีกสามวันคือ ในวันเผาศพ  ถวายไทยทานแก่พระภิกษุสงฆ์ที่ไปสวดมาติกาบังสุกุลศพ วันที่สองเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ทั้งวัด และวันที่สามไทำบญุที่อุโบสถ
            ๑๑. การเพิ่มมหรสพในงานปลงศพ   ด้วยการจุดดอกไม้ไฟเป็นอันมาก
            ๑๒. การขุดศพขึ้นเพื่อรับเกียรติอันยิ่งใหญ่ในการปลง
            ๑๓. สิ่งที่เผาไม่ไหม้ ก็ฝังไว้ได้ที่พีรามิด และชาวสยามเรียก พีรามิดว่าอะไร  เจ้าภาพศพเก็บส่วนที่เหลือคือ อัฐิกับอังคารเข้าไว้ในโลง โดยไม่มีพิธีรีตรองอะไร  และนำสิ่งเหล่านี้ไปฝังไว้ใต้พีรามิดองค์หนึ่ง ซึ่งมีอยู่รายรอบอุโบสถ บางทีก็ฝังอัญมณี และสิ่งมีค่าอื่น ๆ ลงไปไว้ปนกับอัฐิด้วย พีรามิดเหล่านี้เรียกว่า พระเจดีย์
            ๑๔. ความคิดสร้างพระเจดีย์เป็นที่ฝังศพมาจากไหน
            ๑๕. เหตุใดชาวสยามจึงนิยมสร้างโบสถ์วิหารกันมาก
            ๑๖. การปลงศพคนจน  คนที่ยากจนฝังศพพ่อแม่ของตน โดยไม่ได้เผา แต่ถ้าลูกหลานมีกำลังพอจะทำได้ ก็ไปนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มา คนเข็ญใจไม่มีเงินถวายพระภิกษุสงฆ์ได้ ก็เพียงแต่นึกเอาว่าตนได้ให้เกียรติแก่พ่อแม่ของตนก็พอแล้ว ด้วยการนำศพไปวางไว้ในท้องนาทอดไว้บนแคร่ ให้แร้งกาทึ้งกินเป็นอาหาร
            ๑๗. การปลงศพล่ามาก ๆ  ในกรณีที่ผู้ป่วยตายลงด้วยโรคระบาด เขาฝังศพไว้โดยไม่เผา และอีกหลายปีต่อมาจึงได้ขุดศพขึ้นมาเผา
            ๑๘. คนตายที่ไม่ได้รับเกียรติปลงศพ  ชาวสยามไม่เผาศพคนที่ตายด้วยต้องรับพระราชทัณฑ์ประหารชีวิต  หรือทารกที่ตายมาแต่ในครรภ์ หรือหญิงที่ตายทั้งกลม  หรือคนที่จมน้ำตาย หรือคนที่ตายด้วยอุบัติเหตุ เขาเหมาว่าคนจำพวกเหล่านี้มีความผิดคิดมิชอบ
            ๑๙.  การไว้ทุกข์  ในเมืองจีนมีบัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมาย การไว้ทุกข์ให้พ่อแม่นั้นนานสามปี ส่วนชาวสยามนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ การไว้ทุกข์แต่ประการใด ลูกหลาน และญาติ แสดงความทุกข์ ก็ชั่วระยะเวลาที่พวกเขายังมีความเศร้าโศกอยู่เท่านั้น
            ๒๐. ชาวสยามสวดวิงวอนผู้ตายด้วยหรือไม  ชาวสยามทำบุญให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อแผ่กุศลไปให้ เพราะเชื่อว่าการทำบุญให้ทานนั้น เป็นการไถ่บาปกรรมของผู้ตายได้
            ๒๑. จะต้องเข้าใจอย่างไรว่า ดวงวิญญาณของคนดีนั้นกลับไปเป็นเทพยดา และดวงวิญญาณของคนชั่วไปเป็นภูติผีปีศาจ
            ๒๒. ชาวชมพูทวีปไม่มีพระเจ้าเป็นผู้พิพากษาบุญบาปของมนุษย์  เป็นความงมงายของชาวชมพูทวีป ที่ไม่ยอมรับว่ามีพระเจ้าอยู่ ทรงมีความหยั่งรู้ล้ำเลิศ ซึ่งทำหน้าที่พิพากษาบุญและบาปของมวลมนุษย์
บทที่ยี่สิบเอ็ด หัวข้อศีลปฎิบัติของชาวชมพูทวีป
            ๑. ข้อห้ามห้าประการ  ชาวชมพูทวีปย่นย่อข้อศีลปฎิบัติในทางห้ามเหลือเพียงห้าประการ อันเกือบจะถือเหมือน ๆ กันหมดในแคว้นทั้งปวงในชมพูทวีป  ศีลห้าของชาวสยามมีดังนี้
                ๑.  เว้นจากการฆ่าสัตว์   ๒. เว้นจากการลักทรัพย์    ๓. เว้นจากการทำผิดประเวณี   ๔. เว้นจากการพูดเท็จ    ๕. เว้นจากการเสพเครื่องดองของเมา ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปเรียกว่า เหล้า
            ๒. ศีลข้อแรกกินความไปถึงพฤกษชาติและพืชพันธุ์อปรัณชาติด้วย  ชาวสยามมีความเชื่อว่า เมล็ดพืชนั้นคือ เครื่องหุ้มห่อพฤกษชาติไว้  ฉะนั้นจึงสมควรเลี้ยงชีพด้วยการบริโภค แต่ผลไม้เท่านั้น ชั่วแต่ว่าเวลาบริโภคผลไม้นั้นไม่พึงบริโภคเมล็ด เข้าไปด้วย  จะได้เหลืออยู่เป็นพืชพันธุ์ต่อไป และมิพึงบริโภคผลไม้นอกฤดูกาล
            ๓. และมิได้ทำลายสิ่งที่เป็นธรรมดาเป็นเองตามธรรมชาติ  ศีลข้อนี้ยังขยายไปถึงให้เว้นการทำลายสรรพสิ่ง บรรดาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอีกด้วย
