| หน้าต่อไป |

พระราชหัตถเลขา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชหัตถเลขา คือหนังสือซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเขียนเองไปถึงผู้หนึ่งผู้ใดฤาลงพระนามด้วยพระราชหัตถ์ ในหนังสือซึ่งมีไปถึงผู้หนึ่งผู้ใด เข้าใจว่าเป็นของมีขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 4 แต่ก่อนหนังสือรับสั่งมีไปถึงที่ใด ย่อมมีผู้รับสั่งคือ เสนาบดีเจ้ากระทรวง เป็นต้น เขียนหนังสืออ้างรับสั่งไป แลประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ หาได้ใช้ประเพณีลงชื่อด้วยลายมือเป็นสำคัญไม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ 3 ได้ทรงศึกษาทราบภาษาอังกฤษก่อนเจ้านายประเทศอื่น ทางตะวันออก พระปรีชาญาณปรากฎไปถึงนานาประเทศ เป็นเหตุให้ชาวต่างประเทศที่เป็นนักปราชญ์บ้างเป็นข้าราชการบ้าง แม้จนพวกพ่อค้าแลมิชชันนารีจะใคร่คุ้นเคยกับพระองค์ ต่างเขียนหนังสือฝากเข้าถวาย จึงมีพระราชหัตถเลขาตอบตามแบบอย่าง ฝรั่งต่างประเทศมีหนังสือไปมาถึงกัน กล่าวคือที่เขียนเองแลท้ายหนังสือลงชื่อด้วยลายมือเป็นสำคัญนั้น จึงเลยอนุโลมเป็นแบบอย่างต่อมาถึงพระหัตถ์ซึ่งทรงในภาษาไทยด้วย
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงคุ้นเคยกับชาวต่างประเทศกว้างขวางอยู่แล้ว ด้วยเหตุดังกล่าว การที่ทรงพระราชหัตถเลขาจึงมีติดต่อมา แลกว้างขวางเมื่อในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นอย่างจดหมายมีไปมาในส่วนกิจเฉพาะพระองค์ ส่วนหนังสือที่มีไปบังคับบัญชาราชการ ยังคงโปรดให้คงใช้ประเพณีมีผู้รับสั่งตามแบบเดิม .....
( หอพระสมุดวชิรญาณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 สภานายก )

ในที่นี้จะได้นำเสนอพระราชหัตถเลขาของพระองค์บางฉบับ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ความเป็นไปห้วงเวลานั้นในด้านต่าง ๆ อันเป็นห้วงเวลาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทางตะวันตก โดยองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการด้วยพระองค์เองด้วย พระปรีชาญาณอันกว้างขวางและยาวไกล  สุขุม  คัมภีรภาพ และมนุษยสัมพันธ์อันเลิศ รวมทั้งพระอัจฉริยภาพ ในด้านต่าง ๆ อีกเป็นอันมาก ที่เราจะได้รับจากบรรดาพระราชหัตถเลขาของพระองค์


พระราชหัตถเลขาก่อนเถลิงถวัลยราชสมบัติ

                                            To The Gentteman G.W. Eddy 
ToThe Gentlemen  G.W. Eddy  & c  & c &  cSir,
            The names by which the common people of Siam call me are ''Thun Kramom Fa Yai.'' By these two names I find 
I am generally known in foreign countries. The former is a title expressive of great respect, and is chiefly used by those 
who are, in law and custom, my inferiors and dependents; as younger brothers and sisters, children, servants and people.
The latters is used by those who are nominally my superiors and those who do not feel themselves particularly depent on 
me, or accountableto me. The word 'Thun' means to put in a high place: 'Kramom' is the middle of the top or crown of 
the head: 'Chau' corresponds to the English word Lord, or the Latin Dominus: 'F' is Sky; but when used in a person's 
name, it is merely an adjective of exaltation, and is equivalent to the phrase 'as high as sky'. the remainig word 'Yai', 
means great, or elder; and I am so called to distinguish me from my broher who is younger than I.
            But the name which my father, who prededed His Majesty the present King of Siam, gave meand caused to be 
engraved in plate of gold is "Chau Fa Mougkut Sammatt Wongs." Oniy the first three ofthis words, however, are 
commonly used in public Document at the present time. "The. 'Mongut' means Crown. The name 'Chau Fa Mongkut' 
means "The High Prince of the Crown" or his Royal Highncss the Crown Prince." I prefer that my friends, when they write 
me letters, or send parcels to me, will use this name, with letters 'T.Y'. prefixed as being that by which I am known in the 
law and public Documents of Siam.
            But some of my friends at Celon who are Mugadhist, have called my name "Wajiraneano" whichmy preceptor had 
given me to be used in Budhism: it means thus  "he has lightness of Skill like adiamond." Therefore the Singallese 
generrally address me thus "Makuto Wajaraneano Thero." 'Makuto ' ischanged from Siamese name to ugadhism: 
'Thero' is a term for chief priest who are venerable in religious knowledge.
                                                     I have the honour to be,
                                                        Your  Sincere friend,
                                                            T.Y.  Chau Fa  Mongkut.Wat PawarnivesNorthern  King  Street, Bangkok, Siam 
July  14 th. A. Ch. 1848

