เงินกระดาษหลวง
(Treasury Note)
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พ่อค้าชาวต่างประเทศ ในการนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทกับพระคลัง
เพื่อใช้ซื้อสินค้าในประเทศไทย ในจำนวนปีละไม่ต่ำกว่าแสนชั่งในห้วงระยะเวลานั้น
ทำให้รัฐบาลไทยต้องจัดหาเงินบาท ให้พอเพียงกับความต้องการดังกล่าว โดยใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงินกระดาษออกใช้เป็นสื่อกลางในการชำระหนี้
เงินกระดาษนี้เรียกว่า "ตั๋วเงินกระดาษ"
โดยมี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นผู้ดำเนินการ
-
ในปี พ.ศ. 2433
กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงค์ รองอธิบดีกรมพระคลัง
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สั่งพิมพ์ตั๋วเงินกระดาษจำนวน
3,951,500 ฉบับ เป็นชนิดราคา 1 บาท 5 บาท 10 บาท
20 บาท 40 บาท 80 บาท 100 บาท และ 400 บาท และ 800 บาท
รวม 8 ชนิด เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 240,000 ชั่ง คิดเป็นค่าจ้างดำเนินงานเป็นเงิน
14,500 ปอนด์ โดยมีเงื่อนไขให้ห้าง กีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท
ต้องมอบแบบพิมพ์และเครื่องมือให้แก่รัฐบาลไทย ฝึกสอนพนังงานให้สามารถใช้เครื่องมือเหล่านั้นเป็น
ในการลงนามในการจัดทำสัญญา ให้ราชทูตของสยามประจำกรุงเบอร์ลิน เป็นผู้ลงนามในสัญญา
และดูแลให้บริษัทปฎิบัติตามข้อตกลงระหว่างกันด้วย
ตั๋วเงินกระดาษงวดแรกได้รับเมื่อปี พ.ศ. 2434 ได้เตรียมการนำตั๋วกระดาษออกใช้เป็นจำนวนไม่เกิน
240,000 ชั่ง แยกเป็นชนิดราคา 1 บาท 40,000 ชั่ง ชนิดราคา 5 บาท
20,000 ชั่ง ชนิดราคา 20 บาท 40,000 ชั่ง ชนิดราคา 40 บาท 20,000
ชั่ง ชนิดราคา 80 บาท 40,000 ชั่ง ชนิดราคา 100 บาท 30,000 ชั่ง
ชนิดราคา 400 บาท 25,000 ชั่ง และชนิดราคา 800 บาท 25,000 ชั่ง
ได้มีการนำเงินกระดาษหลวงออกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2436 เงินกระดาษหลวงนี้มีขนาดต่าง
ๆ กัน จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ตามลำดับราคา ทั้งสองด้านพิมพ์สอดสี
ประกอบด้วยลายเฟื่อง มีข้อความบอกราคาเป็นภาษาไทย อังกฤษ มลายู เขมร
และลาว ไว้ทั้งสองด้าน ด้านหน้าพิมพ์ตราอาร์มแผ่นดินและมีข้อความพิมพ์ว่า
"เงินพระคลังมหาสมบัติ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ตั๋วสำคัญนี้ เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ
ได้ออกโดยพระบรมราชโองการ เงินพระคลังมหาสมบัติกรุงสยาม ราคา...........บาท
หอรัษฎากรพิพัฒน์ พระบรมมหาราชวังกรุงเทพ ฯ" และ "ตั๋วสำคัญฉบับนี้
เจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ รับสัญญาจะให้เงินสดแก่ผู้ถือมาในเวลาที่มาขึ้น
ที่หอรัรษฎากรพิพัฒน์ กรุงเทพ ฯ ในทันทีตามราคามีในตั๋วนี้"
ด้านหลังของเงินกระดาษหลวง ได้นำรูปช้างสามเศียรไอยราพต หนุนพระเกี้ยวและตราอาร์มแผ่นดินขนาดต่าง
ๆ ลงพิมพ์ไว้เฉพาะเงินกระดาษหลวงชนิดราคา 40 บาทขึ้นไป
ลักษณะอื่น ๆ ของเงินกระดาษหลวง ได้แก่การกำหนดราคาโดยใช้มาตราเงินไทยแบบเดิม
ที่เทียบค่าของเงินเป็น บาท ตำลึง ชั่ง เงินกระดาษหลวงที่เตรียมออกใช้ใน
1 เมษายน 2436 ในที่สุดก็มิได้นำออกใช้โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
คงเก็บไว้ในคลังของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2442
มีการปรับปรุงหน่วยงานในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีการจัดตั้ง
"กรมธนบัตร"
ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลการออกธนบัตรของรัฐบาลไทย เห็นสมควรให้ออกธนบัตรชนิดใหม่
และยกเลิกเงินกระดาษหลวงเสีย