            ๔. ชาวสยามรู้สึกหวาดเสียวในการเลือดตกยางออก ยิ่งกว่าการฆาตกรรมเสียอีก   มีข้อห้ามมิให้ทำการชำแหละใด ๆ อันจะทำให้เลือดตก  ชาวสยามรู้สึกกลัวบาป ไม่ไปหาปลา ก็แต่เฉพาะวันที่พระภิกษุโกนผมเท่านั้น เขาไม่คิดว่าได้ทำบาปในการฆ่ามนุษย์ด้วยกันยามสงคราม ด้วยเขามิได้จ้องยิงตรงไปหมายพิฆาตข้าศึก
           ๕. ความคิดเห็นเรื่องเวียนว่ายตายเกิด  ชาวจีนมีความคิดเห็นในเรื่องนี้แตกต่างไปจากชาวสยามได้ฆ่าลูกของตนเสียบ้างเมื่อมีมากเกินต้องการ และเขากล่าวว่า เพื่อให้ไปผุดไปเกิดใหม่ในชีวิตที่ผาสุกกว่านี้
            ๖. ดูเหมือนจะถือกันว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญอยู่  ชาวชมพูทวีปทั้งปวง คิดอยู่ว่าการฆ่าตัวตายเป็นความเสียสละ อันมีประโยชน์แก่วอญญาณ ทำให้ได้บรรลุถึงธรรมชั้นสูง และความบรมสุข ศรัทธา อันชักนำให้ชาวสยามไปผูกคอตายที่ต้นโพธิ์ในบางครั้งนั้น มักมีสาเหตุมาจากความเบื่อหน่ายในชีวิต หรือว่าด้วยความหวาดกลัวจะได้รับพระราชอาญา
            ๗. เรื่องราวพระโคที่เผาตัวเอง  เมื่อหกหรือเจ็ดปีมาแล้ว ชาวพะโคคนหนึ่งได้เผาตัวเองในโบสถ์แห่งหนึ่งเรียกว่า สามพิหาร เขานั่งขัดสนมาธิแล้วเอาน้ำมันชนิดหนึ่งทาตัวเสียหนาเตอะ เขามีความไม่พอใจครอบครัวของตนเอง เมื่อไฟครอกจนไหม้เกรียมแล้วก็มีผู้เอาปูนชนิดหนึ่งมาพอกร่างผู้ตายไว้ นำเอาไปเป็นแม่พิมพ์หล่อรูปขึ้นแล้วลงรักปิดทอง นำไปประดิษฐานไว้บนแท่นชุกชีเบื้องหลังพระพุทธรูป เขาเรียกนักบุญจำพวกนี้ว่า พระเที่ยงแท้
            ๘. การเว้นความประพฤติผิดประเวณีกินความไปถึงห้ามการแต่งงานวด้วย
            ๙. นักปราชญ์จีนนิยมว่าการหย่าร้างกับภรรยานั้นเป็นกุศลกรรม
            ๑๐. เครื่องดื่มทุกชนิดที่อาจทำให้เมาเป็นสิ่งที่ต้องห้ามทั้งสิ้น
            ๑๑. ศีลธรรมในทรรศนะของเขานั้นก็ว่ามิได้สร้างขึ้นไว้สำหรับมนุษย์ทั่วไป  หากแต่สร้างขึ้นสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ถือปฏิบัติ้ท่านั้น
            ๑๒. หัวใจสิกขาบทของพระภิกษุสงฆ์ พระวินัยห้ามกล่าวคำผรุสวาทต่อสรรพสิ่งทั้งมวลที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติเช่น ห้ามขุดหลุมในพื้นดิน และเมื่อมีอยู่แล้วก็ห้ามกลบ ห้ามทำดินให้สุกเช่นต้มข้าว ห้ามติดไฟ เพราะเป็นการทำลายสิ่งที่ติดนั้น และเมื่อไฟติดแล้วก็ห้ามดับ
            ๑๓. การปฏิบัติตามสิกขาบทนั้นเป็นการสุดวิสัย
            ๑๔. ความทรนงของพระภิกษุสงฆ์  คิดว่าพวกวตนเท่านั้นที่เตร่งในศีลธรรมยิ่งกว่าคนทั้งปวง จะยกตนข่มฆราวาสเช่น ยามนั่งก็จะต้องนั่งในที่สูงกว่าฆราวาส ไม่ยอมใหว้ฆราวาส และไม่ร้องไห้อาลัยต่อกาตายของผู้ใด พระภิกษุสยามมีวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งคล้ายกับการล้างบาป กล่าวคือนาน ๆ ครั้งท่านก็ชุมนุมกัน เพื่อแจ้งอาบัติของตนเอง เป็นความลับให้เจ้าวัดทราบ แต่แทนที่จะรับสารภาพว่าตนเป็นผู้ทำบาป ท่านก็ว่าไปตามบทบัญญัติในพระวินัยเท่านั้นเอง โดยแจ้งว่าท่านหาได้ล่วงสิกขาบทเหล่านั้นไม่ ท่านเปล่งอุทานว่า ข้าพเจ้ามิได้ลักทรัพย์ ข้าพเจ้ามิได้พูดเท็จ เป็นต้น
            ๑๕. ลักษณะภายนอกของคุณธรรมบางประการอันเป็นสมณะสารูป  พระภิกษุสงฆ์ดูเหมือนจะรู้จักการเจริญสมาธิกัน การหลีกเร้นไปอยู่ในที่สงบสงัด ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าเดินไปในถนน โดยปราศจากอินทรียสังวร ภิกษุต้องอาบัติถ้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับราชการงานแผ่นดิน ควรสังวรอยู่แต่ในพุทธาวาส และสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชน โดยไม่อวดอ้างวางตน
บทที่ยี่สิบสอง ความบรมสุขและความบรมทุกข์ตามทรรศนะของชาวสยาม