พระราชหัตถเลขาถึงนายยี ดับลยู เอ๊ดดี

จดหมายมายังนาย ยี. ดับลยู. เอ๊ดดี ฯลฯ    ฯลฯ    ฯลฯ  ให้ทราบ
         นามซึ่งคนธรรมดาในสยามเรียกข้าพเจ้านั้นคือ "ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่" แล "เจ้าฟ้าใหญ่" ทั้งสองนาม
นี้ข้าพเจ้าทราบว่ามักใช้เรียกข้าพเจ้าในต่างประเทศ นามต้นเป็นคำแสดงความนับถืออย่างสูง แลใช้กันโดยมากในพวกที่มียศต่ำกว่า แลผู้พึ่งพำนักข้าพเจ้าตามกฎหมาย
และประเพณี เช่น อนุชา โอรสมหาดเล็ก แลราษฎร เป็นต้น นามท้ายเป็นนายใช้กันตามพวกที่สมมติว่ามียศสูงกว่าข้าพเจ้า แลผู้ที่ไม่รู้สำนึกตนว่าต้องพึ่งพำนักข้าพเจ้า 
หรือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อข้าพเจ้า คำว่า ทูล แปลว่า วางไว้ที่สูง กระหม่อม แปลว่า กลางยอด แห่งศีรษะ คำว่า เจ้า นั้น ตรงกับคำอังกฤษว่า ลอร์ด หรือคำลาตินว่า โดมินัส 
ฟ้า คือ สไก แต่ถ้าใช้กับชื่อบุคคลก็เป็นคุณศัพท์ เพื่อแสดงบรรดาศักดิ์สูง แลมีใจความเท่ากับประโยคว่า สูงเท่าฟ้า อีกคำหนึ่งคือ ใหญ่ แปลว่า โต หรือ แก่กว่า แลการที่เขา
เรียกข้าพเจ้าเช่นนั้น ก็เพราะจะให้ผิดกับพระอนุชา ผู้มีพระชนมายุ อ่อนกว่าข้าพเจ้า 
         แต่นามที่สมเด็จพระชนกนารถของข้าพเจ้า คือพระเจ้าแผ่นดินสยามก่อนพระองค์ เดี๋ยวนี้พระราชทานข้าพเจ้า แลได้จารึกไว้ในแผ่นทองคำนั้น เป็นคำซึ่งเวลานี้มัก
ใช้กันในหนังสือสำคัญทางราชการ มงกุฏ แปลว่า เคราน์ นามซึ่งเรียกว่า เจ้าฟ้ามงกุฏ 
จึงแปลว่า "เจ้าชายทรงยศสูงแห่งมงกุฏ" หรือ "เจ้าฟ้าผู้เป็นรัชทายาท" เมื่อมิตรของข้าพเจ้าเขียนจดหมายหรือส่งห่อของมายังข้าพเจ้า ๆ ชอบให้ใช้นามนี้ แลให้มีอักษร 
ท.ญ. นำหน้า เป็นที่หมายดั่งซึ่งเขาย่อมเรียกข้าพเจ้าอยู่แล้วตามกฏหมาย แลตามหนังสือสำคัญทางราชการแห่งสยาม
         แต่มิตรของข้าพเจ้าบางคนซึ่งอยู่ประเทศลังกาผู้รู้ภาษามคธ เรียกนามข้าพเจ้าว่า "วชิรญาโณ"  อันเป็นนามที่พระอุปัชฌาย์ให้ข้าพเจ้าใช้ในพุทธศาสนา คำนั้น แปลว่า 
"ผู้มีความสามารถอันสว่างประดุจเพชร" เหตุนั้น ชาวสิงหลจึงออกนามข้าพเจ้าดังนี้ "มกุโฏ วชิรญาโณ เถโร" มกุโฏ นั้น เปลี่ยนจากนามภาษาสยามเป็นภาษามคธ เถโร 
เป็นคำเรียกหัวหน้าพระสงฆ์ผู้บุคคลพึงนับถือโดยความรู้ทางศาสนา
                                                                ข้าพเจ้ามีเกียรติเป็น
                                                                มิตรอันมีความจริงต่อท่าน
                                                                (พระอภิธัย) ท.ญ. เจ้าฟ้ามงกุฏวัดบวรนิเวศถนนหลวงด้านเหนือกรุงเทพฯ สยามวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391)