            ๑. ความบรมสุขอันสมบูรณ์แบบ  หมายถึง การบำเหน็จอย่างสูงสุดของการประกอบกุศลกรรม และขั้นสุดท้ายของความบรมทุกข์ หมายถึงโทษทัณฑ์ขั้นอุกฤฎ์ที่ผู้กระทำผิดพึงได้รับนั้นคืออย่างไร ชาวสยามมีความเชื่อว่าหลังจากการเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสังสารวัฎหลายครั้งหลายหน ไปด้วยกุศลคุณสมบัติ เป็นอุปนิสัยสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่มีชาติใดภพใดที่จะต้องไปเกิดใหม่อันสมควรแก่ดวงวิญาณนั้นอีก ชาวสยามเชื่อว่า นับแต่นั้นไปดวงวิญญาณนั้น ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องไปเกิดอีก ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องทำอีก ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายอีก แต่ได้เสวยสุขด้วยการอยู่เฉยไปชั่วนิรันดร  ได้ประสบความสงบเที่ยงแท้ ชาวสยามกล่าวว่า นฤพานนั้นหมายถึงดวงวิญญาณนั้นได้อันตรธานไป  ไม่เวียนกลับมาสูาภพใดอีก
            ๒. สิ่งที่ชาวปอร์ตุเกศเรียกว่าสวรรค์ นรก นั้น หาใช่ความบรมสุขและความบรมทุกข์ ตามทรรศนะของชาวสยามไม่  แม้ว่าพวกเขาจะได้สันนิษฐานเอาว่า ความบรมสุขนั้นสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นที่เก้า อันเป็นชั้นสูงสุด ชาวชมพูทวีปก็ยังกล่าวว่า ความบรมสุขเช่นนั้นยังหายั่งยืนชั่วนิรันดรไม่ และยังไม่พ้นจากเครื่องกังวลใจเสียทีเดียว ยังเป็นชีวิตแบบที่มีการเกิดตายอยู่อีก ทำนองเดียวกันนรกอันแท้จริงหาใช่ขุมใดขุมหนึ่งในเก้าขุม ที่เรียกว่านิรยภูมิ นั้นไม่ และในนรกบางขุมชาวชมพูทวีปก็ได้สันนิษฐานเอาไว้ว่า มีการลงโทษกรณ์ และมีไฟลุกโหมอยู่ชั่ววกัปกัลป์ ด้วยแม้ว่าจะมีวิญญาณไปตกนรกขุมใดขุมหนึ่งอยู่ไม่รู้สิ้นสุด แต่ก็คงวไม่ไวด้วิญญาณดวงเดียวกัน ไม่มีวิญญาณดวงใดต้องรับโทษทัณฑ์อยู่ชั่วนิรันดร จะต้องไปเกิดใหม่และดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะหนึ่งก่อน แล้วกว็ออกจากชีวิตนั้นไปด้วยการตาย
            ๓. ขั้นสุดท้ายของความบรมทุกข์  นรกอันแท้จริงของชาวชมพูทวีปก็คือการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของวิญญาณเหล่านั้น ไม่มีวันเข้าถึงนฤพาน คือการอันตรธานไปชั่วโลกสลาย เขาเชื่อว่าวิญญาณเหล่านี้นั้น โดยที่ได้ทำบาปไว้มาก และมิได้ประกอบผลบุญไว้มากพอ จึงต้องผ่านจากรูปภพหนึ่งไปสู่อีกรูปภพหนึ่งอยู่เรื่อยไป รูปกายนั้นเป็นที่ขุมขังดวงวิญญาณ เพื่อรับทัณฑ์ไปตามความผิดของวตน
            ๔. ความน่าอัศจรรย์ของผู้ที่เข้าถึงนฤพาน และเขาสร้างอุโบสถอุทิศถวายกันอย่างไร  ชาวชมพูทวีปเชื่อว่า ภายหลังการกระทำอันผู้ใด ปฏิบัติเป็นผลสำเร็จควร แก่นฤพานแล้ว ผุ้นั้นก็ได้เสวยชีวิตอันกอปรด้วยอภิอสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เชื่อว่าผู้นั้นแสวงธรรมเทศนาแก่ผู้อื่นได้ผลบริบูรณ์ตามที่มุ่งหมายไว้เมื่อใด เมื่อนั้นผู้นั้นก็ได้พิทยาปรีชาญาณ ทรงพลานุภาพไม่มีผู้พิชิตได้ มีความสามารถในการแสดงปาฏิหารย์ ระลึกชาติของบตนได้ทุกชาติ และสิ่งใดจักเกิดขึ้นแก่ตนในชาตินี้จนถวายเท่าอนุปาทิเสสนิพพาน การมรณภาพของผู้นั้น (พระอรหันต์) ก็ต่างไปเป็นพิเศษเขากล่าวว่าท่านอันตรธานไป เสมือนแสงประกายอันหายวับไป ฉะนั้น และเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงบุบคคลจำพพวกนี้ ที่ชาวสยามได้สร้างอุโบสถวิหารขึ้นอุทิศถวาย
            ๕. แม้ว่าจะมีพระอรหันต์หลายองค์แต่ชาวสยามก็สักการะบูชาเพียงพระสมณโคดมองค์เดียว  ซึ่งถือว่าทรงคุณธรรมล้ำเลิศเหนือกว่าสงฆ์ทั้งปวง ตามทรรศนะของชาวสยามนั้นว่าคุณธรรมความบยริสุทธิ์อันแท้จริงแท้จะมีอยู่ก็แต่ในเพศบรรพชิตเท่านั้น และเชื่อว่าพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี มีคุณธรรมความบริสุทธิ์ กว่าพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี
            ๖. ชาวสยามไม่มีความคิดเห็นอย่างไรเลยในเรื่องพระเจ้าในสวรรค์   ศาสนาของเขาสรุปลงเพียงการสักการะบูชามนุษย์ผู้ตายแล้วเท่านั้น ชาวจีนก็คงบจะถือตามนี้ด้วย
บทที่ยี่สิบสาม กำเนิดพระภิกษุสงฆ์และความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์
            ๑. ดูเหมือนจะต้องไปค้นหากำเนิดของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องราวดึกดำบรรพ์ของเมืองจีน
            ๒. แม้ชาวจีนโบราณจะไม่เคยนับถือเทวภูมิ แต่ต่อมาก็สลายความคิดเห็นนั้น  ชาวจีนโบราณเชื่อว่าแผ่นดินกับทะเลอยู่ต่อกันกับสวรรค์ตรงขอบฟ้า จึงบจำแนกวิญญาณดวงเดียวกันนั้นทั้งในสวรรค์และพิภพ ชาวจีนจึงได้สร้างศาลเจ้าขึ้นต่างกันเป็นสองหลัง หลังหนึ่งอุทิศให้แก่สวรรค์ อีกหลังหนึ่งอุทิศให้แก่พิภพ
            ๓. ชาวจีนโบราณปลดพระกรุณากับพระอานุภาพจากพระเจ้า
            ๔. ชาวจีนยกพระเจ้าเป็นคล้ายพระราชาแห่งธรรมดาโลกธาตุ แต่ไม่จำต้องปฏิบัติตามเทวบัญชาเสมอไป
            ๕. ขงจื้อเชื่อว่าโลกุตรธรรมนั้นสิ่งสุดวิสัย จึงเชื่อว่าทรรศนะของเราในเรื่องพระเจ้าเป็นสิ่งสุดวิสัยไปด้วย
            ๖. ชาวจีนโบราณนมัสการพระเจ้าผู้สร้างโดยแบ่งแยกไปตามสิ่งที่ได้สร้างขึ้น  จึงจำต้องบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณหรือเจตภูติอันมาก แทนที่จะปฏิบัตคิต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียว
            ๗. ชาวจีนจัดธรรมดาโลกธาตุเป็นรัฐเช่นเดียวกับบ้านของตน  เชื่อว่าบรรดาเจ้านายอันมองไม่เห็นองค์เหล่านั้น มีการติดต่อกับพระราชวงศ์ ของพระเจ้าราชาธิราชกรุงจีนอยู่ไม่ขาดสาย ขุนนางจีนแต่ละคนก็เซ่นสรวงบูชาเทวอำมาตย์ที่มีตำแหน่งตรงกับตนอยู่ในสวรรค์ ส่วนประชาชนก็เซ่นสรวงบูชาเจตภูติสามัญ อันสิงสถิตอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง
            ๘. ชาวชมพูทวีปช่วยแถมในความหลงผิดนี้อย่างไร  ชาวชมพูทวีปยุคปัจจุบันก็เชื่อทำนองคล้ายกันกับชาวจีนยุคดึกดำบรรพ์เหมือนกันว่ามีวิญญาณทั้งที่ดีและที่ชั่ว สิงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง ดวงวิญญาณเหล่านี้ที่ชาวชมพูทวีปนำเอาอานุภาพของพระเจ้าองค์เดียวในสวรรค์มาแจกจ่ายให้ และยังพบร่องรอยแห่งความคิดเห็นนี้ หลงเหลืออยู่แม้ในหมู่ชาวชมพูทวีปที่นับถือศาสนาพระมะหะหมัด ดวงวิญญาณแห่งสวรรค์ (เง็กเซียนฮ่องเต้) ของชาวจีนยุคโบราณ ก็มีสภาพคล้ายเทพเจ้า และดูเหมือนว่าจะเป็นอมตะ
            ๙. เหตุใดชาวชมพูทวีปจึงไม่สร้างเทวสวถานให้บรรดาเทพเจ้าแม้แต่องค์เทวราชเอง  เพราะเขาเชื่อว่าดวงวิญญาณเหล่านี้ก็เหมือนกับดวงวิญญาณอื่น ๆ คือยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะสงสาร
            ๑๐. ชาวจีนยุคโบราณแห่งอำนาจการยุติธรรมของพระเจ้า
            ๑๑. เทวราช (เง็กเซียนฮ่องเต้) ทำหน้าที่ลงโทษความผิดของพระเจ้ากรุงจีนเป็นสำคัญ
            ๑๒. ชาวจีนเชื่อว่าจักรพรรดิ์ของตนรับผิดชอบต่อพระเจ้าในศีลธรรมของอาณาประชาราษฎรอย่างไรบ้าง พระเจ้ากรุงจีนองค์หนึ่งทรงรับเอาความผิดคิดมิชอบของราษฎรเป็นความผิดของพระองค์เองแต่ผู้เดียว ยอมถวายพระชนมฒ์ชีพบูชายันแต่เง็กเซียนฮ่องเต้
            ๑๓. ชาวจีนกลัวบิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว  วิญญาณเหล่านั้นยังอาจลงโทษความผิดของพวกลูกหลานได้อยู่อีก
            ๑๔. ชาวจันสมัยใหม่ที่คงแก่เรียน ไม่นับถือพระเจ้า
            ๑๕. ชาวสยามไม่มีผู้พิพากษาบุญบาปของมนุษย์อื่นนอกจากบุญทำกรรมแต่งเท่านั้น
            ๑๖. ชาวชมพูทวีปเชื่อว่าพระสงฆ์กับพระธรรมนั้นเก่าแก่เท่า ๆ กับมนุษยชาติ   ต้นกำเนิดของพระสงฆ์และสมณะจำพวกเดียวกัน อันมีอยู่แพร่หลายทั่วซีกโลกภาคตะวันออก ภายใต้ชื่อต่าง ๆ กันเป็นพราหมณ์ โยคี และเป็นภิกษุนั้น มีมาช้านานแล้วแต่ดึกดำบรรพ์ ชาวชมพูทวีป ไม่รุบะว่าใครเป็นปฐมศาสดาของพวกตน