พระราชหัตถเลขาถึงมิสเตอร และมิสซิซ เอ็ดดี
               ข้าพเจ้ามีเกียรติได้รับโดยปิติซึ่งจดหมายกอร์ปด้วยเมตตาของท่าน ...... 
               เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๔๘..... 
               ในขณะที่กำลังเกิดอหิวาตกโรค อย่างร้ายแรงซึ่งเพิ่งมาเยี่ยมประเทศเรา แลลดจำนวนราษฎรในกรุงเทพ ฯ ลงไปภายใน ๔ อาทิตย์ หรือ ๑ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ 
แลที่ ๑๗ เดือนมิถุนายน ปีนี้ ......... 
               ข้าพเจ้าสังเกตุถ่องแท้ จากเด้าความในจดหมายท่านลงวันที่ ๖ ตุลาคม นี้ว่า จดหมายฉบับที่ ๒ ซึ่งข้าพเจ้าส่งไปพร้อมกับของบางอย่างในประเทศนี้ ..... 
               ท่านจงอนุญาตให้ข้าพเจ้าพูดจริงปราศจากข้อความใด ๆ ซึ่งใกล้กับความเท็จ หรือเคลือบคลุมเป็นต้น เพราะความสัตย์ย่อมเป็นสิ่งสำคัญในศาสนาทั้งสิ้นในโลก ..... 
               เพราะฉนั้นข้าพเจ้าขอกล่าวตามความจริงที่อยู่ในใจข้าพเจ้า ข้อความในจดหมายของท่านมักกล่าวถึงความน่าพิศวง แลน่าชมแห่งคุณสมบัติของมิสเตอร์แมตตูน 
แลมิสเตอร์ เอส. อาร์. เฮาส์  เพื่อให้เป็นเครื่องนำความอัศจรรย์ใจให้เกิดแก่ข้าพเจ้า ซึ่งอาจเป็นทางเบื้องต้นชักจูงให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนไปถือคริสตศาสนาโดยง่าย แต่คำพูด
เช่นนั้นมิชชันนารีทุกคนได้พูด แลบรรยาย ณ ที่มามากแล้วกว่าที่ท่านกล่าวพูดซ้ำเล่าจนกลายเป็นของชินหูเพราะไทยเรารู้แน่แล้วว่า การเผยแพร่ของชาวเมืองคริสเตียนนั้น
ได้กระทำโดยประการที่เคยนำคริสตศานาไปสั่งสอนชาวป่า แลชาวประเทศมิลักขะได้ง่ายดายตามวิธีของโคลัมบัสเป็นต้น อนึ่งพวกมิชชันนารีผู้มีความรู้ทางศาสนาดังกล่าว
แล้ว ไม่มีตำแหน่งที่จะหาเลี้ยงชีพในเมืองมารดาของตนโดยวิชาที่มีอยู่ เพราะว่าทีนักเทศน์แลครูสอนศาสนาวิธีเดียวกันมากเกินกว่าจำนวนวัดที่มีในประเทศคริสเตียน
ทั้งหมด จึงต้องดำเนินการหาเลี้ยงชีพด้วยอาศัยรับเงินของผู้มีใจกอปร์ด้วยปราณียอมสละง่าย ซึ่งผู้จ้างบันดาลให้มีความยินดี ยอมเสียเงิน เพื่อให้มีผู้นำศาสนาที่นับถือ
ของตนไปเทศน์สั่งสอนในเมืองอื่น ๆ ซึ่งตนเห็นว่าราษฎรอยู่ในความมืดมนไร้ปัญญาคือความสว่าง แต่คนมีปัญญาเช่นข้าพเจ้า แลคนอื่นที่มีความรู้ทราบดีแล้วว่า 
คริสตศาสนาเป็นแต่การงมงายเชื่อลัทธิโบราณของพวกยิวผู้ใกล้จะเป็นมิลักขะ แต่ว่าได้มีผู้นำเข้าไปแพร่หลายในยุโรป ก่อนแสงสว่างแห่งความรู้อันไม่มีข้อสงสัยคือ
วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นในยุโรป ..... เราติดต่อกับมิตรชาวยุโรป แลอเมริกันกฏเพื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์แลศิลปศาสตร์.....เราทราบแล้ว่ามีคนเป็นอันมากซึ่งรอบรู้
วิชาแลเป็นอาจารย์ในวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ..... พวกนี้ติฉินแลปฎิเสธทุกข้อที่กล่าวไว้ในไบเบอล แลแสดงว่าไม่เชื่อถือเลย ขอท่านอย่ามัวกังวลเขียนแนะนำมาในเรื่องเช่นนั้น 
ถ้าข้าพเจ้าเชื่อลัทธินั้น ข้าพเจ้าก็คงอยู่ในศาสนาคริสเตียนเสียก่อนที่ท่านได้ยินนามข้าพเจ้าแล้วกระมัง .....
               ข้าพเจ้ากล่าวโดยจริงใจว่า  ข้าพเจ้าขอบใจท่านมาก ในการที่ท่านปรารถนาให้ข้าพเจ้ามีความสุขทั้งภายในและภายนอก ..... แต่ข้าพเจ้ารับทำตามคำแนะนำ
ของท่านไม่ได้ เพราะความเชื่อของข้าพเจ้ามีว่า ธรรมะแลคุณความดีโดยกิริยาแลใจ อันเป็นน้ำเนื้อของศาสนาทั้งปวงทั่วโลกนั้น เป็นทางถูกต้องที่จะได้รับสุขนิรันดร.....
               ที่นี่มีผู้ดีหลายคนซึ่งแต่ก่อนได้เชื่อในเรื่องสร้างโลก แลโลกสัณฐานตามตำราของพราหมณ์ ซึ่งคนแต่งหนังสือพุทธศาสนาครั้งโบราณได้นำเข้ามาไว้เป็นลัทธิ
ในพุทธศาสนา โดยไม่รั้งรอผู้รู้อย่างเก่าของเรานั้น ..... การทำนายในเรื่องเยซูตามคำกล่าวของผู้ทายทั้งสิ้น ผู้มีความรู้เหล่านี้ไม่มีใครเชื่อเลย โปรดอย่าต้องลำบากเพื่อชักจูง
เราให้เชื่อในลัทธินั้น เราไปฟังคำบรรยายเป็นอันมากจากพวกมิชชันนารีซึ่งอยู่ที่นี่ ..... คัมภีร์ไบเบอลแลอรรถกถาต่างๆ ก็ได้เคยอ่านมามากแล้ว.....
               ท่านอย่าเสียใจหรือโกรธข้าพเจ้าในเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้วถึงข้อความในเรื่องศาสนา ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนั้นเพราะข้าพเจ้าไม่เต็มใจให้ท่านลำบากในการพยายาม
ชักชวน ซึ่งคงจะไม่เป็นผลสำเร็จได้เลย .....
               ท่านจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นมิตรของท่านผู้มีเกียรติ จะเป็นเอเย่นต์ของท่านในประเทศนี้ ถ้ามีสิ่งใดอยู่ในความสามารถของข้าพเจ้าซึ่งท่านต้องการ
                                                                      (พระอภิชัย) ปรินซ์ ท.ญ. เจ้าฟ้ามงกุฏ
                                                                          ผู้ทรงสมณศักดิ์เป็นอธิการแห่งอาราม ซึ่งมีนามว่าวัดบวรนิเวศ
                                                                                 ในกรุงเทพ ฯ อันเป็นนครหลวงปัจจุบัน แห่งสยาม

| หน้าต่อไป | บน |