            ๑๗. ชาวจีนระบุว่าเซ็กเกียเป็นผู้ทำให้กำเนิดหลักธรรมนี้  ชาวจีนกล่าวว่าพระสงฆ์กับพระธรรมมาสู่เมืองจีนจากชมพูทวีปในปีที่แปดแห่งรัชกาลของพระเจ้าหมิ่นตี่ อันตรงกับปีที่ห้าแห่งศาสนธรรมของเรา ชาวจีนระบุว่าเป็นคนสยามคนหนึ่งชื่อเซ็กเกีย เป็นผู้ให้กำเนิดหลักธรรมนี้ เมื่อประมาณพันปี ก่อนพระเยซูคริสต์เกิด ทั้ง ๆ ที่ชาวสยามเองก็มิได้กล่าวเช่นนี้
            ๑๘. คำว่าเซ็กเกีย คงเป็นนามเรียกพระสงฆ์ในภาษาสยามนั่นเอง  ชาวสยามเรียกพระสมณโคดมของเขาว่า พระพุทธิเจ้า อันมีความหมายว่า เจ้านายผู้ยิ่งใหญ่ และประเสริฐสุด และเขาก็เรียกพระเจ้าแผ่นดินของเขาโดยทำนองเดียวกัน ชาวจีนเรียกพระภิกษุ หรือหลวงจีนของตนว่าเซ็กเกีย เราไม่อาจยึดเอาคำยืนยันของชาวจีน มาเป็นหลักฐานได้ว่า เมื่อพันปีก่อนพระเยซูตริสต์เกิดนั้น ได้มีชาวอินเดียคนหนึ่งชื่อเซ็กเกีย เป็นผู้ต้นความคิดในเรื่องสังสารวัฎ
            ๑๙. วิธีสั่งสอนประชาชนในสมัยโบราณใช้โคลงกลอนและดนตรี  ก่อนที่พระภิกษุสงฆ์จะจาริกจากชมพูทวีปไปสู่ประเทศจีนนนั้น ชาวจีนไม่มีนักพรต หรือพระภิกษุสงฆ์แต่ประการใด ซ้ำยังไม่มีสมณะในศาสนาเก่าแก่อันเป็นศาสนาสำหรับแผ่นดิน วิธีสั่งสอนประชาชนอันเก่าแก่ใช้กาพย์กลอน และดนตรี ชาวจีนมีโคลงอยู่ ๓๐๐ บท  เป็นของขงจื้อเป็นส่วนใหญ่
            ๒๐. เหตุใดพระภิกษุสงฆ์และนักพรตจำพวกเดียวกัน จึงสามารถมาแทนกาพย์ โคลงและดนตรีได้
บทที่ยี่สิบสี่ ชาดกอันเหลือเชื่อที่พระภิกษุสงฆ์ และนักพรตจำพวกเดียวกันแทรกเข้าไปในพระธรรม
            ๑. นิทานอันติดปากของชาวชมพูทวีป  ชาวชมพูทวีป เชื่อว่าบรรดาดาวนักษัตร ภูเขา แม่น้ำ อาจคิดพูด และทำการเสกสมรสและมีบุตรด้วยกันได้  เขาเล่าเรื่องเวียนว่ายตายเกิดของมหาบุรุษ ที่เขาบูชาว่า เคยเสวยพระชาติเป็นสุกร วานร และสัตว์อื่น ๆ
            ๒. นิยายที่ชาวสยามเล่าถึงพระสมณโคดม  เล่ากันว่าพระองค์ได้ทรงสละพระราชศฤงคารให้เป็นทานทั้งหมด  ทรงควักพระเนตรและปลงพระชนม์พระชายา กับพระโอรสธิดา นำเอามังสะมาใช้ปรุงเป็นของฉัน อังคาสพระสงฆ์สหชาติพระองค์
            ชาวสยามหมายใจคอยหาพระสมณโคดมอีกพระองค์หนึ่ง  ซึ่งชาวสยามอ้างว่าพระสมณโคดมได้ทรงพยากรณ์ไว้ ทำให้ชาวสยามพากันสนใจและเชื่อถือ ทุกครั้งที่มีผู้โจษให้ฟังถึงบุคคลอันผิดธรรมดา ดังปรากฎขึ้นในกรุงสยามเมื่อหลายปีมาแล้วนี้ มีเด็กชายผู้หนึ่งเป็นใบ้ รูปร่างก็ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา ได้มีการโจษจันกันไปทั่วราชอาณาจักรว่า  เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายของชนชั้นดั้งเดิม ที่เคยมีรกรากในประเทศนี้มาก่อน  และจะได้ตรัสรู้เป็นพระเจ้าในวันหนึ่ง ประชาชนพากันแตกตื่นมาจากทุกสารทิศ เพื่อสักการะบูชาและอวยอามิสพลีต่าง ๆ จนพระเจ้าแผ่นดินทรงเกรงจะเกิดเหตุใหญ่ จากความบ้าคลั่งนี้จึงทรงระงับด้วยการลงทัณฑ์ผู้คนบางราย ที่ปล่อยตัวให้งมงายจนถึงขนาด เรื่องทำนองคล้าย ๆ กันนี้ก็ได้เกิดขึ้นที่เมืองโคชินจีน (ญวน)
            พระสมณโคดม ทรงกระทำพระองค์ให้พิสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยการบำเพ็ญทานบารมี โดยสละจากเครื่องผูกพันชีวิตทุกสถาน พระองค์เริ่มอดอาหาร จำศีลภาวนา และบำเพ็ญจริยวัตรอย่างอื่น เพื่อฟอกพระกมลสันดานให้บริสุทธิ์ แต่การบำเพ็ญจริยวัตรเช่นนี้จะสะดวกชั่วทรงสมณเพศเท่านั้น  พระองค์จึงสละราชสมบัติ ออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเมื่อได้ทรงบำเพ็ญเพียรสมณธรรมโดยสมบูรณ์ทุกกระบวนการแล้ว ก็ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยพระองค์เองในทันทีทันใด
            พระองค์ทรงมีพระพลาภินิหารมาก ทรงมีชัยในการต่อสู้กันตัวต่อตัวกับบุรุษผู้หนึ่งซึ่งบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมวิเศษมาสมบูรณ์แล้ว ชาวสยามเรียกสุวรรณ บุรุษผู้นี้ไม่เชื่อในความตรัสรู้ของพระสมณโคดม จึงได้ท้าทายให้ประลองกำลังกัน แล้วก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป
            นอกจากพระพลาภินิหารแล้ว พระสมณโคดมยังมีพระเดชาภินิหารที่จะสำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้ทุกอย่าง พระองค์ได้เสวยวิมุติสุขในพระนฤพาน ทรงพระปรีชาญาณเข้าพระทัยในสรรพสิ่งทั้งปวงในสกลโลกธาตุได้โดยฉับพลัน เห็นสิ่งในอดีต และอนาคต ได้ด้วยทิพจักขุญาณ มีพระกายอันเคลื่อนไหวว่องไวเป็นที่สุด เสด็จเหินจากที่หนึ่งไปสู่อีกแห่งหนึ่งได้โดยง่าย เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดคนทั้งปวง

            พระองค์ทรงมีอัครสาวกที่สำคัญสององค์ มีนามว่าพระโมคลา และพระสารีบุตร ชาวสยามเล่าว่าพระโมคลานั้น เมื่อฝูงสัตว์นรกวิงวอนขอให้ช่วย ท่านก็เพิกพลิกปฐพีดล และรวบเอาไฟนรกไว้ในอุ้งหัตถ์ แต่ครั้นเมื่อจะดับก็ไม่สำเร็จ จึงเข้าไปกราบทูลวิงวอนพระพุทธิเจ้า ขอให้ช่วยดับไฟนรกนั้นให้ด้วย แต่แม้ว่าพระพุทธิเจ้าจะทรงสามารถทำได้ พระองค์ทรงดำริว่าไม่ใช่เวลาอันควร จึงทรงมีพระพุทธบรรหารว่าเพราะมนุษย์จะทวีความร้ายกาจสามาณย์ชั่วช้ายิ่งขึ้น ถ้าสิ้นความกลัวการลงทัณฑ์ในนิรยภูมิเสียแล้ว
            นับตั้งแต่พระพุทธิเจ้าทรงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ก็ยังไม่หยุดที่จะพิฆาตมารตนหนึ่ง และโทษแห่งความผิดอันใหญ่หลวงนี้ พระชนมพรรษาของพระองค์จึงยืนไปถึงเพียง ๘๐ พรรษาเท่านั้น ครั้นแล้วพระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยหายวับไปในทันทีทันใดประดุจเปลวไฟหายวับไปฉะนั้น
            พวกมารเป็นชาติศัตรูของพระสมณโคดม ชาวสยามเรียกผู้ที่เป็นราชาว่าพญามาร
            อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระพุทธิเจ้าเสวยเนื้อสุกรเข้าไป จึงทรงพระประชวรลงพระนาภี พระโรคสังหารพระชนม์ชีพของพระองค์ ชาวสยามสันนิษฐานว่า ดวงวิญญาณของมาร ที่พระองค์ทรงพิฆาตฆ่าเสียนั้น ได้เข้าไปสิงอยู่ในรูปกายของสุกร
            เมื่อก่อนที่พระสมณโคดมจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ได้ทรงมีพระอาณัติไว้ว่าให้สร้างปฏิมากรและโบสถ์วิหารถวายพระองค์ด้วย ชาวสยามยังเชื่อว่า พระสมณโคดมนั้น เสวยปรมัตถบรมสุข จึงสวดมนตร์ระลึกถึงพระองค์เมื่อต้องประสงค์สิ่งใดก็กราบทูลขอให้พระองค์ช่วย
            ๓. มีเค้าว่าไม่เคยมีพระสมณโคดมเลย  โดยที่ชาวสยามกล่าวถึงพระสมณโคดมของเขาแต่ล้วนที่เป็นนิยายเหลือเชื่อทั้งสิ้น และชาวสยามก็มิได้นับถือพระสมณโคดม ว่าเป็นผู้ให้กำเนิดกฎหมาย (หรือสิกขาบท) และพระธรรม อย่างมากก็เพียงระลึกว่าได้ช่วยสร้างสรรให้เขาเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาเท่านั้น และในที่สุดชาวสยามก็มิได้บันทึกประวัติอันมีเหตุผลน่ารับฟังได้ไว้เลย ชาวสยามนึกสมมติเอาว่า ในเวลาที่ดวงวิญญาณของพระสมณโคดมเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนั้น พระองค์ได้เคยปฏิสนธิเสวยพระชาติเป็นไปทุกอย่างหมด และล้วนเป็นแต่ที่ดีเลิศทั้งนั้น
            ๔. การเดาตามหลักนิรุกติศาสตร์ถึงพระนามพระสมณโคดมและถึงคำบาลีว่าเป็นภาษาอะไร
            ๕. ดูเหมือนจะพิสูจน์ได้ว่าลัทธิบูชาสวรรค์แบบชาวจีนจะเก่าแก่ที่สุดในประเทศสยามกว่าความคิดเห็นเรื่องวัฏสงสารเสียอีก ชาวสยามนั้น น่าจะได้นับถือสวรรค์อย่างชาวจีน ในยุคดึกดำบรรพ์มาแต่ก่อน ต่อมาเมื่อได้หวนมาถือหลักธรรมว่าดัวยวัฏสงสารคือ การเวียนว่ายตายเกิด และค่อย ๆ ลืมความหมายอันแท้ของพระนามของพระสมณโคดม จึงนึกปั้นมนุษย์ผู้หนึ่งขึ้นเป็นพระวิญญาณ หรือพระจิตแห่งสวรรค์ แล้วสร้างชาดกหรือนิยายทั้งปวงที่ได้กล่าวมาแล้ว นับว่าเป็นศิลปะอันยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนศรัทธาของปวงชนชาวสยาม ยังเชื่ออีกว่าพระสมณโคดมได้ทรงทำบาปเหมือนกัน พระองค์จึงต้องรับโทษทัณฑ์ แม้ขณะที่พระองค์สมควรจะบรรลุพระนฤพานแล้ว ชาวสยามเชื่อว่าการนมัสการพระสมณโคดมนั้นกระทำกันแต่ในหมู่ชาวสยามเท่านั้น ส่วนประชาชาติอื่น ๆ ก็มีศาสดามนุษย์คนอื่นที่บำเพ็ญเพียรให้สมควรแก่การได้รับการตั้งแท่นบูชา
            ๖. เจตนารมณ์แห่งศรัทธาธรรมของชาวชมพูทวีปนั้นเป็นไฉน หรือการปฏิบัติตามประเพณีนิยมของชนเหล่านั้น  ชาวชมพูทวีปโดยทั่ว ๆ ไปจึงถือว่ามนุษย์ต่างด้าวต่างแดน ก็คงจะต้องมีลัทธิบูชาต่าง ๆ กันออกไป ชาวชมพูทวีปไม่ได้เชื่อว่าหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้น ได้จดจารึกมาจากสัจจธรรม อันเป็นนิรันดร และที่จะมีผิดพลาดมิได้
            ๗. ลัทธิบูชาของชาวสยามไม่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพวกเขามีความเชื่อถือในเรื่องพระเจ้าแต่ประการใด  เราควรเรียกชาวชมพูทวีปว่าเป็นพวกไม่เชื่อว่า มีพระเจ้ามากกว่าที่จะเรียกว่าเป็นพวกนับถือรูปบูชา
บทที่ยี่สิบหก ข้อควรระวังนานาประการในการเทศนาสั่งสอนศาสนาแก่ชาวตะวันออก
            ๑. ความเชื่อในพระศาสนาของเราเป็นเครื่องบัดสีใจชาวตะวันออกอยู่หลายประการจึงไม่บังควรเทศนาสั่งสอนโดยปราศจากความระมัดระวัง  ทางที่ดีอย่าเพิ่งเทศนาแก่พวกมิจฉาทิฏฐิ โดยปราศจากการระมัดระวังถ้อยคำให้มาก ๆ ถึงการนมัสการนักบุญต่าง ๆ และความรู้ถึงเรื่องพระเยซูคริสต์เอง
            ๒. การจะอนุญาตให้อ่านคัมภีร์ไบเบิลก็ต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก
            ๓. พึงเจรจากกับชาวตะวันออกด้วยความนับถือในตัวผู้บัญญัติธรรโมวาททั้งหลายของเขา
            ๔. ผู้บัญญัติธรรมเหล่านี้ก็สมควรได้รับคำสรรเสริญเยินยอบ้าง
            ๕. หลักธรรมเวียนว่ายตายเกิดก็พอให้อภัยให้ได้โดยอาศัยเหตุผลทางปรัชญาธรรมชาติ
            ๖. และโดยเหตุผลทางรัฏฐประศาสโนบาย  ผลอันเกิดตามมาจากหลักธรรมนี้ การหาผู้บริโภคเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่ร่างกายมากในชมพูทวีป และการสยองโลหิตก็นับว่าเป็นประโยชน์ในที่ทุกแห่ง  พระยาพระคลัง พี่ชายของเอกอัครราชทูตสยาม
ไม่หยุดยั้งที่จะตำหนิติเตียนคริสตศาสนิกชนในเรื่องกระหายสงครามนองเลือด ความคิดเห็นในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดก็เป็นเครื่อง
ปลอบประโลมใจมนุษย์ในยามมีเคราะห์ร้าย และให้มีจิตใจแข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อความกลัวตาย ด้วยความหวังว่าจะได้ไปเกิดใหม่มีความ
สุขในชาติหน้า อำนวยให้แก่บุคคลที่ประพฤติดีประพฤติชอบ
            ๗. การยำเกรงบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว น่าให้อภัยได้ โดยเหตุผลทางรัฏฐประศาสโนบาย  การที่บุตรธิดามีความยำเกรงต่อบิดา
มารดาของตนผู้ล่วงลับไปแล้ว ขงจื๊อถือว่าเป็นพื้นฐานอันเดียวแท้ของนโยบายการปกครองที่ดี ก่อให้เกิดความสงบสุขใสครอบครัว และในบ้านเมือง  หลักธรรมของจีนนั้นไม่มีสวรรค์อื่น นรกอื่น นอกจากภูติภูมิ ซึ่งเขาเชื่อว่า เมื่อวิญญาณออกจากร่างในชีวิตนี้แล้ว ก็จะไปสู่ ณ ที่นั้น และจะได้รับการต้อนรับ จากวิญญาณของบรรพบุรุษ ของคนดีเลวอย่างใด ก็สุดแต่กุศลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ในชาติ ที่ล่วงมาแล้วนั้น
            ๘. ความยำเกรงนี้ทำให้พระราชกำหนดกฎหมายของประเทศจีนสถิตสถาพร   ด้วยความเชื่อดังกล่าวมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินจีน จึงทรงงดเว้นการกระทำใด ๆ  อันจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในแผ่นดินทั้งสิ้น  มีแต่ผู้ที่เป็นกบฎปล้นราชบัลลังก์เท่านั้น ที่จะกล้าทำเช่นนั้นได้
            ๙. มีข้อไม่สะดวกอยู่บ้าง    ขงจื้อถูกสานุศิษย์คนหนึ่งถามว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีญาณหยั่งรู้ความเคารพ ตามหน้าที่ของบุตรหลานของตน ที่เซ่นสรวงพลีกรรมบ้างหรือไม่  ได้ตอบว่า มิควรที่จะมาตั้งปัญหาถามเรื่องอันชอบกลมากเกินไป เช่นนี้
            ๑๐. อย่าคิดว่าพระภิกษุสงฆ์ลวงโลกเพราะรู้ตัวและเพื่อผลประโยชน์    เมื่อท่านเทศนาสั่งสอนคฤหัสถ์ให้ทำบุญสุนทานแด่พระสงฆ์  ท่านก็เชื่อว่า ท่านได้เทศนาสั่งสอนประชาชน ไปตามหน้าที่ของบรรพชิต  ไม่ว่าในบ้านเมืองใด บรรพชิตทั้งหลายก็ย่อมเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ด้วยธุรกิจในศาสนาด้วยกันทั้งนั้น
            ๑๑. จำเป็นต้องใช้อาการแทรกซึมกับชาวตะวันออกเท่าที่บาทหลวงในคริสตศาสนาและเยี่ยงอย่างของคริสตศาสนิกชน ในชั้นต้นยุคจะพึงอนุญาตให้ทำได้  ต้องแสดงให้เขาเห็นประหนึ่งว่า มิได้ตั้งใจซึ่งความหลงผิดคิดพลาดของเขา ในด้านวิชาความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคณิตศาสตร์ และกายวิภาคศาสตร์ อันเป็นวิชาที่พวกเขาอ่อนอย่างยิ่งคือ การเปลี่ยนแปลงศัพท์สำนวนในเรื่องลัทธิบูชาของเรา ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้นามแก่พระเจ้าว่า จอมราชันย หรือจอมสวรรค์  และจอมพิภพ หรือนามอื่น ๆ ในภาษาพื้นเมืองอันควรแก่การเคารพบูชาก็ได้  เช่น คำว่า พระ ในภาษาสยาม เป็นต้น  ขณะเดียวกันก็จำต้องสั่งสอนคนเหล่านี้ ให้มีจิตผูกพันอยู่กับนามเหล่านั้น ด้วยความคิดเห็นอันสมบูรณ์ของพระเจ้า  จงทำให้คนไข้เชื่อว่า ยาบำบัดโรคขนานที่เขาใช้อยู่เดิมนั้นไม่ดี  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เขาก็จะผลีผลามเข้ามารับยาขนานที่ท่านหยิบยื่นให้ในทันที
            ๑๒. นักสอนศาสนามีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องทำตนให้กลมกลืนไปได้กับขนบธรรมเนียมพื้น ๆ ของชาวตะวันออกในประการที่ไม่ขัดแก่พระศาสนา  ความสำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งในบรรดาความประพฤติหลายประการ ของนักสอนศาสนาก็คือ   การทำตนให้กลมกลืนไปได้กับขนบธรรมเนียมอย่างพื้น ๆ ของชาวตะวันออก ในเรื่องการบริโภค  การใช้เครื่องใช้ไม้สอย  บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และในที่สุดสิ่งตามที่มีบัญญัติไว้เป็นวัตรปฎิบัติของพระภิกษุสงฆ์  บรรดาที่ไม่เป็นการตรงกันข้ามกับคริสตวินัย  ตัวอย่างบาทหลวงเยซูอิดผู้หนึ่งถูกส่งไปเผยแพร่คริสตศาสนาในราชอาณาจักรมาติวเร ในชมพูทวีปได้ตัดสินใจที่จะมีชีวิตอยู่อย่างใยดี ไปไหนมาไหนก็เดินด้วยเท้าเปล่า และศีรษะเปล่า นุ่งห่มเกือบจะเปลือยในทุ่งทราย อันร้อนแรงของประเทศนั้น และกินอาหารอย่างอดออมแร้นแค้นเป็นที่สุด  และเล่ากันว่าเขาได้กลับใจมนุษย์ที่เห็นผิดให้หวนมา เข้ารีตนับถือคริสตศาสนาเกือบสี่หมื่นคน
            ในบ้านเมืองนั้น ๆ  เราจำต้องเรียนรู้การเว้นการทั้งปวงที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาเว้นกัน  และไม่พึงนำเอาความสะดวกสบาย หรือความหรูหรา ฟุ่มเฟือยของประเทศฝรั่งเศส ไปใช้ในชมพูทวีป ถ้าเราไม่ปรารถนาที่จะได้ความอิจฉาริษยา และความละโมภอยากได้จากประเทศชาติ ซึ่งเอกชนเขาปิดซ่อนทรัพย์สินกัน
            ชาวตะวันออกนั้น ดูเหมือนจะมิได้รังเกียจศาสนาหนึ่งศาสนาใดเลย  และพวกเราจำต้องยอมรับสารภาพว่า ถ้าหากความเฉิดฉายของคริสตธรรม ไม่สามารถดลใจให้พวกเขาเลื่อมใสได้แล้ว ข้อสำคัญก็เนื่องจากความคิดเห็นอันชั่วช้า ที่พวกคริสตตังได้ให้แก่พวกเขานั่นเอง  มีความตระหนี่ถี่เหนียว ความทรยศคดโกง  การบุกรุกย่ำยี และการกดขี่ข่มเหงของชาวปอร์ตุเกศ กับชาวฮอลันดาในชมพูทวีป และการไม่มีศาสนาของคนจำพวกหลังนี้เป็นประการสำคัญ